ดะโต๊ะยุติธรรม
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก    |  
 

หลักกฎหมายอิสลาม

ว่าด้วยครอบครัว

                  

 

มาตรา ๑  เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งหลักกฎหมายนี้ที่จะใช้บังคับ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดกับหลักกฎหมายนี้

 

มาตรา ๒  ในหลักกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

                   () “ผู้ไร้ความสามารถหมายความว่า ทารกผู้มีอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ บริบูรณ์หรือ

ผู้วิกลจริต

                   () “ผู้เสมือนไร้ความสามารถหมายความว่า ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ตามความใน

มาตรา ๔

                   () “ผู้เยาว์หมายความว่า ทารกผู้มีอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ บริบูรณ์ขึ้นไป แต่ยังไม่บรรลุ

นิติภาวะ

                   () “บรรลุนิติภาวะหมายความว่า บุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์ เมื่อ

. มีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือ

. มีอายุ ๙ ปี หย่อน ๑๕ วัน

                   . น้ำกามเคลื่อนด้วยประการใดๆ ก็ดี หรือ

                   . ถ้าเป็นหญิงได้หลั่งโลหิตฤดูตามความในมาตรา ๑๕๙ ()

                   () “ร่วมประเวณีหมายความว่า อวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของชายซึ่งตื่นตัวตามสภาพ ได้

ล่วงเข้าในช่องคลอดของหญิง โดยล้ำคออวัยวะส่วนสืบพันธ์นั้น หรือประมาณเท่านั้นในกรณีที่ไม่มีคอ

เช่นนั้น ไม่ว่าน้ำอสุจิจะได้เคลื่อนหรือไม่

                   () “เสพเมถุน[1][๑] นิรโทษหมายความว่า ชายร่วมประเวณีกับหญิงโดยมิได้เจตนาฝ่าฝืน

อิสลามบัญญัติ เช่น สำคัญผิดว่าหญิงนั้นเป็นภริยาก็ดี หรือร่วมประเวณีกับหญิงซึ่งมิใช่ภริยาในขณะที่

ชายกำลังวิกลจริต ละเมอ หรือเสียสติเพราะเสพสุรายาเมาโดยมิได้เจตนาเสพก็ดี

                   () “พรหมจารีหมายความว่า หญิงซึ่งยังมิเคยร่วมประเวณีทางช่องคลอดด้วยอวัยวะ

สืบพันธุ์ของสามี ชายอื่น หรือสัตว์ผู้ โดยความสมัครใจ หรือถูกขืนใจก็ตาม

                   () “ฟาซิกหมายความว่า ผู้ล่วงละเมิดอิสลามบัญญัติประเภทซึ่งบาปหนัก แม้แต่เพียง

ครั้งเดียว หรือประเภทซึ่งเป็นบาปเบาเป็นอาจิณ และยังมิได้เตาบะห์

                   () “เตาบะห์หมายความว่า การล้างบาปของผู้เป็นฟาซิก โดย

                   . เปล่งวาจาขอขมาโทษแด่พระอัลเลาะห์

                   . โทมนัสในความผิดของตนอย่างสุดซึ้งดุจเสียของรักอย่างยิ่งเช่นบุตร

                   . สมาทานจิตในอันจะสังวรตนไม่กระทำผิดอีกต่อไป และ

                   . ขอขมาโทษต่อผู้เสียหายในกรณีที่มีผู้ต้องเสียหาย ผู้เสียหายจะยกโทษให้หรือไม่ก็

ตาม

                   ถ้าผู้เสียหายเรียกร้อง ในกรณีประทุษร้ายต่อ

                   . ทรัพย์ ต้องคืน หรือใช้ราคาทรัพย์

                   . ร่างกายถึงฟกช้ำ บาดเจ็บ หรือตาย ต้องชำระค่าเสียหาย

                   การรับรองในกรณีทั้ง ๒ นั้น ย่อมมีผลเท่ากับการชำระหนี้

                   (๑๐) “อาดิลหมายความว่า

                   . ผู้ซึ่งมิได้เป็นฟาซิก หรือ

                   . ผู้เป็นฟาซิก เมื่อได้กระทำเตาบะห์ล่วงพ้นระยะเวลาไปแล้ว ๑ ปี

                   (๑๑) “มุรตัดหมายความว่า อิสลามศาสนิกชนผู้ใดบังเกิดความไม่เชื่อในอิสลามบัญญัติ

ข้อใดข้อหนึ่งโดยใจคิดก็ดี โดยการแสดงออกด้วยวาจา หรือด้วยกายก็ดี อิสลามศาสนิกชนผู้นั้นได้

ชื่อว่าขาดจากศาสนาอิสลาม อิสลามศาสนิกภาพย่อมสิ้นสุดลงทันที

                   (๑๒) “ปฏิบัติพิธีการฮัจญ์หมายความว่า การเข้าสู่พิธีปฏิบัติกรณียกิจตามอิสลาม

บัญญัติลักษณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ฮัจญ์ที่เมกกะ

                   (๑๓) “บริจาคทานหมายความว่า ผู้ใดได้ทรัพย์มา หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้อื่นอันมีจำนวน

แน่นอน ล่วงระยะเวลาตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป นับแต่วันได้ทรัพย์มาหรือวันเกิดมูลหนี้ ผู้นั้นมีหน้าที่บริจาค

ทานตามรายปีที่ได้ทรัพย์มา หรือรายปีที่เกิดมูลหนี้ ถ้าทรัพย์หรือหนี้ที่ได้มานี้ ได้มายังไม่ครบ ๑ รอบปี

มิต้องบริจาค ถ้าได้มากกว่าครบรอบปีแล้ว เศษที่ไม่ครบรอบปีมิต้องคำนวณส่วนบริจาคทาน ถ้าทรัพย์

หรือหนี้นั้นเป็น

                   . โลหะหรือวัตถุที่ทำด้วยโลหะเงิน มีเนื้อเงิน หนักตั้งแต่ ๕๓๕ กรัมขึ้นไป หากเป็นทอง

มีเนื้อทองหนักตั้งแต่ ๗๖.๔๒ กรัมขึ้นไป เว้นแต่เครื่องยุทธภันฑ์และเครื่องประดับกายสตรี ให้บริจาค

ทานร้อยล่ะ ๒ ครึ่ง ของค่าแห่งโลหะนั้น (สำหรับเงินเหรียญบาทมีน้ำหนัก ๑๕ กรัม แต่มีทองแดง

ร้อยละ๑๐ เนื้อเงิน ๕๓๕ กรัม จึ่งเป็นจำนวนเงินประมาณ ๔๐ บาท สำหรับเหรียญสลึงและสองสลึง มี

ทองแดงร้อยละ ๓๕ เนื้อเงิน ๕๓๕ กรัม จึ่งเป็นจำนวนเงินประมาณ ๕๕ บาท)

                   . โค กระบือ แพะ หรือแกะ เว้นแต่จะมิได้เลี้ยงในที่สาธารณะ หรือเลี้ยงในที่สาธารณะ

แต่มีไว้เพื่อใช้การงาน ถ้าเป็น

                   . โคหรือกระบือมีจำนวนรวมกัน ตั้งแต่ ๓๐ ตัวขึ้นไป ให้บริจาคโคหรือกระบือผู้ซึ่งมี

อายุกว่า ๑ ขึ้นไป เป็นทาน ๑ ตัว ถ้ามีจำนวนตั้งแต่ ๔๐ ตัวขึ้นไป ให้บริจาคโคหรือกระบือเมีย ซึ่งมีอายุ

กว่า ๒ ปี ขึ้นไปเป็นทาน ๑ ตัว และให้บริจาคโคหรือกระบือผู้หรือเมียเป็นทานทุกๆ จำนวน ๓๐ หรือ ๔๐

ตัวที่เพิ่มขึ้น แล้วแต่กรณี เศษของ ๓๐ หรือ ๔๐ ตัว ให้ปัดทิ้ง

                   . แพะหรือแกะมีจำนวนรวมกัน ตั้งแต่ ๔๐ ตัวขึ้นไป ถึง ๑๒๐ ตัว ให้บริจาคแพะหรือ

แกะเป็นทาน ๑ ตัว ถ้ามีจำนวนตั้งแต่ ๑๒๑ ตัวขึ้นไป ถึง ๒๐๐ ตัว ให้บริจาคแพะหรือแกะเป็นทาน

๒ ตัว ถ้ามีจำนวนตั้งแต่ ๒๐๑ ตัวขึ้นไป ถึง ๓๙๙ ตัว ให้บริจาคแพะหรือแกะเป็นทาน ๓ ตัว ถ้ามีจำนวน

ตั้งแต่ ๔๐๐ ตัวขึ้นไป ให้บริจาคทานเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑ ตัว เศษของร้อยให้ปัดทิ้ง

                   สัตว์ที่บริจาคเป็นทานนั้น ถ้าเป็นแพะต้องมีอายุกว่า ๒ ปี ถ้าเป็นแกะต้องมีอายุกว่า ๑ ปี

หากมิสามารถเลือกสัตว์ที่มีอายุเช่นว่านี้ได้ ให้เลือกสัตว์ตัวที่มีอายุมากที่สุดและสมบูรณ์ที่สุดในฝูงสัตว์

นั้นบริจาคเป็นทาน ห้ามมิให้บริจาคค่าแห่งสัตว์นั้นเป็นทาน

                   . ธัญญาหารทั้งเปลือกเช่นข้าว หรือถั่ว มีน้ำหนักตั้งแต่ ๑,๑๖๓.๖๔ กิโลกรัมขึ้นไป ให้

บริจาคพืชผลแห่งธัญญาหารตามส่วนได้แห่งจำนวนพืชผลนั้นเป็นทาน ถ้าการเพาะปลูกธัญญาหารนั้น

                   . ต้องออกค่าใช้จ่ายน้ำจนกว่าจะเกี่ยวเก็บผลได้ ให้บริจาคทานร้อยละ ๕

                   . ต้องออกค่าใช้จ่ายน้ำแต่บางส่วน ให้บริจาคทานร้อยละ ๗ ครึ่ง

                   . มิต้องออกค่าใช้จ่ายน้ำเลย ให้บริจาคทานร้อยละ ๑๐

                   การบริจาคธัญญาหารเป็นทานเช่นว่านี้ ให้คำนวณจากการเกี่ยวเก็บเป็นฤดูไป ว่าฤดูใด

เกี่ยวเก็บได้ปริมาณต้องบริจาคหรือไม่ ห้ามมิให้บริจาคค่าแห่งพืชผลนั้นเป็นทาน

                   . สินค้าซึ่งมีไว้เพื่อการค้าและค้างอยู่ครบรอบปี นับตั้งแต่วันที่ได้สินค้ามา ให้บริจาค

ทานร้อยละ ๒ ครึ่ง ของค่าแห่งสินค้านั้น ตามรายปีที่ค้าง ถ้าเป็นสินค้า

                   . ซื้อมา ให้คำนวณตามราคาทรัพย์ที่ซื้อมา

                   . แลกเปลี่ยนมา ให้คำนวณราคาทรัพย์ในวันที่ครบรอบปี

                   (๑๔) “อิสลามบัญญัติที่จำต้องเชื่อ จำต้องปฏิบัติและจำต้องศึกษาหมายความว่า

การเชื่อ การปฏิบัติกิจวัตรและการศึกษาเสขิยวัตรตามลัทธิศาสนาอิสลาม

                   . การเชื่อต่อ

                             . พระอัลเลาะห์

                             . บริวาลมลาอิกะห์ของพระอัลเลาะห์

                             . พระคัมภีร์ของพระอัลเลาะห์

                             . ทูตของพระอัลเลาะห์

                             . วันสิ้นโลก

                             . พระอัลเลาะห์ลิขิต

                   . การปฏิบัติกิจวัตร

                             . การปฏิญาณตนเป็นผู้เชื่อต่อพระอัลเลาะห์และพระนบีมุฮำมัด

                             . การนมัสการพระอัลเลาะห์

                             . การถือศีลอด

                             . การบริจาคทาน

                             . การประกอบพิธีการฮัจญ์

                   . การศึกษาเสขิยวัตร

                             . การชำระร่างกายในกาลต่างๆ เช่น ภายหลังร่วมประเวณี หยุดหลั่งโลหิตฤดูคลอด

บุตร หยุดหลั่งโลหิตเนื่องแต่การคลอดบุตร หรือก่อนนมัสการพระอัลเลาะห์

                             . การรู้จักอาหารซึ่งต้องห้ามบริโภค

                             . การทำความสะอาดอาหาร และเครื่องนุ่งห่ม

                   (๑๕) “วลีดูมาตรา ๒๙

                   (๑๖) “อียาบดูมาตรา ๕๔

                   (๑๗) “กอบูลดูมาตรา ๕๕

                   (๑๘) “ปู่ ย่า ตา ยายหมายความตลอดถึง ปู่ทวด ย่าทวด ตาทวด ยายทวด ในเมื่อไม่มี

ปู่ ย่า ตา หรือยายแล้วแต่กรณี และให้หมายความในทำนองเช่นว่านี้ตลอดขึ้นไปโดยมิขาดสาย

                   (๑๙) “บุตรหมายความว่า บุตรชายหญิงทั้งสิ้น

                   (๒๐) “ผู้สืบสันดานสายชายหมายความว่า ผู้เกิดจากผู้สืบสันดานที่เป็นชายติดต่อกัน

โดยลำดับ มิได้เกิดจากผู้สืบสันดานที่เป็นหญิงชั้นใดชั้นหนึ่งเลย เช่นหลานซึ่งเกิดแต่บุตรชาย เหลน

ซึ่งเกิดแต่หลานชายเช่นว่านั้น ลื่อซึ่งเกิดแต่หลานชายเช่นว่านั้น และผู้สืบสายโลหิตจากผู้สืบสันดาน

ที่เป็นชายอื่น ๆ ตลอดลงไปในทำนองนี้โดยลำดับมิขาดสาย มิได้หมายความถึงเหลน ของหลานหญิง

ซึ่งเกิดแต่บุตรชาย หรือลื่อชายบุตรของเหลนหญิงซึ่งเกิดแต่หลานชาย ฯลฯ

                   (๒๑) “หลาน เหลน หรือลื่อหมายความเฉพาะผู้สืบสายโลหิตจากบุตรชายโดยตรง

ลงมาเท่านั้น และมิจำกัดว่าเป็นผู้สืบสายโลหิตมาจากบุตรชายคนใด

                   (๒๒) “มี (ญาติหรือทายาท)” เช่น มีบุตรนั้น หมายความว่า มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่

                   (๒๓) “ไม่มี (ญาติหรือทายาท)” เช่น ไม่มีบุตรนั้นหมายความว่า ไม่เคยมีบุตรเลย

หรือเคยมีแต่บุตรนั้นตายเสียก่อนแล้ว

                   (๒๔) “ตัวแทนหมายความว่า ตัวแทนตามความในมาตรา ๕ และ ๖

                   (๒๕) “มอบตัวแก่สามีหมายความว่า การที่ฝ่ายภริยานัดหมายหรือแจ้งให้ฝ่ายสามี

มารับการมอบตัวภริยา

                   .  ในกรณีภริยาบรรลุนิติภาวะแล้ว ภริยาหรือตัวแทนภริยานั้น นัดหมายไปยังสามี

ให้มารับการมอบตัวภริยา

                   .  ในกรณีภริยายังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่มีร่างกายเติบใหญ่อาจรับการร่วมประเวณีได้

หรือภริยาวิกลจริต วลีของภริยานั้นนัดหมายไปยังสามีให้มารับการมอบตัวภริยา

                   .  ในกรณีสามียังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือวิกลจริต แต่ภริยาบรรลุนิติภาวะแล้ว ภริยา

หรือตัวแทนภริยานั้นนัดหมายไปยังวลีของสามีให้มารับการมอบตัวภริยา

                   .  ในกรณีสามียังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือวิกลจริต และภริยายังไม่บรรลุนิติภาวะ

แต่มีร่างกายเติบใหญ่อาจรับการร่วมประเวณีได้ หรือภริยาวิกลจริต วลีของภริยานั้นนัดหมายไปยังวลี

ของสามีให้มารับการมอบตัวภริยา หรือ

                   .  ในกรณีสามีละทิ้งภริยาไปเพราะเหตุภริยาไม่ปฏิบัติตนตามหน้าที่ภริยาเมื่อภริยา

ได้แจ้งไปยังสามีว่ายอมปฏิบัติตนตามหน้าที่ภริยา หรือในกรณีภริยาละทิ้งสามีไป เมื่อภริยากลับมา

เพื่ออยู่ร่วมกับสามี  ให้ถือว่าสามีได้รับการมอบตัวภริยาตั้งแต่วันที่สามีหรือวลีของสามีได้ทราบการนัดหมาย

การแจ้งของภริยาหรือการกลับมาของภริยา แล้วแต่กรณี เว้นแต่สามีไปอยู่เสียต่างจังหวัดให้ถือว่าสามี

ได้รับการมอบตัวภริยา เมื่อวันสามีหรือตัวแทนของสามีมาพบภริยา หรือควรมาพบภริยา

                   (๒๖) “ตอละก์ดูมาตรา ๘๒

                   (๒๗) “การเสนอและสนองเฉพาะในกรณีสามีตอละก์โดยได้รับสินจ้างหมายความว่า

การเสนอและการสนองซึ่งกระทำในพิธีตอละก์ มิใช่การเจรจาโต้ตอบในขั้นตกลงเรื่องสินจ้างก่อนทำพิธี

ตอละก์

                   (๒๘) “ร็อจอีหมายความว่า การขาดจากการสมรสซึ่งสามีมีสิทธิกลับคืนดีกับภริยา

คู่หย่าได้ ตามความในบทบัญญัติว่าด้วยพิธีรอยะอ์

                   (๒๙) “บาอินหมายความว่า การขาดจากการสมรสซึ่งสามีกลับคืนดีกับภริยา

คู่หย่าได้แต่โดยพิธีสมรส ตามความในบทบัญญัติว่าด้วยการสมรส ภายในบังคับบทบัญญัติแห่ง

มาตรา ๙๑ () ๑๒๑ และ ๑๒๗

                   (๓๐) “อีซีกาห์เว็นดูมาตรา ๑๒๙

                   (๓๑) ในบทบัญญัติว่าด้วยอีซีกาห์เว็น

                             .  ใช้สิทธิหมายความว่า เรียกร้องเอาอีซีกาห์เว็นโดยอำเภอใจ

                             .  จำหน่ายสิทธิหมายความว่า ประนีประนอมหรือยอมตกลงลดปริมาณอีซีกาห์เว็น

                             .  สละสิทธิหมายความว่า ไม่ติดใจเรียกร้องเอาอีซีกาห์เว็น หรือมิได้กล่าวถึง

อีซีกาห์เว็น หรือกล่าวถึงแต่มิได้ระบุปริมาณโดยชัดแจ้ง

                   (๓๒) “ทรัพย์ห้ามยึดถือหมายความว่า สัตว์หรือสิ่งของบางประเภทซึ่งมิโอนให้กันได้

โดยชอบด้วยอิสลามบัญญัติ เช่นสัตว์ดุร้ายโดยกำเนิด สัตว์เลื้อยคลานซึ่งอยู่บกเป็นอาจิณ สัตว์ห้อยโหน

ซึ่งยังมิได้ฝึกหัดให้ใช้การได้ สัตว์กระโดด มด สุนัข สุกร ลูกสัตว์ ซึ่งยังมิได้พรากจากแม่ เว้นแต่จะโอน

ลูกสัตว์และแม่สัตว์นั้นไปด้วยกัน หรือแม่สัตว์นั้นตาย ซากสัตว์บกซึ่งตายเอง หรือชำแหละมิถูกต้อง

ซึ่งห้ามรับประทานตามอิสลามบัญญัติ ศพ สุรา เครื่องดนตรีซึ่งมิได้มีไว้เพื่อการทหาร และเครื่องอุปกรณ์

ในการพนันโดยตรง

                   (๓๓) “ฟะซัคดูมาตรา ๑๑๐

                   (๓๔) “อิดดะห์ดูมาตรา ๑๔๕

                   (๓๕) “รอยะอ์ดูมาตรา ๑๖๔

                   (๓๖) “อิดดะห์ร็อจอีหมายความว่า อิดดะห์ซึ่งการขาดจากการสมรสเป็นร็อจอี

                   (๓๗) “อิดดะห์บาอินหมายความว่า อิดดะห์ซึ่งการขาดจากการสมรสเป็นบาอิน

                   (๓๘) “เสพเมถุนหมายความว่า ร่วมประเวณีชำเราทางเว็จมรรค หรือส่งน้ำอสุจิซึ่ง

หลั่งออกเอง หรือเนื่องแต่ภรรยา หรือหญิงซึ่งชายเสพเมถุนนิรโทษ เข้าในช่องคลอดของภริยา หรือหญิง

เช่นว่านั้น มิเลือกว่าภริยาหรือหญิงที่ถูกส่งน้ำอสุจินั้นจะเป็นผู้กระทำให้น้ำอสุจินั้นหลั่งออกหรือไม่

และมิเลือกว่าการส่งน้ำอสุจิจะส่งด้วยประการใด ๆ[2][๒]

 

                   มาตรา ๓  การคำนวณอายุและเวลาตามหลักกฎหมายนี้ ให้คำนวณโดยทางจันทรคติ

 

                   มาตรา ๔[3][๓]  เพื่อประโยชน์แห่งหลักกฎหมายนี้ บุคคลใดใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเสเพล

เป็นอาจิณ หรือถ้าใช้จ่ายในทางเกื้อกูลศาสนาอิสลามก็สุรุ่ยสุร่ายจนอาจเป็นภัยถึงสิ้นเนื้อประดาตัว

ญาติก็ดี บุคคลภายนอกก็ดี ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และ

สั่งให้บุคคลนั้นและทรัพย์สินของบุคคลนั้นอยู่ในความพิทักษ์ของผู้มีศีลธรรมอันดีก็ได้

 

  ???????ตัวแทน

                   มาตรา ๕  การตั้งแต่งตัวแทนเพื่อกระทำการตามหลักกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตาม

บทบัญญัติดั่งต่อไปนี้

                   () ตัวการต้องเปล่งวาจาตั้งแต่งตัวแทน   ถ้าตัวแทน

                             .  อยู่ห่างไกล ให้ระบุนามตัวแทนนั้น

                             .  อยู่เฉพาะหน้า จะใช้สรรพนามแทนก็ได้

                   () ตัวการต้องระบุนามผู้ที่ตัวแทนจะทำนิติกรรมด้วย เว้นแต่ผู้ที่ตัวแทนจะทำนิติกรรม

ด้วยนั้นมีแต่ผู้เดียว และตัวแทนรู้จักตัวดีแล้ว จะใช้สรรพนามแทนก็ได้

                   () ตัวการจะมอบให้ผู้ใดไปแจ้งการตั้งแต่งเช่นนี้แก่ตัวแทนก็ได้

                   () กิจการที่ตัวการจะมอบให้ตัวแทนไปกระทำนั้น ต้องเป็นกิจการที่ตัวการมีสิทธิ

กระทำได้ในขณะนั้นเอง

                   () ห้ามมิให้ตัวแทนตั้งแต่งตัวแทนช่วงเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากตัวการ

 

การสิ้นสุดของการป็นตัวแทน

                   มาตรา ๖  ความเป็นตัวแทนตามหลักกฎหมายนี้ย่อมระงับสิ้นไป  เมื่อ

                   () ตัวการ หรือตัวแทน ตาย วิกลจริต เสมือนไร้ความสามารถ เป็นลมถึงไร้ความรู้สึก

ตัวการกล่าวคำถอนการตั้งแต่ง หรือตัวแทนปฏิเสธการรับเป็นตัวแทน หรือ

                   () ระยะเวลาที่ตัวการกำหนดให้ตัวแทนกระทำกิจการสิ้นสุดลง

 

                   มาตรา ๗  กิจการใดในหลักกฎหมายนี้ อันผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เยาว์กระทำไปก็ดี

อันบุคคลกระทำไปเพราะถูกหลอกลวง หรือถูกข่มขู่ก็ดี  มิเลือกว่าได้กระทำในฐานะเป็นตัวการหรือ

ตัวแทน ย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น

 

                   มาตรา ๘  เว้นแต่หลักกฎหมายนี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กิจการอันหลักกฎหมายนี้

บังคับให้เปล่งวาจาจะใช้หนังสือหรืออาณัตสัญญาณแทนได้ ต่อเมื่อ

                   () ผู้มีหน้าที่เปล่งวาจาเป็นใบ้ และ

                   () ผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายสามารถทราบความหมายแห่งหนังสือหรืออาณัตสัญญาณนั้น

 

                   มาตรา ๙  กิจการอันหลักกฎหมายนี้บังคับให้เปล่งวาจา หรือทำเป็นหนังสือ จะใช้ภาษา

ใดก็ได้ เมื่อผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายสามารถทราบความหมายแห่งภาษานั้น

 

บุคคลหายสาบสูญ

                   มาตรา ๑๐  ศาลจะสั่งว่าบุคคลถึงแก่ความตายตามหลักกฎหมายนี้ได้ ถ้าเป็นกรณีที่

มีผู้กล่าวอ้างว่าบุคคล

                   () ถึงแก่ความตาย ต่อเมื่อผู้กล่าวอ้างสามารถพิสูจน์ด้วยมรณบัตร อันพนักงาน

เจ้าหน้าที่ในการนั้นกระทำขึ้น หรือพยานบุคคลมาตรา ๑๒ () หรือ

                   () สูญไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และมิสามารถทราบได้ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตาย

ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวอ้างสามารถพิสูจน์ด้วยพยานบุคคลตามมาตรา ๑๒ ()

                   .  ในเหตุการณ์ปกติ ได้จากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ไปเกินเวลาที่ศาลเห็นสมควร

                   .  ในกรณีที่น่าจะเป็นภยันตรายแก่ชีวิต เช่นไปในสมรภูมิแห่งสงคราม หรือเรืออับปาง

ล่วงพ้นเวลา ๔ ปี นับแต่เวลาภยันตรายผ่านพ้นไปแล้ว

                   ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลที่ศาลสั่งไปเช่นว่านี้ มีชีวิตอยู่หรือตายภายหลังเวลาดั่งกล่าวมาแล้ว

เมื่อบุคคลนั้นเองหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาล ให้ศาลถอนคำสั่งแสดงความตายนั้นเสีย

                   การถอนคำสั่งเช่นว่านี้ย่อมไม่กระทบถึงความสมบูรณ์แห่งกิจการทั้งหลาย อันได้กระทำ

ไปโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งแสดงความตายถึงเวลาถอนคำสั่งนั้น

                   ภายหลังเวลาที่ศาลถอนคำสั่งแล้ว ให้สภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว และทรัพย์สินของ

บุคคลนั้นกลับคืนสู่ฐานะเดิม ให้บุคคลผู้ได้สิทธิในครอบครัว หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้น ส่งคืนแก่บุคคล

นั้น หรือใช้ค่าทดแทนถ้าไม่สามารถส่งคืนทรัพย์สินได้ แต่บุคคลผู้ต้องส่งคืนทรัพย์สินมีสิทธิเรียกร้อง

ค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินนั้นโดยสมควรแก่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้นได้

 

การละเมิดสิทธิในทางประเวณี

                   มาตรา ๑๑  เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในทางประเวณี หรือการขาดจาก

การสมรสโดยพิธีสาบานเมื่อมีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการเสพเมถุน ม.๒(๓๘) ห้ามมิให้คู่ความนำสืบ ในกรณีเช่นว่านี้จะฟังว่าเสพเมถุนได้ต่อเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งรับตามข้อกล่าวอ้าง หากปฏิเสธมิรับตาม

ข้อกล่าวอ้าง ถ้า

                   () ยินยอมสาบานรับรองคำปฏิเสธ ให้ฟังตามคำปฏิเสธนั้น

                   () มิยินยอมสาบานรับรองคำปฏิเสธ ถ้าคู่ความฝ่ายผู้กล่าวอ้าง

                             .  ยินยอมสาบานรับรองคำกล่าวอ้าง ให้ฟังตามคำกล่าวอ้างนั้น

                             .  มิยินยอมสาบานรับรองคำกล่าวอ้าง มิให้ฟังตามคำกล่าวอ้างนั้น

 

การนำสืบพยาน

                   มาตรา ๑๒  เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับตามข้อกล่าวอ้าง กรณีดั่งที่ระบุไว้ใน

มาตรานี้ ให้คู่ความนำสืบด้วยพยานที่เป็นชายมีจำนวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มีพยาน

เช่นว่านั้น มิให้คู่ความฝ่ายนั้นนำสืบ ถ้าคู่ความฝ่ายที่ไม่มีพยานเช่นว่านั้นเป็นฝ่ายผู้กล่าวอ้าง

คำกล่าวอ้างนั้นย่อมตกไป โดยคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิต้องนำสืบหรือสาบานเลย

                   () เหตุฟ้องฟะซัค ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๓ ()

                   () ความตาย หรือความสูญไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ของบุคคล

                   () ความเป็นตัวแทน และ

                   () ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรม

 

                   มาตรา ๑๓  เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับตามข้อกล่าวอ้าง กรณีดั่งที่ระบุไว้ใน

มาตรานี้ ให้คู่ความนำสืบด้วยพยานที่เป็นชายมีจำนวนตั้งแต่ ๒ คน หรือเป็นชาย ๑ คน กับหญิง ๒ คน

หรือเป็นหญิง ๔ คนขึ้นไป ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มีพยานเช่นว่านั้น มิให้คู่ความฝ่ายนั้นนำสืบ ถ้าคู่ความ

ฝ่ายที่ไม่มีพยานเช่นว่านั้นเป็นฝ่ายผู้กล่าวอ้างคำกล่าวอ้างนั้นย่อมตกไป โดยคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิต้อง

นำสืบหรือสาบานเลย

                   () ความเป็นพรหมจารี

                   () ความพิการแห่งอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของภริยา หรืออวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของสามี

เกินขนาดที่ภริยาจะรับการร่วมประเวณีได้

                   () ความยินยอมให้สามีร่วมประเวณี และ

                   () การดื่มน้ำนม

 

                   มาตรา ๑๔  ในกรณีพิพาทเกี่ยวกับการตอละก์ เช่นสามีตอละก์หรือไม่ สามีตอละก์

โดยเจตนาตอละก์หรือไม่ สามีตอละก์เป็นจำนวนมากหรือน้อย สามีรับทรัพย์ห้ามยึดถือเป็นสินจ้าง

เพื่อตอละก์โดยเจตนาเอาทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์หรือไม่ หรือในกรณีพิพาทเกี่ยวกับการรอยะอ์[4][๔]

ให้คู่ความนำสืบด้วยพยานที่เป็นชายมีจำนวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ

ตามข้อกล่าวอ้าง

                   () ถ้าคู่ความฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อนไม่มีพยานเช่นว่านั้น หรือมีแต่ฟังมิได้ เมื่อคู่ความ

อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมสาบานรับรองถ้อยคำของตน ให้ฟังตามคำของฝ่ายนั้น โดยมิพักต้องสืบพยานเลย

ถ้าฝ่ายนั้นมิยินยอมสาบานเมื่อฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อนยินยอมสาบานรับรองถ้อยคำของตน ให้ฟังตาม

คำของฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อน ถ้ามิยินยอมสาบานให้ยกข้อกล่าวอ้างของฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อน

                   () ถ้าพยานฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อนฟังได้ ให้อีกฝ่ายหนึ่งนำสืบ ถ้าพยานฝ่ายนั้น

                   .  ไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างพยานฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อน ให้ฟังตามคำของฝ่ายที่ต้อง

นำสืบก่อน

                   .  มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างพยานฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อน และฝ่ายนั้นสาบานได้ด้วย

ให้ฟังตามคำของฝ่ายนั้น ถ้าฝ่ายนั้นมิยินยอมสาบาน ให้ฟังตามคำของฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อน

 

                   มาตรา ๑๕  เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับตามข้อกล่าวอ้าง ในกรณีอื่นนอกจาก

กรณีดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๑๒ ๑๑๓ ๑๑๘ ๑๖๐ และ ๑๖๑ ให้คู่ความนำสืบด้วย

พยานที่เป็นชายมีจำนวนตั้งแต่ ๒ คน หรือเป็นชาย ๑ คน กับหญิง ๒ คนขึ้นไป ถ้าคู่ความฝ่ายใดมีพยาน

ที่เป็นชาย ๑ คน และสาบานยืนยันได้ว่า ฟ้อง คำให้การหรือคำร้องแล้วแต่กรณี และคำพยานของตน

เป็นความจริงแล้ว ให้ถือว่าฝ่ายนั้นมีพยานครบจำนวน

                   ถ้าฝ่ายที่จักต้องสาบานเป็น

                   () ฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อน และมิยินยอมสาบานให้ยกข้อกล่าวอ้าง

                   () ฝ่ายที่ต้องนำสืบหลัง และมิยินยอมสาบาน ให้ฟังพยานฝ่ายที่ต้องนำสืบก่อน

ฝ่ายเดียว

                   ถ้าคู่ความทุกฝ่ายไม่มีพยาน หรือมีแต่มิครบจำนวน และมิยินยอมสาบานดั่งกล่าว

ในวรรคต้น ให้ฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบหลังสาบาน ถ้าสาบานได้ให้ชนะคดี ถ้ามิยินยอมสาบานให้ฝ่ายที่

มีหน้าที่นำสืบก่อนสาบานแล้วให้ฝ่ายนั้นชนะคดี  ถ้าทั้ง ๒ ฝ่ายมิยินยอมสาบาน ให้ฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบ

หลังเป็นผู้ชนะคดี

 

                   มาตรา ๑๖  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๑๘ คำสาบานตามความในมาตรา ๑๑

๑๔ ๑๕ ๑๖๐ และ ๑๖๑ ให้ผู้สาบานเปล่งวาจาสาบานต่อหน้าดะโต๊ะยุติธรรม ระบุนามพระอัลเลาะห์

ยืนยันว่า ตามที่ตนกล่าวหาหรือปฏิเสธข้อกล่าวหาแล้วแต่กรณี เป็นความสัตย์จริง ให้กล่าวข้อความนี้

๑ ครั้ง และกล่าวภายหลังที่พยานของตนให้การแล้ว ถ้าเป็นกรณีนำสืบพยาน

 

                   มาตรา ๑๗  กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม หากศาลได้ทำการตรวจสอบสถานที่ วัตถุ

หรือบุคคล ศาลพิพากษาคดีไปตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบนั้นได้

 

คุณสมบัติของพยาน

                   มาตรา ๑๘  คุณสมบัติของพยาน

                   () พยานในกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๒ () และ () และมาตรา ๑๔

ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๕๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                   () พยานในกรณีนอกนั้น ต้องไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นทาส

ห้ามมิให้ศาลรับฟังจากพยาน

                   มาตรา ๑๙  พยานบุคคลภายในบังคับบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้ ห้ามมิให้ศาลรับฟังแม้ฝ่ายที่

มิได้อ้างยินยอมก็ตาม

                   () ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป และโดยตรงลงมา หรือสามีและภริยา อ้างกันและกัน

เป็นพยานในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายผู้อ้าง

                   () พยานเป็นศัตรูต่อคู่ความฝ่ายที่มิได้อ้าง

                   () พยานมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดีนั้น เว้นแต่ตัวตาม กรณีจะเป็น

อย่างไรก็ตามห้ามมิให้ศาลฟังถ้อยคำของตัวความเสมือนหนึ่งถ้อยคำของพยาน

 

การสมรสก่อนรับอิสลาม

                   มาตรา ๒๐  ในกรณีชายหญิงซึ่งเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยลัทธิศาสนาอื่นเปลี่ยนมาเป็น

อิสลามศาสนิก ถ้าการเป็นสามีภริยากันนั้น มิต้องด้วยข้อห้ามตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๙ และ ๕๑

ให้ถือว่าชายหญิงนั้นเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยหลักกฎหมายนี้ เว้นแต่ชายหญิงนั้นก่อนเข้าเป็น

อิสลามศาสนิกได้ขาดจากการสมรสกันแล้ว ๓ ครั้ง แม้จะมิใช่โดยพิธีตอละห์ก็ตาม และกลับคืนดีกันอีก

โดยหญิงมิได้สมรสกับชายอื่น อันขัดต่อมาตรา ๙๑ () โดยอนุโลม หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้เข้าเป็น

อิสลามศาสนิกภายในเขตอิดดะห์[5][๕] ถ้าสามีมีภริยาเกินกว่า ๔ คน ภริยาจะเป็นภริยาของสามีตามหลัก

กฎหมายนี้ได้เพียง ๔ คน สุดแต่สามีจะเลือกผู้ใด ถ้าสามีนั้นเป็นทาสเป็นได้ ๒ คน

 

สถานะของบุตร

                   มาตรา ๒๑  บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของสามีภริยาที่เข้าเป็นอิสลามศาสนิกนั้น ให้ถือว่าเป็น อิสลามศาสนิกตามบิดามารดา

 

บรรพ ๑

ครอบครัว

                  

ลักษณะ ๑

การสมรส

                  

หมวด ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

                  

 

                   มาตรา ๒๒  นิกาห์ คือ การผูกนิติสัมพันธ์สมรสระหว่างชายหญิง เพื่อเป็นสามีภริยา

โดยพิธีสมรส

 

                   มาตรา ๒๓  การสมรสจะสมบูรณ์ ต่อเมื่อได้ประกอบพิธีสมรสถูกต้องภายในบังคับ

บทบัญญัติแห่งลักษณะนี้

                   ถ้าการสมรสมิได้เป็นไปภายในบังคับบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ก็ดี เกิดจากการหลอกลวง

ก็ดี โดยฝ่ายชายมิได้ทราบ ให้ถือว่าชายหญิงนั้นเป็นสามีภริยากันจนกว่าชายนั้นจะได้ทราบถึงความ

ไม่สมบูรณ์นั้น เมื่อชายทราบถึงความไม่สมบูรณ์นั้นเมื่อใด ให้ชายหญิงขาดจากการเป็นสามีภริยากัน

เมื่อนั้น

                   การขาดจากการสมรสเช่นว่านี้เป็นบาอิน[6][๖] ชายหญิงคู่นั้นมีสิทธิกลับสมรสกันใหม่ได้

ทุกเมื่อ

 

                   มาตรา ๒๔  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๘ () ห้ามมิให้หญิงประกอบพิธี

สมรสตนเองหรือบุคคลอื่นโดยลำพัง แม้วลี[7][๗] จะยินยอมก็ตาม ให้ประกอบพิธีสมรสได้แต่โดยทางวลี

เท่านั้น

                   สำหรับชายมีสิทธิประกอบพิธีสมรสด้วยตนเอง หรือตั้งแต่งชายอื่นทำหน้าที่แทนตนได้

จะต้องมีวลีต่อเมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ[8][๘] หรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่วิกลจริต

                   ชายที่เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ[9][๙] ประกอบพิธีสมรสด้วยตนเองได้ แต่ต้องได้รับ

ความยินยอมของวลีในการที่จะสมรส มิฉะนั้นการสมรสนั้นเป็นโมฆะ

 

                   มาตรา ๒๕  ในกรณีที่ชายตั้งแต่งชายอื่นเป็นตัวแทน[10][๑๐] ให้ประกอบพิธีสมรสแทนตนนั้นห้ามมิให้มอบสิทธิให้ตัวแทนกระทำสัญญาว่าด้วยตอละก์[11][๑๑] ซึ่งชายประสงค์จะกระทำกับฝ่ายหญิงในขณะประกอบพิธีสมรส

 

                   มาตรา ๒๖  ชายหญิงคู่หมั้นมิได้สมรสกันด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ให้ต่างฝ่ายต่างคืน

ของหมั้นให้แก่กัน

 

                   มาตรา ๒๗  สัญญาเกี่ยวด้วยการสมรสที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงทำกันไว้ก่อนสมรส

เป็นโมฆะ

 

                   มาตรา ๒๘  ในระหว่างสามีภริยาให้ถือว่ามีความเกี่ยวพันในทรัพย์สินต่อกันดุจ

บุคคลภายนอก และฝ่ายหนึ่งมีสิทธิยึดทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่ห้ามมิให้สามีภริยาทำสัญญาเกี่ยวกับ

สิทธิเรียกร้องซึ่งยังมิได้เกิดขึ้น เช่นสามีมีหน้าที่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภริยาเป็นรายวัน ฉะนั้น

จะตกลงกันกำหนดทรัพย์จำนวนหนึ่งเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูตลอดชีพของภริยามิได้ ถ้าได้มอบหมาย

แก่ภริยาแล้ว เมื่อปริมาณแห่งค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นไม่เพียงพอโดยคำนวณตามอัตรารายวัน สามีต้อง

ชำระให้แก่ภริยาต่อไปอีก แต่ถ้าสามีภริยาขาดจากการสมรสก่อนปริมาณค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นหมดสิ้นลง

ดั่งกล่าวแล้ว สามีไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูที่เหลือคืน

 

หมวด ๒

วลี

                  

 

                   มาตรา ๒๙  วลี คือชายผู้ทรงสิทธิประกอบพิธีสมรสให้หญิง หรือชายในกรณีที่ชาย

ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือวิกลจริต สิทธินี้เป็นเอกสิทธิของวลี บังคับวลีมิได้

                   ในกรณีที่วลีเป็นใบ้ วลีต้องตั้งแต่งตัวแทนเพื่อประกอบพิธีสมรส

 

                   มาตรา ๓๐  วลีคอส คือชายที่เป็นญาติของหญิงผู้มีสิทธิเป็นวลีได้ก่อน และหลัง

ตามลำดับ ดั่งต่อไปนี้

                   () บิดา

                   () ปู่[12][๑๒]

                   () พี่ชายหรือน้องชาย ที่ร่วมบิดามารดา

                   () พี่ชายหรือน้องชาย ที่ร่วมแต่บิดา

                   () บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย ที่ร่วมบิดามารดา

                   () บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย ที่ร่วมแต่บิดา

                   () ถ้าวลีในลำดับ () ไม่มี ก็ให้บุตรชายของวลีในลำดับ () เป็นวลี ถ้าบุตรชายของ

วลีในลำดับ () ไม่มี ก็ให้บุตรชายของวลีในลำดับ () เป็นวลี ถ้าบุตรชายของวลีในลำดับ () ไม่มี

ก็ให้หลาน[13][๑๓]ชายของวลีในลำดับ () เป็นวลี ถ้าหลานชายของวลีในลำดับ () ไม่มี ก็ให้หลานชายของ

วลีในลำดับ () เป็นวลี โดยสลับกันไปมาเช่นว่านี้ จนกว่าจะขาดสายชายสืบสันดานสายชาย[14][๑๔] ของวลีในลำดับ () หรือ () แล้วแต่กรณี

                   () พี่ชายหรือน้องชายของบิดา ที่ร่วมบิดามารดา

                   () พี่ชายหรือน้องชายของบิดา ที่ร่วมแต่บิดา

                   (๑๐) บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชายบิดา ที่ร่วมบิดามารดา

                   (๑๑) บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชายบิดา ที่ร่วมแต่บิดา

                   (๑๒) บุตรชายหรือชายผู้สืบสันดานสายชายของวลีในลำดับ (๑๐) หรือ (๑๑) สลับกัน

ไปมา โดยอนุโลมตามความที่บัญญัติไว้ใน () จนกว่าจะขาดสายชายผู้สืบสันดานสายชายของวลี

ในลำดับ (๑๐) หรือ (๑๑) แล้วแต่กรณี

                   (๑๓) พี่ชายหรือน้องชายของปู่ ที่ร่วมบิดามารดา

                   (๑๔) พี่ชายหรือน้องชายของปู่ ที่ร่วมแต่บิดา

                   (๑๕) บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชายของปู่ ที่ร่วมบิดามารดา

                   (๑๖) บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชายปู่ ที่ร่วมแต่บิดา

                   (๑๗) บุตรชายหรือชายผู้สืบสันดานสายชายของวลีในลำดับ (๑๕) หรือ (๑๖) สลับกันไป

มา โดยอนุโลมตามความที่บัญญัติไว้ใน () จนกว่าจะขาดสายชายผู้สืบสันดานสายชายของวลีในลำดับ

(๑๕) หรือ (๑๖) แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๓๑  วลีอักร็อบ คือวลีคอสที่สนิทที่สุดตามลำดับแห่งชั้นวลีคอสเท่าที่มีตัวอยู่

ในขณะนั้น

 

                   มาตรา ๓๒  วลีอับอัด คือวลีคอสที่ห่างลดหลั่นจากวลีอักร็อบออกไปตามลำดับแห่งชั้น

วลีคอส

 

                   มาตรา ๓๓  วลีมุจบิร  คือวลีที่เป็นบิดาหรือปู่ในเมื่อไม่มีบิดา

 

                   มาตรา ๓๔  วลีปังฮูลู คือวลีผู้เป็น หรือเคยเป็นเจ้าเงินของทาสหญิง หรือบรรพบุรุษ

ของทาสหญิง

 

                   มาตรา ๓๕  วลีฮากิม  คือผู้ซึ่งได้รับการตั้งแต่งจากพระมหากษัตริย์ หรือจากผู้รับสนอง

พระบรมราชโองการให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งฮากิม (เทียบได้กับตำแหน่งดะโต๊ะยุติธรรม) มีสิทธิเป็นวลี

ประกอบพิธีสมรสให้ผู้หญิงผู้บรรลุนิติภาวะแล้วได้ทั่วไป

 

                   มาตรา ๓๖  วลีอาม คือวลีผู้ทรงสิทธิประกอบพิธีสมรสให้หญิงผู้บรรลุนิติภาวะแล้วได้

ทั่วไป ซึ่งได้แก่องค์พระมหากษัตริย์ หรือวลีฮากิม ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๔ ถึง ๔๗

 

                   มาตรา ๓๗  วลีตะห์กีม คือผู้ที่ชายหญิงผู้จะสมรสอันเชิญขึ้นเป็นวลี

                   กรณีที่จะอัญเชิญบุคคลเป็นวลีนั้น ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้

                   () ไม่มีวลีอาม วลีอามเรียกร้องสินจ้างสูงเกินควร หรือวลีอามอยู่ห่างจากสถานที่

ที่ประกอบพิธีสมรสเกินกว่า ๙๖ กิโลเมตร

                   () ผู้ที่จะรับอัญเชิญเป็นวลีได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่

                   .  ประกอบด้วยคุณสมบัติตามมาตรา ๓๘ และ ๕๘ โดยอนุโลม และ

                   .  ประชาชนยกย่องว่าดำรงอยู่ในความยุติธรรม เว้นแต่ในเขตปริมณฑล ๙๖ กิโลเมตร

แห่งสถานที่ที่ประกอบพิธีสมรสนั้น หาบุคคลที่ได้รับความยกย่องเช่นว่านั้นมิได้ ผู้ที่เป็นอาดิล[15][๑๕] จะรับ

อัญเชิญเป็นวลีก็ได้

                   () ชายหญิงผู้จะสมรสต้องเปล่งวาจาอัญเชิญและยินยอมที่จะปฏิบัติตามมติของผู้ที่ตน

อัญเชิญนั้น

                   () เมื่อผู้ถูกอัญเชิญรับอัญเชิญเป็นวลีแล้ว ถ้าผู้นั้นมิยอมประกอบพิธีสมรสโดยอ้างว่า

ชายหญิงนั้นต้องห้ามมิให้สมรสตามมาตรา ๔๗ ชายหญิงนั้นจะอัญเชิญผู้อื่นภายในเขตปริมณฑล ๙๖

กิโลเมตร แห่งสถานที่ที่รับเชิญนั้นเป็นวลีอีกมิได้ เว้นแต่ชายหญิงนั้นจะได้เปล่งวาจาถอนผู้นั้นเสียก่อน

การถอนเช่นว่านั้นจะถอนโดยกรณีใด ๆ ก็ได้

                   () การเปล่งวาจาอัญเชิญหรือถอนนั้น จะกระทำต่างกรรมต่างวาระก็ได้

                   () วลีตะห์กีมมีอำนาจเช่นเดียวกับวลีอาม

 

                   มาตรา ๓๘  วลีที่จะประกอบพิธีสมรสได้ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดั่งต่อไปนี้

                   () เป็นชาย เว้นแต่สตรีซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่ต้องทรงมอบอำนาจ

ให้วลีฮากิมทำหน้าที่แทน

                   () เป็นอิสลามศาสนิก เว้นแต่พระมหากษัตริย์ แต่ต้องทรงมอบอำนาจให้วลีฮากิม

ทำหน้าที่แทน

                   () ไม่มีจิตฟั่นเฟือน

                   () ไม่เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

                   () ไม่เป็นฟาซิก[16][๑๖] เว้นแต่พระมหากษัตริย์ และบุคคลแรกเข้าเป็นอิสลามศาสนิก

                   () มีสติปัญญาเยี่ยงสามัญชน

                   () ไม่อยู่ในระหว่างปาฏิบัติพิธีฮัจญ์

                   () ไม่เป็นลมถึงไร้ความรู้สึก และ

                   () ไม่เป็นทาส

 

                   มาตรา ๓๙  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๔ () . และ ญ. และมาตรา ๔๗

วลีอักร็อบเป็นผู้ทรงสิทธิประกอบพิธีสมรสให้หญิง ถ้าวลีอักร็อบขาดคุณสมบัติ หน้าที่วลีตกได้แก่

วลีอับอัด

 

                   มาตรา ๔๐  ในกรณีที่วลีอักร็อบในชั้นเดียวกันมีหลายคน หญิงมีสิทธิเลือกวลีอักร็อบ

คนใดคนหนึ่งให้ประกอบพิธีสมรสได้ ถ้า

                   () ชายผู้สมรสหย่อนคุณสมบัติตามมาตรา ๔๑ () การสมรสของหญิงนั้นต้องได้รับ

ความยินยอมจากวลีอักร็อบเหล่านั้นเป็นเอกฉันท์

                   () หญิงอนุญาตให้วลีอักร็อบเหล่านั้นประกอบพิธีสมรสได้

                   .  วลีอักร็อบแต่ละคนจะร่วมกันประกอบพิธีสมรสมิได้ ให้วลีอักร็อบเหล่านั้นตกลง

กันเองเลือกวลีอักร็อบคนใดคนหนึ่งแต่ผู้เดียวประกอบพิธีสมรส หากมิสามารถตกลงเลือกกันเองได้

ให้จับสลาก

                   .  วลีอักร็อบต่างคนต่างประกอบพิธีสมรสยกหญิงให้เป็นภริยาชายตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป

ให้หญิงนั้นเป็นภริยาชายที่ได้สมรสก่อน หากมิสามารถทราบได้ว่าพิธีสมรสใดประกอบก่อน ให้พิธีสมรส

ทั้งหมดนั้นเป็นโมฆะ

 

                   มาตรา ๔๑  วลีมุจบิรมีสิทธิประกอบพิธีสมรสได้ตามบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้

                   () บังคับบุตรี หรือหญิงผู้สืบสันดานสายชายซึ่งยังเป็นพรหมจารี[17][๑๗] ให้สมรสได้เมื่อชาย

                   .  มีสถานะแห่งอาชีพไม่ต่ำกว่าหญิง

ข.  มีศีลธรรมไม่ต่ำกว่าหญิง

                   .  สามารถชำระอีซีกาห์เว็น[18][๑๘] ซึ่งเป็นเงินตราที่ใช้อยู่ในประเทศที่ประกอบพิธีสมรส

โดยจำนวนอันสมควรแก่ฐานะของหญิง เมื่อฝ่ายหญิงเรียกร้องได้ทันที

                   .  ไม่วิกลจริต ไม่เป็นโรค และไม่มีอวัยวะส่วนสืบพันธุ์พิการ ตามมาตรา ๑๑๑ () ()

และ ()

                   .  ไม่เป็นศัตรูต่อหญิง และวลีมุจบิรของหญิงรวมทั้งวลีมุจบิรของหญิงต้องไม่เป็นศัตรู

ต่อหญิงนั้นด้วย

                   .  มีฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดไม่ต่ำกว่าหญิง

                   .  เป็นเชื้อชาติอาหรับ หากหญิงเป็นเชื้อชาติอาหรับ และ

                   .  ไม่เป็นทาส

                   () เข้ารับการสมรส โดยกล่าวกอบูล[19][๑๙] แทนบุตรชายหรือชายผู้สืบสันดานสายชาย

ถ้าบุตรชายหรือชายผู้สืบสันดานสายชายนั้น

                   .  ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แม้บุตรชายหรือชายผู้สืบสันดานสายชายนั้นจะมิยินยอมก็ตาม

หรือ

                   .  บรรลุนิติภาวะแล้วแต่วิกลจริต หากเห็นว่าอาจป้องกันมิให้ผู้วิกลจริตนั้นละเมิด

ศีลธรรมทางประเวณีหรือหายวิกลจริต

                   ในกรณีเช่นว่านี้ วลีมุจรบิรมีสิทธิตั้งแต่งตัวแทนกล่าวกอบูลแทนตนได้

                   () ปู่ มีสิทธิประกอบพิธีสมรสระหว่างชายและหญิง ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานสายชาย

โดยกล่าวอียาบ[20][๒๐] และกอบูลในขณะเดียวกันได้ หรือตั้งแต่งตัวแทนกล่าวอียาบหรือกอบูลอย่างหนึ่ง

อย่างใดก็ได้ แต่จะตั้งแต่งตัวแทนคนเดียวกล่าวทั้ง ๒ อย่างมิได้ ถ้า

                   .  ชายและหญิงผู้สืบสันดานสายชายทั้ง ๒ นั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะ

แล้วแต่วิกลจริต

                   .  หญิงผู้สืบสันดานสายชายนั้นยังเป็นพรหมจารี และ

                   .  บิดาของชายผู้สืบสันดานสายชาย และบิดาของหญิงผู้สืบสันดานสายชายทั้ง ๒ นั้น

ตาย หรือวิกลจริต

                   () วลีมุจบิรจะมอบตัวหญิงผู้สืบสันดานสายชายให้แก่ชายผู้สืบสันดานสายชายได้

ต่อเมื่อหญิงผู้สืบสันดานสายชายนั้นใกล้จะบรรลุนิติภาวะและมีร่างกายเติบใหญ่ อาจรับการร่วม

ประเวณี[21][๒๑] ได้

 

                   มาตรา ๔๒  เฉพาะวลีมุจบิรเท่านั้นมีสิทธิ

                   () ประกอบพิธีสมรสชายหรือหญิงผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ

                   () บังคับให้ชายหรือหญิงสมรส ตามมาตรา ๔๑

 

                   มาตรา ๔๓  ในกรณีที่หญิงไม่มีวลีคอสเลย หรือมีแต่ขาดคุณสมบัติภายในบังคับ

บทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๔ () . และ ญ. แต่ปรากฏว่าหญิงนั้นหรือบรรพบุรุษของหญิงนั้นเคยเป็นทาส

ของผู้ใดผู้หนึ่ง และผู้นั้นปล่อยให้หญิงนั้นหรือบรรพบุรุษของหญิงนั้นเป็นอิสระแล้ว ผู้ที่จะเป็นวลีของ

หญิงนั้นได้ คือผู้เคยเป็นเจ้าเงินนั้นซึ่งได้นามว่า วลีปังฮูลูเว้นแต่วลีปังฮูลูนั้นเป็นสตรี ผู้ที่จะเป็นวลี

ของหญิงนั้นได้ คือวลีของสตรีนั้น ถ้า

                   () วลีนั้นตาย ผู้ที่จะเป็นวลีสืบไปได้คือญาติชายของสตรีนั้นผู้มีสิทธิเป็นวลีได้

ตามลำดับชั้นวลีคอสตามความในมาตรา ๓๐ โดยอนุโลม

                   () วลีปังฮูลูนั้นเป็นบุรุษหรือสตรีก็ดีตาย ผู้ที่จะเป็นวลีของหญิงนั้นสืบไปได้ คือญาติ

ชายของวลีปังฮูลูนั้นก่อนและหลังตามลำดับดังต่อไปนี้

                   .  บุตรชาย

                   .  ผู้สืบสันดานสายชาย

                   .  บิดา

                   .  พี่ชายหรือน้องชาย ที่ร่วมบิดามารดา

                   .  พี่ชายหรือน้องชาย ที่ร่วมแต่บิดา

                   .  บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย ที่ร่วมแต่บิดามารดา

                   .  บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย ที่ร่วมแต่บิดา

                   .  ถ้าวลีในลำดับ ช. ไม่มี ก็ให้บุตรชายของวลีในลำดับ ฉ. เป็นวลี ถ้าบุตรชายของวลี

ในลำดับ ฉ. ไม่มี ก็ให้บุตรชายของวลีในลำดับ ช. เป็นวลี ถ้าบุตรชายของวลีในลำดับ ช. ไม่มี

ก็ให้หลานชายของวลีในลำดับ ฉ. เป็นวลี ถ้าหลานชายของวลีในลำดับ ฉ. ไม่มี ก็ให้หลานชายของวลี

ในลำดับ ช. เป็นวลี โดยสลับกันไปมาเช่นว่านี้ จนกว่าจะขาดสายชายผู้สืบสันดานสายชายของวลีในลำดับ

. หรือ ช. แล้วแต่กรณี

                   .  ปู่[22][๒๒]

                   .  พี่ชายหรือน้องชายของบิดา ที่ร่วมบิดามารดา

                   .  พี่ชายหรือน้องชายของบิดา ที่ร่วมแต่บิดา

                   .  บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชายบิดา ที่ร่วมบิดามารดา

                   .  บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชายบิดา ที่ร่วมแต่บิดา

                   .  บุตรชายหรือชายผู้สืบสันดานสายชายของวลีในลำดับ ฏ. หรือ ฐ. สลับกันไปมา

โดยอนุโลมตามข้อความที่บัญญัติไว้ใน ซ. จนกว่าจะขาดสายชายผู้สืบสันดานสายชายของวลีในลำดับ

. หรือ ฐ. แล้วแต่กรณี

                   .  ชายผู้สืบสายโลหิตของปู่โดยตรงขึ้นไป

                   () วลีปังฮูลูที่เป็นชายขาดคุณสมบัติภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๔ ()

ผู้ที่จะเป็นวลีของหญิงนั้นได้ คือญาติชายของวลีปังฮูลูนั้น ผู้มีสิทธิเป็นวลีได้ตามลำดับชั้นวลีคอส

ตามความในมาตรา ๓๐ โดยอนุโลม

 

                   มาตรา ๔๔  ในกรณีที่หญิงร้องขอให้วลีอามประกอบพิธีสมรส วลีอามมีสิทธิประกอบพิธี

สมรสได้ต่อเมื่อ

                   () หญิงนั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่มีวลีคอสภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๓

                   () วลีอักร็อบของหญิงนั้น

                   .  สูญไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ แต่ยังมิได้มีคำสั่งของศาลแสดงว่าวลีนั้นตาย

                   .  สมรสกับหญิงนั้นเอง หรือประกอบพิธีสมรสระหว่างญาติหญิงซึ่งมิใช่ผู้สืบสันดาน

สายชาย และบรรลุนิติภาวะแล้ว กับบุตรชายหรือชายผู้สืบสันดานสายชาย ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

                   .  อยู่ห่างจากสถานที่ประกอบพิธีสมรสเกินกว่า ๙๖ กิโลเมตร

                   .  ต้องถูกคุมขัง และหมดความสามารถจะประกอบพิธีสมรสโดยตนเอง หรือตัวแทนได้

                   .  หลบหลีกเพื่อมิประกอบพิธีสมรส หรือเพื่อมิยอมรับการเรียกของวลีอาม

                   .  ขัดขืนมิยอมประกอบพิธีสมรส

                   .  สละสิทธิในการประกอบพิธีสมรส

                   .  อยู่ในระหว่างปฏิบัติพิธีการฮัจญ์ หรือ

                   .  เป็นลมไร้ความรู้สึกในเวลาประกอบพิธีสมรสเกินกว่า ๓ วัน

                   แต่ความใน () นี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่หญิงนั้นมีวลีอักร็อบในชั้นเดียวกันหลายคน

และสามารถกระทำหน้าที่วลีได้

                   () การสมรสของบิดามารดาหญิงนั้นตกเป็นโมฆะ เพราะกระทำไปโดยเจตนาฝ่าฝืน

บทบัญญัติว่าด้วยการสมรสในลักษณะนี้ หรือ

                   () วลีปังฮูลูที่เป็นชายของหญิงนั้นขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๘ () () และ ()

                   กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ถ้าชายผู้จะสมรสหย่อนคุณสมบัติตามมาตรา ๔๑ ()

โดยอนุโลม ห้ามมิให้วลีอามประกอบพิธีสมรสให้หญิง เว้นแต่ในจังหวัดนั้นหาชายซึ่งสมบูรณ์ด้วย

คุณสมบัติเช่นว่านั้นมิได้ หรือการประกอบพิธีสมรสอาจป้องกันมิให้หญิงนั้นละเมิดศีลธรรมทาง

ประเวณีได้

 

                   มาตรา ๔๕  ในกรณีที่วลีอามประกอบพิธีสมรสให้หญิงตามมาตรา ๔๔

                   () ถ้าเป็นกรณีที่วลีอามสามารถทราบข้อเท็จจริงได้จากวลีอักร็อบของหญิง ให้วลีอาม

เรียกตัววลีอักร็อบนั้นมาเป็นวลีโดยกำหนดวันเวลาที่จะประกอบพิธีสมรสโดยชัดแจ้งตามบทบัญญัติ

ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ภายหลังที่หญิงร้องขอแล้ว วลีอามทราบข้อเท็จจริงด้วยตนเอง หรือโดยคำเล่าลืออันประกอบด้วยเหตุผลอันควรฟังได้

                   .  จะเรียกโดยเอกสาร หรือบุคคลก็ได้

                   .  การเรียกโดยเอกสารหรือบุคคล ต้องถึงตัววลีนั้นเอง ภายในบังคับบทบัญญัติ

แห่งมาตรา ๔๔ () .

                   .  ห้ามมิให้เรียกเกิน ๒ ครั้ง ถ้าเรียกเกิน ๒ ครั้ง สิทธิของวลีอามที่จะประกอบพิธีสมรส

ให้หญิงนั้นสุดสิ้นลงแล้ว หน้าที่วลีตกได้แก่วลีอับอัดของหญิงนั้น

                   () ถ้าเป็นกรณีที่วลีอามมิสามารถทราบข้อเท็จจริงได้จากวลีอักร็อบนั้น ให้วลีอาม

ฟังข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลซึ่งเป็นชายมีจำนวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป หรือจากพยานเอกสาร เว้นแต่

วลีอามทราบข้อเท็จจริงด้วยตนเองหรือโดยคำเล่าลืออันประกอบด้วยเหตุผลอันควรฟังได้ มิเลือกว่า

จะทราบก่อนหรือภายหลังที่หญิงร้องขอแล้ว

 

                   มาตรา ๔๖  วลีอักร็อบฝ่ายหญิงมีสิทธิร้องคัดค้านพิธีสมรสซึ่งวลีอามประกอบตาม

มาตรา ๔๔ และมาตรา ๔๕ ต่อวลีอามนั้นได้ เมื่อวลีอามสอบสวนตามที่เห็นสมควรแล้ว ให้วลีอามมีคำสั่ง

ว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ หรือยกคำร้องคัดค้านนั้นเสีย หากวลีอักร็อบนั้น หรือคู่สมรสไม่พอใจก็ร้อง

ต่อศาลได้

 

                   มาตรา ๔๗  ในกรณีชายหญิงผู้บรรลุนิติภาวะและวิกลจริต แต่ไม่มีวลีมุจบิร เฉพาะ

วลีอามเท่านั้นมีสิทธิประกอบพิธีสมรส โดยกล่าวอียาบหรือกอบูลแทน หรือมอบสิทธิให้ชายผู้มีสมบัติตาม

มาตรา ๓๘ กล่าวอียาบหรือกอบูลได้ ในเมื่อเห็นว่าการสมรสนั้นอาจป้องกันมิให้ชายหรือหญิงนั้นละเมิด

ศีลธรรมทางประเวณีหรือหายวิกลจริตได้ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับเมื่อวิกลจริตเป็นครั้งคราว

                   ถ้าชายหญิงนั้นวิกลจริตทั้ง ๒ ฝ่าย และมีแต่เฉพาะวลีอามผู้เดียวเท่านั้นที่จะประกอบ

พิธีสมรสได้ วลีอามนั้นจะกล่าวทั้งอียาบและกอบูลมิได้ หรือจะมอบให้ชายอื่นแต่คนเดียวกล่าวทั้ง ๒ ฝ่าย

ก็มิได้เช่นเดียวกัน จะทำได้แต่โดยวลีอามกล่าวอย่างหนึ่ง มอบชายอื่นกล่าวอีกอย่างหนึ่งมอบให้ชาย

๒ คนกล่าวคนละอย่างก็ได้

 

                   มาตรา ๔๘  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๑ () และ ๔๗ วลีมีสิทธิแต่งตั้ง

ชายอื่นผู้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับตนให้ทำหน้าที่วลีแทนตนได้

 

หมวด ๓

เงื่อนไขแห่งการสมรส

                  

 

                   มาตรา ๔๙  พิธีสมรสจะประกอบได้ ต่อเมื่อ

                   () ผู้สมรสต้องมีเพศเป็นชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง

                   () ชายหญิงต้องเป็นอิสลามศาสนิก เว้นแต่หญิงซึ่งสืบสกุลมาแต่บานีอิสรออีล[23][๒๓] และ

นับถือศาสนายะฮูดี[24][๒๔] หรือศาสนานัสรอนี[25][๒๕] ตามลัทธิเดิมของศาสนาทั้ง ๒ นั้น

                   การสมรสไม่มีผลให้หญิงนั้นเป็นอิสลามศาสนิก

                   () ชายหญิงต้องทราบโดยชัดแจ้งว่า ตนสมรสกับผู้ใด แต่มิจำต้องรู้จักหรือเห็นตัวผู้นั้น

ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๑ และ ๔๗

                   () ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน แต่หญิงมิจำต้องรู้เห็นในพิธีสมรส ภายในบังคับ

บทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๑ และ ๔๗

                   () ชายหรือหญิงไม่อยู่ในระหว่างปฏิบัติพิธีการฮัจญ์

                   () ชายหญิงมิได้เป็นญาติสืบสายโลหิตขึ้นไปหรือลงมา เว้นแต่ญาติผู้สืบสายโลหิต

จากพี่น้องของบิดามารดาพี่น้องของปู่ย่า หรือพี่น้องของตายายลงมา

                   () ชายหญิงมิได้เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดา หรือมารดา หรือผู้สืบสาย

โลหิตของพี่น้องนั้น ๆ ลงมา

                   () หญิงมิเคยเป็นภริยาของผู้สืบสายโลหิตของชายโดยตรงขึ้นไปหรือโดยตรงลงมา

                   () ชายมิได้เป็นหรือเคยเป็นสามีของผู้สืบสายโลหิตของหญิงโดยตรงลงมา

                   ชายซึ่งเคยเป็นสามีของผู้สืบสายโลหิตของหญิงโดยตรงขึ้นไป จะสมรสกับหญิงนั้นได้

ต่อเมื่อมิได้เคยเสพเมถุน[26][๒๖] กับผู้สืบสายโลหิตของหญิงโดยตรงขึ้นไปนั้น หากได้เสพเมถุนแล้ว

แต่การสมรสนั้นเป็นโมฆะ ถ้าก่อนเสพเมถุน

                   .  ชายมิได้ทราบถึงการเป็นโมฆะนั้น ต้องห้ามมิให้สมรสกับหญิงนั้น

                   .  ชายได้ทราบถึงการเป็นโมฆะนั้น มิต้องห้ามการสมรสกับหญิงนั้น

                   (๑๐) ชายหรือหญิงมิได้เคยเสพเมถุนนิรโทษกับผู้สืบสายโลหิตของอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง

ขึ้นไปหรือโดยตรงลงมา

                   (๑๑) หญิงมิได้เป็นภริยาของชายอื่น หรืออยู่ภายในเขตอิดดะห์อันเกิดแต่ชายอื่นภายใน

บังคับบทบัญญัติแห่งหมวดว่าด้วยอิดดะห์

                   (๑๒) หญิงยังเป็นพรหมจารี ถ้ายังไม่บรรลุนิติภาวะ

                   (๑๓) ชายได้รับความยินยอมจาก

                   .  วลี ถ้าเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

                   .  เจ้าเงิน ถ้าเป็นทาส

                   นอกจากนี้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๕๑ ๙๑ () ๑๒๑ และ ๑๒๗ ด้วย

 

                   มาตรา ๕๐  ในกรณีที่การสมรสต้องได้รับความยินยอมจากหญิง เมื่อวลีถาม

                   () หญิงซึ่งยังเป็นพรหมจารี หากหญิงมิปฏิเสธแต่นิ่งเสีย ให้ถือว่ายินยอม เว้นแต่

จะแสดงกิริยาซึ่งเห็นได้ว่ามิยินยอม

                   () หญิงซึ่งเสียพรหมจารีแล้ว หญิงต้องเปล่งวาจายินยอม จึ่งจะถือว่ายินยอม

 

                   มาตรา ๕๑  ผู้ใดดื่มน้ำนมของหญิงใด ห้ามมิให้ผู้นั้นและผู้สืบสายโลหิตของผู้นั้น

โดยตรงลงมา สมรสกับหญิงนั้น และสามีของหญิงผู้ที่เกิดบุตรกับหญิงอันเป็นเหตุให้เกิดน้ำนมนั้น

ตลอดถึงเครือญาติของหญิงและของสามีหญิงนั้นด้วย

                   เครือญาติของหญิงและของสามีหญิงเช่นว่านั้น ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๙ ()

ถึง (๑๐) มาใช้บังคับโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี

                   กรณีดื่มน้ำนม ต้องประกอบด้วย

                   () หญิงเจ้าของน้ำนม ต้อง

                   .  มีอายุไม่ต่ำกว่า ๙ ปีหย่อน ๑๕ วัน

                   .  ไม่อยู่ในฐานะใกล้มรณะ เว้นแต่โดยภยันตรายซึ่งเกิดแต่เหตุภายนอก

                   () ทารกได้ดื่มน้ำนมตั้งแต่ ๕ ครั้งขึ้นไป

                   ตามธรรมดาการดื่มจนผละออกแล้ว ให้ถือว่าครั้งหนึ่ง แต่ทั้งนี้มิได้หมายถึงการผละออก

เพื่อเปลี่ยนเต้าหรือผละออกแล้วกลับมาดื่มอีกในระยะเวลาใกล้ชิดกัน การดื่มจะดื่มจากเต้าหรือดื่มโดย

วิธีใดก็ตาม

                   () เป็นที่แน่นอนว่าได้ดื่มตั้งแต่ ๕ ครั้งขึ้นไป และแต่ละครั้งที่ดื่มมีอายุไม่ถึง ๒ ปี

บริบูรณ์

                   () น้ำนมที่ทารกดื่มตั้งแต่ ๕ ครั้งขึ้นไปนั้น แต่ละครั้งต้องลงถึงภายในท้องทารก

 

                   มาตรา ๕๒  ในระหว่างคู่สมรสยังมิได้ขาดจากการสมรส หรือขาดจากการสมรสโดย

ตอละก์ร็อจอี[27][๒๗] แต่ภริยาคู่หย่ายังอยู่ในเขตอิดดะห์ ห้ามมิให้สามีสมรสกับพี่ น้อง ป้า น้า และอาของ

ภริยานั้น และห้ามมิให้สมรสกับผู้สืบสายโลหิตของพี่น้องภริยานั้นโดยตรงลงมาด้วย ให้นำบทบัญญัติ

แห่งมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๕๓  ห้ามมิให้ชายผู้มีภริยาอยู่แล้ว ๔ คน หรือทาสผู้มีภริยาอยู่แล้ว ๒ คน สมรส

กับหญิงอื่นอีก เว้นแต่จะได้ขาดการสมรสจากภริยาคนใดคนหนึ่ง โดยประเภท

                   () บาอิน[28][๒๘] หรือ

                   () ร็อจอี และภริยาคู่หย่าพ้นจากเขตอิดดะห์แล้ว

                   ชายผู้วิกลจริตหรือเสมือนไร้ความสามารถ มีภริยาได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

 

หมวด ๔

อียาบและกอบูล

                  

 

                   มาตรา ๕๔  อียาบ คือการเปล่งวาจาเสนอการสมรสของวลีฝ่ายหญิง หรือตัวแทนวลี

แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๕๕  กอบูล คือการเปล่งวาจาสนองรับการสมรสของชาย ตัวแทนชายหรือ

วลีฝ่ายชายในกรณีที่ชายยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือวิกลจริต แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๕๖  อียาบและกอบูลจะสมบูรณ์ ต่อเมื่อ

                   () ได้มีการเปล่งวาจากล่าวอียาบ และกอบูลนั้น

                   () ทั้งอียาบและกอบูลต้องมีความหมายชัดแจ้งว่า ให้ชายหญิงนั้นสมรสกัน และต้อง

ปราศจากเงื่อนไข ผู้เปล่งวาจาจะมีเจตนาให้เป็นอียาบหรือกอบูลหรือไม่ไม่สำคัญ

                   () อียาบต้องปราศจากข้อความนอกเรื่อง ในท่ามกลางและเมื่อสุดสิ้นอียาบ

                   กอบูลต้องปราศจากข้อความนอกเรื่อง ในเบื้องต้น และท่ามกลางกอบูล

                   () การกล่าวอียาบ ได้ระบุนามหรือสรรพนามชายผู้รับการสมรส และระบุว่าได้กล่าว

แทนวลี ถ้าตัวแทนวลีเป็นผู้กล่าว แล้วแต่กรณี

                   () การกล่าวกอบูล ได้ระบุนาม หรือสรรพนามชายผู้รับการสมรส ถ้าตัวแทนชาย

หรือวลีฝ่ายชายเป็นผู้กล่าว

                   () จะกล่าวอียาบหรือกอบูลก่อนก็ได้ แต่ต้องกล่าวติดต่อกันโดยพลัน

                   () ได้ระบุนามหญิง หรือชี้ตัวหญิง เว้นแต่บิดามีบุตรีผู้เดียวและเป็นวลีเอง จะใช้

สรรพนามบุตรีก็ได้ และ

                   () ผู้กล่าวมิได้สิ้นสติ วิกลจริต หรือเป็นมุรตัด[29][๒๙] ในระหว่างกล่าว

 

หมวด ๕

พยานในการสมรส

                  

 

                   หมวด ๕๗  การประกอบพิธีสมรสนั้นให้ประกอบต่อหน้าพยานตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป

 

                   มาตรา ๕๘  ผู้ที่จะเป็นพยานในการสมรสได้ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

                   () เป็นชาย

                   () เป็นอิสลามศาสนิก

                   () ไม่มีจิตฟั่นเฟือน

                   () มีสติปัญญาเยี่ยงสามัญชน

                    () เป็นอาดิล เว้นแต่ในจังหวัดนั้นหาบุคคลเป็นอาดิลมิได้

                   () จักษุยังเห็นพอใช้การได้

                   () หูยังได้ยินพอใช้การได้

                   () ไม่เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

                   () ไม่มีอาชีพชั้นต่ำ เช่นรับจ้างกวาดขยะ หรือเทอุจจาระ

                   (๑๐) ไม่มีมรรยาททราม เช่นเปลือยกายท่อนบน หรือเดินรับประทานอาหาร โดยไร้เหตุ

จำเป็นในที่ประชุมชนเป็นอาจิณ

                   (๑๑) ไม่เป็นใบ้ และ

                   (๑๒) ไม่เป็นทาส

 

                   มาตรา ๕๙  พยานต้อง

                   () รู้ภาษา หนังสือ หรืออาณัติสัญญาณ ซึ่งใช้เป็นอียาบและกอบูล

                   () เห็นตัวผู้กล่าวอียาบและกอบูล

                   () ได้ยินคำอียาบและกอบูล หรือได้เห็นหนังสือหรืออาณัติสัญญาณ ซึ่งใช้เป็นอียาบ

และกอบูลโดยชัดแจ้ง

 

                   มาตรา ๖๐  ห้ามมิให้วลีเป็นพยานในการสมรส แม้วลีนั้นจะได้มอบอำนาจให้ผู้อื่น

เป็นวลีแทนตนแล้วก็ตาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะ ๒

สัมพันธ์แห่งสามีภริยา

                  

หมวด ๑

การปฏิบัติและอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา

                  

 

                   มาตรา ๖๑  เมื่อชายหญิงได้เป็นสามีภริยาโดยพิธีสมรสแล้ว ภริยาควรที่จะมอบตัว[30][๓๐]

และอยู่ร่วมกับสามี เว้นแต่

                   () ภริยายังไม่บรรลุนิติภาวะและมีร่างกายไม่เติบใหญ่พอจะรับการร่วมประเวณีได้

มิสมควรมอบตัวแก่สามี หากมอบตัวก็มิให้ถือว่าเป็นการมอบตัวโดยชอบด้วยหลักกฎหมายนี้ หรือ

                   () สามีไม่ชำระอีซีกาห์เว็นซึ่งไม่มีกำหนดเวลาชำระ และภริยาได้เตือนแล้ว

 

                   มาตรา ๖๒  เว้นแต่ภริยาวิกลจริต เมื่อภริยาได้มอบตัวแก่สามีแล้ว ภริยาควรที่จะ

                   () ปฏิบัติตามคำสั่งของสามี เว้นแต่คำสั่งนั้น

                   .  ฝ่าฝืนศาสนาอิสลาม

                   .  ฝ่าฝืนกฎหมาย

                   .  ภริยามิสามารถปฏิบัติตามได้ เพราะความเกรงภัย หรือความจำเป็นอื่น ๆ หรือ

                   .  ให้ภริยาอยู่ร่วมเรือนกับภริยาอื่น และ

                   () เคารพต่อสามี โดย

                   .  ไม่ออกจากบ้านโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีโดยตรงหรือโดยปริยาย เว้นแต่จำต้อง

ออกไป เพราะ

                   .  ความเกรงภัย

                   .  เพื่อศึกษาอิสลามบัญญัติที่จำต้องเชื่อ จำต้องปฏิบัติ และจำต้องศึกษา[31][๓๑] เพราะสามี

ไม่สอน หรือไม่มีความรู้พอที่จะสอน

                   .  เพื่อจัดหาอาหาร เพราะสามีมิจ่ายให้

                   .  เพื่อหาเลี้ยงชีพ เพราะสามียากจน

                   .  ไปหาญาติที่ตนต้องห้ามมิให้สมรสด้วย ในระหว่างสามีไปทางไกล และมิได้สั่งห้าม

มิให้ภริยาออกจากบ้าน หรือ

                   .  เพื่อกิจจำเป็นอื่น ๆ เช่น ไปรับจ้างผู้อื่นเพื่อหาเงินชำระค่ารักษาพยาบาล หรือ

ค่ายารักษาโรคซึ่งสามีมิยอมจ่ายให้

                   .  ไม่แกล้งปิดประตู และต้องเปิดประตูขณะสามีมาหา

                   .  ไม่ใช้กิริยาหรือวาจาหยาบคายต่อสามี เว้นแต่ภริยานั้นมีนิสัยใช้กิริยาหรือวาจา

หยาบคายเป็นอาจิณ

                   .  ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สามี เช่นด่าพร่ำเพรื่อ

                   .  ไม่แกล้งทำหน้าบึ้งหรือค้อน

                   .  ไม่โต้เถียงสามีโดยปราศจากเหตุผล

                   .  ไม่โบยตอบสามี เว้นแต่เป็นกรณีป้องกันเมื่อสามีโบยเกินสมควรกว่าเหตุ

                   .  ต้องยินยอมให้สามีมองดูหน้า สัมผัส และร่วมประเวณี เว้นแต่

                   .  สามีหรือภริยามีโรคซึ่งอาจกำเริบ หรือติดต่อเพราะสัมผัส หรือร่วมประเวณี

                   .  อวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของสามีเกินขนาดที่ภริยาจะรับการร่วมประเวณีได้

                   .  ช่องคลอดของภริยามีอุปสรรคมิสามารถรับการร่วมประเวณีได้ เช่นอยู่ในระหว่าง

หลั่งโลหิตระดูหรือโลหิตคลอด หรือ

                   .  ภริยาอยู่ภายในเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษ[32][๓๒]

 

                   มาตรา ๖๓  เมื่อภริยาได้ปฏิบัติหน้าที่ภริยาตามมาตรา ๖๒ แล้วก็ดี หรือภริยามิยินยอม

มอบตัวแก่สามีเพราะสามีไม่ชำระอีซีกาห์เว็นดั่งที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๑ () ก็ดี ให้สามีอุปการะ

เลี้ยงดูภริยาตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้

                   () จ่ายพยัญชนาหาร เช่นผัก ปลา เนื้อ หรือน้ำมัน โดยปริมาณสมควรแก่ฐานะของ

สามี พร้อมทั้งโภชนาหาร เช่น ข้าวสาร หรือแป้ง ซึ่งใช้เป็นอาหารโดยปกติแห่งท้องถิ่น ตังแต่เวลา

แสงอรุณเริ่มขึ้น จนถึงเวลาที่บุคคลพึงต้องการตามปกติแต่ละวัน และจ่ายค่าแรงงานผลิตอาหาร เช่น

ค่าจ้างซ้อมข้าว สีข้าว หรือประกอบอาหารด้วย

                   สำหรับโภชนาหาร ถ้าสามีมีฐานะ

                   .  สมบูรณ์ด้วยธนสมบัติ ให้จ่าย ๒ ลิตร

                   .  ปานกลาง ให้จ่าย ๑  ลิตร

                                               

                                .  ยากจน ให้จ่าย ๑ ลิตร

                   ถ้าภริยายินยอมบริโภคอาหารซึ่งสามีจัดหาแล้ว ภริยาไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าอาหารหรือ

ค่าแรงงานผลิตอาหารจากสามีอีก เว้นแต่ภริยาผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือวิกลจริต ได้บริโภคอาหาร

ซึ่งสามีจัดหาโดยมิได้รับความยินยอมจากวลีแล้ว วลีมีสิทธิเรียกร้องค่าอาหารหรือค่าแรงงานผลิตอาหาร

จากสามีในนามของภริยาได้อีก

                   () จัดหาเครื่องอุปโภค เช่น เครื่องทำครัว เครื่องนุ่งห่มตามปกติ และที่จำเป็นต้องใช้

ตามฤดูกาล เครื่องใช้สำหรับห้องนอน และเครื่องสำอางตามธรรมดา โดยปริมาณสมควรแก่ฐานะ

ของสามี เฉพาะเครื่องนุ่งห่มให้จัดหา ๖ เดือนต่อครั้ง

                   () จัดหาน้ำสำหรับอาบ เมื่อเสร็จการร่วมประเวณี คลอดบุตร หรือหยุดหลั่งโลหิต

เนื่องแต่การคลอดบุตรสุดแต่ภริยาจะต้องการน้ำร้อนหรือน้ำเย็น

                   () จัดหาเครื่องบริโภคสุดแต่ภริยาต้องการในขณะที่ภริยาตั้งครรภ์ แต่มิเกิน

ความสามารถของสามี

                   () จัดหาหญิง ผู้เยาว์[33][๓๓] ทาส หรือญาติที่ภริยาต้องห้ามมิให้สมรสด้วยมาให้รับใช้

ในขณะที่ภริยาป่วย ถ้าภริยาไม่มีคนรับใช้

                   () จัดหาหญิง ผู้เยาว์ ทาส หรือญาติที่ภริยาต้องห้ามมิให้สมรสด้วยให้เป็นคนรับใช้

ของภริยา รวมทั้งค่ากินอยู่นุ่งห่มของคนรับใช้ด้วย แม้สามีจะเป็นผู้ยากจนก็ตาม ถ้าในขณะสมรส

ระหว่างภริยาอยู่กับบิดามารดามีคนรับใช้ เว้นแต่สามีจะยอมเป็นคนรับใช้ของภริยาเสียเอง

หรือภริยานำคนรับใช้เดิมมาอยู่ด้วย และ

                   () จัดหาเคหะสถานซึ่ง

                   .  ไม่ปะปนกับบุคคลซึ่งภริยาไม่สมัครอยู่ร่วม

                   .  ไม่เป็นที่เปลี่ยวน่าเกรงภัยในขณะที่สามีไม่อยู่

                   .  มีคุณภาพสมควรแก่ฐานะของภริยา แต่มิเกินความสามารถของสามี และ

                   .  ประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก และห้องครัว

                   สิทธิเลือกหาที่อยู่ใน () นี้เป็นสิทธิของสามี

 

                   มาตรา ๖๔  สามีมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้แก่ภริยา ดั่งที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๓

ภริยามีสิทธิฟ้องขอให้สามีชำระหนี้ได้ ถ้าสามีไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ภริยามีสิทธิ

                   () ขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของสามี หรือ

                   () ขอฟะซัค[34][๓๔] ตามมาตรา ๑๑๕ () และ ()

 

                   มาตรา ๖๕  สามีค้างชำระหนี้ตามมาตรา ๑๑๕ () บิดา ปู่ หรือปู่ทวด คนใดคนหนึ่ง

ของสามีมีสิทธิชำระหนี้แทนสามีได้

 

                   มาตรา ๖๖  ภริยามิได้ปฏิบัติหน้าที่ภริยาตามมาตรา ๖๒ ภริยาไม่มีสิทธิในอุปการะเลี้ยง

ดูของสามีตามมาตรา ๖๓ สามีมีสิทธิเรียกคนใช้ซึ่งหาให้คืน ขับไล่ภริยาออกจากเคหะสถาน และ

เรียกสิ่งของต่าง ๆ คืนได้ เว้นแต่สามีได้ยกทรัพย์สินนั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ภริยาแล้ว สำหรับ

เครื่องนุ่งห่มและเครื่องสำอางเมื่อสามีมอบให้ภริยาแล้ว ให้ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยา ภริยาคงขาด

สิทธิในอุปการะเลี้ยงดูนี้ตลอดไป จนกว่าจะได้ปฏิบัติหน้าที่ภริยา หรือพยายามจะปฏิบัติ แต่มิสามารถ

ปฏิบัติได้ เพราะสามีมิให้โอกาส หรือจนกว่าภริ่ยาจะได้มอบตัวแก่สามีในกรณีที่สามีภริยาละทิ้งกันไป

เมื่อภริยาได้ประกอบกรณียกิจเช่นว่านั้นแล้ว ภริยาได้สิทธิในอุปการะเลี้ยงดูคืน ตั้งแต่แสงอรุณเริ่มขึ้น

เป็นต้นไป เว้นแต่สามีได้สัมผัสโดยเสน่หา หรือเสพเมถุนในขณะใด ภริยามีสิทธิในอุปการะเลี้ยงดู

ตั้งแต่ขณะนั้นเป็นต้นไป

 

                   มาตรา ๖๗  ในกรณีที่สามียังไม่บรรลุนิติภาวะหรือวิกลจริตก่อนสมรส แต่ภริยาบรรลุ

นิติภาวะ หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่มีร่างกายเติบใหญ่อาจรับการร่วมประเวณีได้ ให้วลีอักร็อบ[35][๓๕]

ของสามีจ่ายทรัพย์สินของตนอุปการะเลี้ยงดูภริยาแทนสามี

                   ถ้าสามีเพิ่งวิกลจริตภายหลังการสมรส และสามีมีทรัพย์สิน วลีนั้นมีสิทธิจ่ายค่าอุปการะ

เลี้ยงดูจากทรัพย์สินของสามีได้

 

                   มาตรา ๖๘  ภริยาด่าสามีโดยบันดาลโทสะเป็นครั้งคราว ไม่เสียสิทธิในอุปการะเลี้ยงดู

ของสามี แต่สามีมีสิทธิ

                   () ว่ากล่าวสั่งสอน หรือ

                   () ไม่อยู่ร่วม แต่ห้ามมิให้เว้นการพูดกับภริยาเกิน ๓ วัน หรือ

                   () โบยด้วยผ้าหรือมือตามสมควร เมื่อเห็นว่าอาจเกิดประโยชน์ แต่ห้ามมิให้โบยที่หน้า

หรือที่อวัยวะอื่นซึ่งอาจเกิดอันตราย และห้ามมิให้โบยถึงฟกช้ำ

 

                   มาตรา ๖๙  ปริมาณค่าโภชนาหาร ค่าพยัญชนาหาร และค่าเครื่องอุปโภคอันสามี

จะพึงชำระโดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความเป็นไปแห่งท้องถิ่น

 

                   มาตรา ๗๐  เมื่อสามีก่อความเดือดร้อนแก่ภริยาเช่นด่าโดยปราศจากเหตุผล จะกระทำ

ชำเราทางเว็จมรรคหรือโบยเกินสมควรกว่าเหตุ ภริยามีสิทธิร้องขอต่อศาลขอแยกอยู่ต่างหากจากสามี

ให้ศาลแยกภริยาไปอยู่กับบุคคลผู้เป็นอาดิลโดยความยินยอมของภริยาและบุคคลผู้เป็นอาดิลนั้น จนกว่า

สามีจะร้องขอและรับรองเป็นที่พอใจของศาล ศาลจะเรียกประกันจากสามีก็ได้

                   ภริยามีสิทธิในอุปการะเลี้ยงดูของสามีตลอดเวลาที่ศาลสั่งให้อยู่กับบุคคลผู้เป็นอาดิลนั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวด ๒

เวรอยู่ร่วมกับภริยาแต่ละคนของสามี

                  

 

                   มาตรา ๗๑  ให้สามีผู้มีภริยาตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ปันเวรอยู่ร่วมกับภริยาแต่ละคน

โดยเสมอภาค

 

                   มาตรา ๗๒  กำหนดเวรอยู่ร่วมกับภริยานั้น ให้คำนวณเป็นคืนตั้งแต่พระอาทิตย์ตก

จนพระอาทิตย์ขึ้น เว้นแต่สามีติดการอาชีพในเวลากลางคืน จึ่งให้คำนวณเป็นวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น

จนพระอาทิตย์ตก

 

                   มาตรา ๗๓  เมื่อกำหนดเวรเป็นคืนหรือวัน ให้คำนวณส่วนของกลางวันหรือกลางคืน

ท้ายเวรเข้าในกำหนดเวรนั้นด้วย แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๗๔  กำหนดเวรแต่ละเวรห้ามมิให้น้อยกว่าเวรละ ๑ คืน ๑ วัน และมากกว่า

เวรละ ๓ คืน ๓ วัน เว้นแต่

                   () สามีและภริยาทุกฝ่ายตกลงกำหนดเวรน้อยหรือมากกว่ากำหนดในวรรคก่อน หรือ

                   () ภริยาฝ่ายหนึ่งยินยอม ให้กำหนดเวรของภริยาอีกฝ่ายหนึ่งมากกว่ากำหนดเวร

ของตน

                   แต่กำหนดเวรเช่นว่านี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่สามีสมรสกับภริยาใหม่ ถ้าสมรสกับหญิง

                   .  พรหมจารี สามีมีสิทธิอยู่ร่วมกับภริยาใหม่ได้ ๗ คืน ๗ วัน

                   .  เสียพรหมจารีแล้ว สามีมีสิทธิอยู่ร่วมกับภริยาใหม่ได้ ๓ คืน ๓ วัน

 

                   มาตรา ๗๕  โดยปราศจากเหตุจำเป็น สามีอยู่ร่วมกับภริยาฝ่ายใดเกินกำหนดเวร

หรือไปหาภริยาฝ่ายใดนอกกำหนดเวร ให้สามีอยู่ร่วมกับภริยาอีกฝ่ายหนึ่งชดเชยตามกำหนดเวลาที่เกิน

หรือที่ไปหาภริยานอกกำหนดเวลานั้น เว้นแต่ภริยาอีกฝ่ายหนึ่งสละสิทธิของตนเสีย

                   แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับเมื่อภริยาอีกฝ่ายหนึ่งไปจากบ้านซึ่งสามีไม่มีโอกาสอยู่ร่วมได้

 

                   มาตรา ๗๖  ภริยามิได้ปฏิบัติหน้าที่ภริยาตามมาตรา ๖๒ สามีมีสิทธิไม่อยู่ร่วมกับภริยา

ตามกำหนดเวรแต่ละเวร จนกว่าเหตุมิต้องอยู่ร่วมนั้นสุดสิ้นลง แต่มิให้เว้นการพูดกับภริยาเกิน ๓ วัน

 

                   มาตรา ๗๗  สามีผู้มีภริยาหลายคนประสงค์จะนำภริยาคนใดไปทางไกล และการไป

มิใช่กิจจำเป็นของภริยานั้น ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาทุกฝ่าย ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้

ให้จับสลาก

                   ระหว่างเดินทาง หรือระหว่างพัก แต่สามีมิได้อยู่ร่วมกับภริยาด้วย มิให้คำนวณกำหนด

เวร ให้คำนวณกำหนดเวรขณะหยุดพักและสามีอยู่ร่วมกับภริยาด้วย

                   เมื่อสามีกลับบ้านแล้ว ให้อยู่ร่วมกับภริยาฝ่ายที่มิได้ไปด้วยชดเชยตามกำหนดเวลา

ที่อยู่ร่วมกับภริยาผู้ไปด้วย เว้นแต่ภริยาผู้มิได้ไปสละสิทธิของตนเสีย

                   ถ้าภริยาผู้มิได้ไปมีตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มิสามารถตกลงกำหนดเวรได้ให้จับสลาก

 

                   มาตรา ๗๘  สามีสมรสกับภริยาหลายคนในวันเดียวกัน ให้กำหนดเวรก่อนและหลัง

ตามลำดับที่ได้สมรส ณ บ้านภริยาคนใดก่อนและหลัง ถ้ามิได้สมรสที่บ้านภริยา การกำหนดเวร

ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาทุกฝ่าย ถ้ามิสามารถตกลงกันได้ให้จับสลาก

 

                   มาตรา ๗๙  การจับสลากตามมาตรา ๗๗ และ ๗๘ นั้น  ถ้าสามีเป็นผู้ทำสลากให้ภริยา

เป็นผู้จับ ถ้าภริยาเป็นผู้ทำสลาก ให้สามีเป็นผู้จับ

 

                   มาตรา ๘๐  ถ้าสามีละเมิดสิทธิภริยาตามมาตรา ๗๗ และ ๗๘ ให้สามีขอขมาโทษ

ต่อภริยาผู้ถูกสามีละเมิดสิทธินั้น

 

ลักษณะ ๓

การขาดจากการสมรส

                  

หมวด ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

                  

 

                   มาตรา ๘๑  คู่สมรสขาดจากการสมรสได้ โดย

                   () สามี หรือภริยาตาย

                   () พิธีตอละก์

                   () พิธีฟะซัค

                   () พิธีสาบาน หรือ

                   () ตัดร์ฟะซัค[36][๓๖]

                   .  กรณีเสพเมถุนนิรโทษ

                   .  กรณีดื่มน้ำนม หรือ

‏?.                                                                                          สามีหรือภริยาเป็นมุรตัด

 

หมวด ๒

พิธีตอละก์

                  

 

                   มาตรา ๘๒  ตอละก์ คือการคลายนิติสัมพันธ์สมรสของสามีอันขาดการสมรสจากภริยา

โดยพิธีตอละก์

 

                   มาตรา ๘๓  ตอละก์จะสมบูรณ์ ต่อเมื่อสามีผู้มิได้เสียสติเพราะเสพสุรายาเมาโดยมิได้

เจตนา ได้

                   () เปล่งวาจาตอละก์จากภริยาโดยตรง หรือโดยปริยายได้แก่อวัยวะหรือส่วนของ

ร่างกายภริยา เช่นมือหรือโลหิต เว้นแต่อวัยวะหรือส่วนของร่างกายที่หลุดขาดจากภริยาแล้ว หรือ

ส่วนของร่างกายที่ปฏิกูล เช่นอุจจาระ ถ้าเปล่งวาจาตอละก์

                   .  ชัดแจ้ง และทราบความหมายของคำตอละก์นั้น มิจำต้องเปล่งด้วยเจตนาตอละก์

                   .  มิชัดแจ้ง เช่นเคลือบคลุม หรือแกล้งพูดไม่ชัด จำต้องเปล่งด้วยเจตนาตอละก์

                   .  ลับหลังภริยา ต้องระบุนามภริยาที่ตอละก์ ถ้ามีภริยาตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป

                   .  ต่อหน้าภริยา ระบุสรรพยามภริยาก็ได้

                   () ทำหนังสือตอละก์ ต้องเขียนหรือพิมพ์ด้วยตนเอง แต่มิต้องลงลายมือชื่อ ถ้า

                   .  มีข้อความชัดแจ้งและทำโดยเจตนาตอละก์ มิจำต้องอ่านก็ใช้ได้

                   .  มีข้อความชัดแจ้งแต่ทำโดยมิได้เจตนาตอละก์หรือหนังสือนั้นมีข้อความมิชัดแจ้ง จำต้องอ่านออกเสียงด้วยเจตนาตอละก์จึงจะใช้ได้ หรือ

                   () แสดงอาณัติสัญญาณเป็นความหมายตอละก์ ถ้าเป็นใบ้ เมื่อ

                   . ประชาชนทราบความหมายแห่งอาณัติสัญญาณนั้น มิจำต้องแสดงด้วยเจตนาตอละก์

                   .  ผู้ที่ทราบความหมายแห่งอาณัติสัญญาณนั้นได้เฉพาะแต่ผู้ที่คุ้นเคยใกล้ชิดกับสามีใบ้

นั้น ต้องแสดงด้วยเจตนาตอละก์

 

                   มาตรา ๘๔  ตอละก์ เป็นเอกสิทธิของสามี สามีทรงสิทธิที่จะตอละก์ได้ฝ่ายเดียว มิจำต้อง

ได้รับความยินยอมจากภริยา เว้นแต่สามีตอละก์เพราะได้รับสินจ้างจากภริยาโดยตรง

 

                   มาตรา ๘๕  วลีมุจบิรก็ดี วลีอามก็ดี ซึ่งประกอบพิธีสมรสแทนชายผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

หรือวิกลจริตตามมาตรา ๔๑ และ ๔๗ ไม่มีสิทธิตอละก์แทนชายเหล่านั้น

 

                   มาตรา ๘๖  สามีมีสิทธิตอละก์ภริยาแต่ละคนได้ไม่เกินคนละ ๓ ตอละก์ เว้นแต่สามี

ผู้เป็นทาสมีสิทธิตอละก์ภริยาแต่ละคนได้ไม่เกินคนละ ๒ ตอละก์ในกรณีตอละก์ทุกกรณี

 

                   มาตรา ๘๗  การอนุมานจำนวนแห่งตอละก์

                   () สามีตอละก์แต่ละครั้ง ให้ถือเป็นครั้งละ ๑ ตอละก์

                   () สามีตอละก์ครั้งเดียว แต่ได้กำหนดจำนวนตอละก์โดยชัดแจ้ง ให้ถือเป็นจำนวน

ตอละก์ตามที่สามีกำหนดเว้นแต่สามีกำหนด

                   .  น้อยกว่า ๑ ตอละก์ ให้ถือเป็น ๑ ตอละก์

                   .  มากกว่า ๓ ตอละก์ ให้ถือเป็น ๓ ตอละก์

                   () ถ้าสามีมิได้กำหนดจำนวนตอละก์โดยชัดแจ้ง แต่ใช้ถ้อยคำอันแปลความหมายได้ว่า

สามีประสงค์จะกำหนดจำนวนตอละก์มากกว่า ๑ ตอละก์แล้ว ให้ถือเป็นจำนวนตอละก์ตามที่แปล

ความหมายได้เช่นนั้นดุจกัน

                   () สามีกำหนดจำนวนตอละก์โดยอาศัยเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใด เมื่อเงื่อนไขหรือ

เงื่อนเวลานั้นสำเร็จหรือถึงกำหนดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด แล้วแต่กรณี ให้ถือเป็นจำนวนตอละก์ตามที่สามี

กำหนด

                   แต่กรณีตาม () และ () นี้ ถ้าสามีมิได้เคยร่วมประเวณีกับภริยานั้น ให้ถือเป็น

๑ ตอละก์

                   () สามีมอบสิทธิให้ภริยาเปล่งวาจาตอละก์ตามมาตรา ๙๓ ให้ถือเป็นจำนวนตอละก์

ตามที่สามีกำหนด เว้นแต่ในกรณีดั่งต่อไปนี้ให้ถือเป็น ๑ ตอละก์ เมื่อสามี

                   .  มิได้กำหนดจำนวนตอละก์ ถ้าเจตนาในจำนวนไม่ตรงกันหรือมิได้เจตนาในจำนวน

ทั้ง ๒ ฝ่าย หรือเจตนาในจำนวนแต่ฝ่ายเดียว หรือ

                   .  กำหนดจำนวนตอละก์ แต่คำตอละก์ที่ภริยากล่าวระบุจำนวนมิตรงกับจำนวนที่สามี

กำหนด

                   () สามีมอบสิทธิให้ตัวแทนตอละก์ตามมาตรา ๙๔ ให้ถือเป็นจำนวนตอละก์ตามที่สามี

กำหนด ถ้า

                   .  สามีมิได้กำหนดจำนวนตอละก์ หรือตัวแทนตอละก์ต่ำกว่าจำนวนที่สามีกำหนด

ให้ถือเป็น ๑ ตอละก์

                   .  ตัวแทนตอละก์เกินจำนวนที่สามีกำหนด ให้ถือเป็นจำนวนตอละก์ตามที่สามีกำหนด

 

                   มาตรา ๘๘  ในระวางตอละก์ร็อจอี สามีมีสิทธิตอละก์เพิ่มได้จนกว่าจะครบ ๓ ตอละก์

 

                   มาตรา ๘๙  สามีตอละก์ภริยายังไม่ครบ ๓ ตอละก์ เมื่อกลับคืนดีกับภริยาโดยพิธี

รอยะอ์[37][๓๗] หรือพิธีสมรส มีสิทธิตอละก์ได้อีก ๑ หรือ ๒ ตอละก์ แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๙๐  สามีตอละก์ภริยาครบ ๓ ตอละก์แล้ว เมื่อกลับคืนดีกับภริยาโดยพิธีสมรส

ตามมาตรา ๙๑ () มีสิทธิตอละก์ได้ ๓ ตอละก์อีก

 

                   มาตรา ๙๑  ตอละก์ตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้เท่านั้นเป็นบาอิน ตอละก์นอกนั้น

เป็นร็อจอีทั้งสิ้น

                   () สามีมิได้เคยเสพเมถุนกับภริยา

                   () สามีตอละก์โดยรับสินจ้างจากภริยา หรือบุคคลภายนอก ตามมาตรา ๙๕ ถึง ๑๐๑

และ

                   () สามีตอละก์ภริยาครบ ๓ ตอละก์

                   สามีจะสมรสกับภริยาคู่หย่าครบ ๓ ตอละก์เช่นว่านี้ได้ต่อเมื่อภริยาคู่หย่านั้นได้ประกอบ

พิธีสมรสและร่วมประเวณีกับชายอื่นซึ่งมีความใคร่พอสมควร และพ้นเขตอิดดะห์ของสามีใหม่แล้ว

 

                   มาตรา ๙๒  นอกจากสามีตอละก์ด้วยตนเอง ตอละก์นั้นย่อมสำเร็จได้ โดย

                   () สามีมอบสิทธิให้ภริยาตอละก์

                   () สามีมอบสิทธิให้ตัวแทนตอละก์

                   () สามีหรือตัวแทนของสามี ตอละก์โดยได้รับสินจ้างจากภริยา หรือบุคคลภายนอก

แล้วแต่กรณี

                   () สามีผิดทัณฑ์บนตอละก์ที่ให้ภริยาไว้

                   () ภริยาละเมิดข้อกำหนดตอละก์ที่สามีกำหนดไว้

                   () เงื่อนไขตอละก์ที่สามีกำหนดไว้สำเร็จแล้ว

                   () เงื่อนเวลาที่สามีกำหนดตอละก์ไว้ถึงกำหนดเวลาเริ่มต้น หรือสุดสิ้น แล้วแต่กรณี

หรือ

                   () เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่สามีกำหนดตอละก์ไว้สำเร็จ หรือถึงกำหนดเวลาเริ่มต้น

หรือสุดสิ้นแล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๙๓  ในกรณีสามีมอบสิทธิให้ภริยาตอละก์ เป็นตอละก์ต่อเมื่อภริยาตอละก์ด้วย

เจตนาโดยพลัน ในการนี้สามีไม่มีสิทธิตั้งแต่งตัวแทนให้กระทำได้

                   การมอบสิทธิและการตอละก์เช่นว่านี้ แต่ละฝ่ายจะเลือกกระทำโดยวาจาหรือหนังสือก็ได้

                   สามีถอนการมอบสิทธิก่อนภริยาตอละก์ได้

 

                   มาตรา ๙๔  สามีจะตั้งแต่งตัวแทนตอละก์ได้แต่เฉพาะในการตอละก์ที่มิได้มีเงื่อนไข

เงื่อนเวลา หรือทัณฑ์บน

                   ถ้าสามีมอบสิทธิให้ตัวแทนเลือกตอละก์ได้สุดแล้วแต่ใจของตัวแทน ตอละก์ที่ตัวแทน

กระทำไปจะเป็นตอละก์ต่อเมื่อตัวแทนได้ตอละก์ โดยมิได้มีเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือทัณฑ์บน

 

                   มาตรา ๙๕  ในกรณีสามีตอละก์โดยได้รับสินจ้างจากภริยา หรือบุคคลภายนอก

พึงแบ่งแยกได้เป็น ๒ ตอน คือทำความตกลงในเรื่องสินจ้าง ๑ ทำพิธีตอละก์โดยได้รับสินจ้างดั่งได้ตกลง

นั้นอีก ๑ การเจรจาโต้ตอบในเรื่องสินจ้างมิเป็นมูลก่อให้เกิดเป็นตอละก์ การทำพิธีตอละก์โดยได้รับ

สินจ้างดั่งกล่าวนี้ นอกจากจะต้องกระทำอย่างเช่นตอละก์ธรรมดาแล้ว ยังต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ

ดั่งต่อไปนี้

                   () ต้องมีการเสนอและสนอง[38][๓๘] คำเสนอต้องไม่มีข้อความนอกเรื่องในท่ามกลาง

และเมื่อสุดสิ้นคำเสนอ และคำสนองต้องไม่มีข้อความนอกเรื่องในเบื้องต้นและท่ามกลางคำสนอง

                   การเสนอและสนองเช่นว่านี้ หรือการถอนคำเสนอ แต่ละฝ่ายจะเลือกกระทำโดยวาจา

หรือหนังสือก็ได้

                   () ต้องมีการระบุถึงสินจ้าง คือภริยา หรือบุคคลภายนอกเสนอให้สินจ้างแก่สามีเพื่อ

ตอละก์ และสามีได้ตอละก์หรือเสนอตอละก์เพื่อสินจ้างแก่ภริยา หรือบุคคลภายนอก และภริยา หรือ

บุคคลภายนอกสนองรับ แล้วแต่กรณี หากในการทำพิธีตอละก์มิได้ระบุถึงสินจ้างตอละก์นั้นเป็น

ตอละก์ร็อจอี

                   () สามีภริยาหรือบุคคลภายนอก มีสิทธิตั้งแต่งตัวแทนเสนอหรือสนองตอละก์

หรือสินจ้างได้ แล้วแต่กรณีภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙๘

                   () ภายใต้บังคับบทบัญญัติอนุมาตรา () แห่งมาตรานี้ และมาตรา ๙๘ สามีฝ่ายหนึ่ง

ภริยา หรือบุคคลภายนอกอีกฝ่ายหนึ่ง หรือตัวแทนของบุคคลเหล่านั้น เป็นผู้เสนอหรือสนองตอละก์

หรือสินจ้างได้ แล้วแต่กรณี ส่วนบุคคลภายนอกรวมทั้งตัวแทนจะเสนอหรือสนองได้ระหว่างตนกับสามี

หรือตัวแทนของสามีเท่านั้น

                   ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้เสนอสินจ้าง ในการเสนอครั้งหนึ่ง จะเสนอได้ต่อสามีของหญิง

คนหนึ่งคนใด โดยเฉพาะแต่ผู้เดียว หากสามีนั้นมีภริยาหลายคนต้องระบุนามหรือสรรพนามกิริยานั้น

โดยชัดแจ้งด้วย

                   () ตอละก์โดยมีสินจ้างนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อ

                   .  ถ้าคำเสนอ หรือคำสนองในเรื่องสินจ้างก็ดี ถ้อยคำที่ตอละก์ก็ดี มิชัดแจ้ง

ต้องประกอบด้วยเจตนาของผู้เสนอผู้สนองที่จะให้และรับสินจ้างนั้น หรือประกอบด้วยเจตนาตอละก์

ของสามีผู้ตอละก์ แล้วแต่กรณี ถ้ามีการตั้งแต่งตัวแทนให้ถือเจตนาของตัวการ

                   ในกรณีที่คำเสนอ หรือสนองเป็นหนังสือ ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๘๓ ()

มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                   .  คำสนองตอบในสินจ้างต้องตรงกับคำเสนอ เช่นมิได้เปลี่ยนแปลงประเภท

หรือจำนวน

                   .  หากสินจ้างนั้นเป็นหนี้หรือทรัพย์ที่ต้องด้วยเกณฑ์บริจาคทาน[39][๓๙] ต้องมิได้เสนอ

หรือสนองล้ำส่วนที่จะต้องบริจาคทาน

                   .  ในกรณีที่สามีเป็นผู้เสนอ ผู้เสนอต้องเป็นผู้ได้รับเสนอ

                   () สินจ้างนั้นรวมทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน คุณประโยชน์ และการรับรองชำระหนี้นั้น

แก่สามี หรือแทนสามี

                   () กรณีที่สามีไม่มีสิทธิเพิกถอนคำเสนอตามมาตรา ๑๐๑ () และมาตรา ๑๐๘ ()

การตกลงเปลี่ยนแปลงประเภทหรือจำนวนสินจ้างใหม่ ไม่เป็นเหตุกระทบประเภทหรือจำนวนสินจ้าง

ที่สามีเสนอไว้เดิม ถ้าภริยากลับถือเอาตามเดิม

                   () กรณีที่สามีกำหนดให้ชำระสินจ้างพร้อมกับคำสนองก็ดี ภริยาหรือบุคคลภายนอก

เสนอขอชำระสินจ้างโดยพลัน ถ้าสามีตอละก์ก็ดี ตอละก์จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ชำระสินจ้างพร้อมกับ

คำสนอง หรือชำระสินจ้างในขณะสามีตอละก์แล้วแต่กรณี

                   () ภริยาสนองจำนวนตอละก์มิตรงจำนวนที่สามีเสนอ ให้ถือเป็นจำนวนตอละก์

ตามที่สามีเสนอ

 

                   มาตรา ๙๖  ทรัพย์สินซึ่งภริยา บุคคลภายนอก หรือตัวแทนของบุคคลเหล่านั้นเสนอให้

สามีเพื่อเป็นสินจ้างในการตอละก์ก็ดี ทรัพย์สินซึ่งสามีเสนอขอเป็นสินจ้างในการตอละก์ก็ดี หาก

มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สินจ้างนั้นเป็นสินจ้างวิบัติ

                   () เป็นทรัพย์ห้ามยึดถือ[40][๔๐]

                   () เป็นทรัพย์สินซึ่งมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ที่จะชำระทรัพย์สินนั้น

                   () เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่มีอยู่เฉพาะหน้า หรือเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนจริง และ

มิสามารถจะอนุมานราคาของทรัพย์สินนั้นได้ เช่นหลอกลวงให้สามีตอละก์ด้วยทรัพย์ซึ่งอ้างว่าอยู่ในหีบ

แต่ความจริงในหีบนั้นไม่มีทรัพย์เลย

                   () เป็นทรัพย์ที่แบ่งออกเป็นชิ้นเป็นกองแล้ว เช่นหนังสือหลายเล่ม แต่ได้มีการตอละก์

ไปโดยยังมิได้กำหนดว่าสินจ้างจะเป็นทรัพย์ชิ้นใดกองใด

                   () เป็นทรัพย์ที่มีปริมาณไม่แน่นอน

 

                   มาตรา ๙๗  ตอละก์ใดซึ่งได้กระทำไปโดยสินจ้างวิบัติ ถ้า

                   () บุคคลภายนอก หรือตัวแทนบุคคลภายนอก เป็นผู้เสนอหรือสนองให้สินจ้างนั้น

ตอละก์นั้นเป็นตอละก์ร็อจอี

                   () ภริยา หรือตัวแทนภริยาเป็นผู้เสนอหรือสนองให้สินจ้างนั้น ตอละก์นั้นเป็นตอละก์

บาอิน เว้นแต่เป็นทรัพย์ห้ามยึดถือ และสามีรับไว้โดยมิได้เจตนาเอาทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ ตอละก์นั้น

เป็นตอละก์ร็อจอี

 

                   มาตรา ๙๘  ในกรณีตอละก์เพื่อสินจ้างนี้ หากฝ่ายสามีเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

ตอละก์นั้นเป็นตอละก์บาอิน หากภริยาก็ดี บุคคลภายนอกที่เสนอให้หรือสนองรับให้สินจ้างแก่สามีก็ดี

หรือทั้งสามีและภรรยาก็ดีเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ตอละก์นั้นเป็นตอละก์ร็อจอี แม้ผู้พิทักษ์หรือวลี

จะให้ความยินยอมก็ตาม หากสามีก็ดี ภริยาก็ดี หรือบุคคลภายนอกเช่นว่ามานี้ก็ดี เป็นทาส ตอละก์นั้น

เป็นตอละก์บาอิน

                   ผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือทาสอาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของสามี ภริยา

หรือบุคคลภายนอกให้เป็นผู้เสนอหรือสนองสินจ้างในการตอละก์ได้ แต่เฉพาะในกรณีที่ผู้เสมือน

ไร้ความสามารถเป็นตัวแทน ถ้า

                   () ภริยา หรือบุคคลภายนอกได้มอบสังหาริมทรัพย์แก่ตัวแทนนั้นเพื่อนำไปชำระ

แก่สามีด้วย ตอละก์นั้นเป็นตอละก์ร็อจอี

                   () ภริยาหรือบุคคลภายนอกมิได้มอบสังหาริมทรัพย์แก่ตัวแทนเพื่อนำไปชำระแก่สามี

ตอละก์นั้นเป็นตอละก์บาอิน

 

                   มาตรา ๙๙  ในกรณีที่ตอละก์เป็นตอละก์ร็อจอี สามีไม่มีสิทธิในสินจ้าง แต่ถ้าตอละก์เป็น

ตอละก์บาอิน สามีมีสิทธิในสินจ้าง ถ้าสินจ้างนั้นเป็นสินจ้างวิบัติ สามีมีสิทธิบอกปัดและเรียกค่าทดแทน

จากภริยาหรือบุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าของสินจ้างนั้นได้ ถ้าได้รับสินจ้างนั้นไปแล้วจะเรียกค่าทดแทนได้

ต่อเมื่อได้คืนสินจ้างวิบัติ หรือชำระราคาสินจ้างวิบัติ ถ้ามิสามารถคืนสินจ้างวิบัตินั้นได้

                   การกำหนดค่าทดแทน เพื่อใช้แทนสินจ้างวิบัติ ให้ศาลกำหนดตามควรแก่ฐานันดรศักดิ์

โดยกำเนิดของภริยา หรือตามรูปร่างของภริยา แล้วแต่ความนิยมของท้องถิ่น ประกอบด้วยอายุ

สติปัญญา ธนสมบัติ และความเป็นพรหมจารีของภริยา ตลอดถึงพฤติการณ์ในขณะสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้น

 

                   มาตรา ๑๐๐  ภริยา บุคคลภายนอก หรือตัวแทนของบุคคลเหล่านั้น เสนอสินจ้างตาม

มาตรา ๙๕ ถึง ๙๙ เพื่อตอละก์ต่อสามี หรือตัวแทนของสามี ผู้อยู่เฉพาะหน้าหรืออยู่ห่าง โดยหนังสือ

โทรศัพท์ หรือวิทยุโทรทัศน์ ไม่ว่าคำเสนอจะประกอบด้วยเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือไม่ก็ตาม เป็นตอละก์

บาอินต่อเมื่อสามีหรือตัวแทนของสามีได้สนองรับโดยพลัน

                   การสนองรับเช่นว่านี้ สามีหรือตัวแทนของสามีจะสนองรับก็ได้ เว้นแต่ผู้เสนอได้เจาะจง

ตัวให้ผู้ใดผู้หนึ่งสนอง ผู้นั้นผู้เดียวมีสิทธิสนอง

                   ผู้เสนอเพิกถอนคำเสนอก่อนอีกฝ่ายหนึ่งสนองรับได้

                   การเสนอและสนองโดยประการอื่นนอกจากนี้ เช่นฝ่ายผู้ได้รับคำเสนอได้สนองรับ

เนิ่นช้าไป ผู้สนองมิใช่ตัวผู้รับคำเสนอซึ่งผู้เสนอได้เจาะจงตัว ฝ่ายเสนอได้เสนอโดยโทรเลข วิทยุโทรเลข

หรือวิทยุโทรภาพ ฝ่ายเสนอได้เพิกถอนคำเสนอก่อนมีคำสนองรับ หรือคำเสนอและหรือคำสนอง

มิได้เป็นไปตามความในบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙๕ () เมื่อสามี หรือตัวแทนสามีได้สนองด้วยการ

ตอละก์ตามมาตรา ๘๓ แล้ว ตอละก์นั้นเป็นตอละก์ร็อจอี

                   ถ้าฝ่ายเสนอเป็นเจ้าหนี้ของสามีได้เสนอหนี้นั้นเป็นสินจ้างโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลา

ตอละก์นั้นเป็นตอละก์ร็อจอีเสมอ จะเป็นตอละก์บาอินได้ต่อเมื่อได้เสนอโดยมิได้มีเงื่อนไข หรือ

เงื่อนเวลา

 

                   มาตรา ๑๐๑  สามีเสนอตอละก์เพื่อสินจ้างตามมาตรา ๙๕ ถึง ๙๙ ต่อภริยา บุคคล

ภายนอก หรือตัวแทนของบุคคลเหล่านั้น ซึ่งอยู่เฉพาะหน้าหรืออยู่ห่าง โดยโทรศัพท์ วิทยุโทรศัพท์

หรือหนังสือ ถ้าเสนอโดย

                   () ไม่มีคำว่า เมื่อหรือคำอื่นอันมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า เมื่อ” (อาปากาลา

หรือมานากาลา) แทรกอยู่ในคำเสนอไม่ว่าที่ใด ตอละก์นั้นเป็น

                   .  บาอิน เมื่อฝ่ายสนองได้สนองรับโดยพลัน ในขณะสุดสิ้นคำเสนอ หรือเมื่อรับหนังสือ

                   .  โมฆะ  เมื่อฝ่ายสนองได้สนองรับเนิ่นช้าไป

                   () โดยบ่งระยะเวลา หรือกำหนดวันเวลาให้ทำคำสนอง ตอละก์นั้น

                   .  เป็นบาอิน เมื่อฝ่ายสนองได้สนองรับ หรือคำสนองมาถึง ภายในเวลาหรือตรง

วันเวลาที่สามีกำหนดไว้นั้น

                   .  ไม่สมบูรณ์ ถ้าฝ่ายสนองได้สนองรับ หรือคำสนองมาถึงไม่ตรงวันเวลาที่สามีกำหนด

ไว้ หากถึงก่อนกำหนดวันเวลาที่สามีกำหนด คำเสนอนั้นมิสิ้นความผูกพันฝ่ายสนองจะสนองรับ

เมื่อถึงกำหนดวันเวลานั้นอีกก็ได้

                   ถ้าฝ่ายสนองมิได้สนองรับภายในกำหนดวันเวลานั้น คำเสนอนั้นสุดสิ้นลง

                   () โดยให้สิทธิที่จะเลือกตอบได้ทุกเมื่อ ฝ่ายสนองได้สนองรับ หรือคำสนองมาถึงเมื่อใด

ตอละก์นั้นเป็นบาอินเมื่อนั้น

                   หากคำเสนอมีคำว่า ถ้าหรือ เมื่อหรือคำอื่นอันมีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า ถ้า

หรือ เมื่อฝ่ายเสนอไม่มีสิทธิเพิกถอนคำเสนอนั้น

                   คำเสนอหรือคำสนองในกรณีเช่นว่านี้ ถ้ามีข้อความนอกเรื่องแทรกในท่ามกลางคำเสนอ

หรือคำสนองนั้น แล้วแต่กรณี คำเสนอหรือคำสนองนั้นเป็นโมฆะ

 

                   มาตรา ๑๐๒  ในกรณีสามีให้ทัณฑ์บนใดเป็นเงื่อนไขตอละก์ต่อภริยา ในเมื่อสามี

ผิดทัณฑ์บนนั้น ถ้าสามีกำหนดการผิดทัณฑ์บน

                   () โดยพลัน เป็นตอละก์เมื่อสามีผิดทัณฑ์บนนั้นโดยพลัน

                   () โดยบ่งระยะเวลา หรือกำหนดวันเวลาเป็นตอละก์เมื่อสามีผิดทัณฑ์บนนั้นภายใน

เวลา หรือตรงวันเวลานั้น แล้วแต่กรณี

                   () โดยมิได้บ่งระยะเวลา หรือกำหนดวันเวลาเมื่อสามีผิดทัณฑ์บนนั้นเมื่อใดเป็นตอละก์

เมื่อนั้น

 

                   มาตรา ๑๐๓  ในกรณีสามีออกข้อกำหนดใดเป็นเงื่อนไขตอละก์แก่ภริยา ในเมื่อภริยา

ละเมิดข้อกำหนดนั้นโดยเจตนา ถ้าสามีกำหนดการละเมิด

                   () โดยพลัน เป็นตอละก์เมื่อภริยาละเมิดข้อกำหนดนั้นโดยพลัน

                   () โดยบ่งระยะเวลา หรือกำหนดวันเวลาเป็นตอละก์เมื่อภริยาละเมิดข้อกำหนดภายใน

เวลา หรือตรงวันเวลานั้น แล้วแต่กรณี

                   () โดยมิได้บ่งระยะเวลา หรือกำหนดวันเวลาเมื่อภริยาละเมิดข้อกำหนดนั้นเมื่อใด

เป็นตอละก์เมื่อนั้น

 

                   มาตรา ๑๐๔  ถ้าเงื่อนไขที่สามีกำหนดในการตอละก์ เป็นการพ้นความสามารถของ

ภริยาที่จะปฏิบัติได้ก็ดี เป็นการผิดศีลธรรม ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือขัดต่ออิสลาม

บัญญัติก็ดี การที่ภริยามิปฏิบัติตามเงื่อนไข หาทำให้ตอละก์นั้นเป็นผลไม่

                   หากเงื่อนไขที่สามีกำหนดในการตอละก์อยู่ในความสามารถของภริยาจะปฏิบัติได้

แต่มีเหตุสุดวิสัยมาขัดขวาง ภริยาจึ่งมิสามารถจะปฏิบัติได้ ตอละก์นั้นก็มิบังเกิดผลเช่นเดียวกัน แต่ถ้า

การที่ภริยามิสามารถปฏิบัติเช่นนี้ เกิดขึ้นโดยการกระทำของภริยาเองก็ดี เกิดขึ้นโดยความประมาท

หรือความนิ่งนอนใจของภริยา มิรีบปฏิบัติในเมื่อมีโอกาสจะปฏิบัติได้ก็ดี แม้การที่ภริยามิสามารถปฏิบัติ

จะเป็นโดยการกระทำของสามีเองก็ตาม ความมิสามารถปฏิบัตินั้นหาทำให้ตอละก์เสียผลไม่

 

                   มาตรา ๑๐๕  ในกรณีสามีกำหนดเงื่อนไขใดเป็นตอละก์แก่ภริยา ให้ถือเป็นตอละก์

เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว

 

                   มาตรา ๑๐๖  ในกรณีสามีกำหนดเงื่อนไขเวลาใดเป็นตอละก์แก่ภริยา ให้ถือเป็นตอละก์

เมื่อถึงกำหนดเริ่มต้นหรือสุดสิ้นแห่งเงื่อนเวลานั้น แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๑๐๗  ในกรณีสามีกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาใดเป็นตอละก์แก่ภริยา

ให้ถือเป็นตอละก์เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว หรือถึงกำหนดเริ่มต้นหรือสุดสิ้นแห่งเงื่อนเวลานั้น

แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๑๐๘  ในกรณีที่สามีให้ทัณฑ์บน ออกข้อกำหนด กำหนดเงื่อนไข หรือกำหนด

เงื่อนเวลา เป็นตอละก์แล้วแต่กรณี ตามความในมาตรา ๑๐๒ ถึง ๑๐๗

                   () สามีมีสิทธิให้ทัณฑ์บน ออกข้อกำหนด กำหนดเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาเพื่อตอละก์

แต่ลำพังฝ่ายเดียวโดยภริยามิได้รู้เห็นด้วยก็ได้

                   () สามีหรือภริยาไม่มีสิทธิเพิกถอนหรือระงับทัณฑ์บน หรือกำหนดตอละก์นั้น

                   () ถ้าตอละก์สำเร็จ โดย

                   .  เป็นไปตามทัณฑ์บนหรือกำหนดตอละก์นั้น ทัณฑ์บนหรือกำหนดตอละก์นั้น

เป็นอันระงับไปมิผูกพันสามีภริยา ถ้าสามีกลับคืนดีกับภริยานั้นโดยพิธีรอยะอ์

                   .  เหตุอื่น และมิใช่ตอละก์บาอิน ทัณฑ์บน หรือกำหนดตอละก์นั้นย่อมผูกพันสามี

หรือภริยาอยู่ตามเดิม ถ้าสามีกลับคืนดีกับภริยานั้นโดยพิธีรอยะอ์

 

                   มาตรา ๑๐๙  ในกรณีสามีสงสัยว่า

                   () จำนวนตอละก์มากหรือน้อย หรือ

                   () ตอละก์หรือไม่

                   ให้ถือว่าเป็นจำนวนตอละก์น้อย หรือมิได้ตอละก์แล้วแต่กรณี

 

หมวด ๓

พิธีฟะซัค

                  

 

                   มาตรา ๑๑๐  ฟะซัค คือการทำลายนิติสัมพันธ์สมรสซึ่งสามีหรือภริยาจำต้องดำเนินเป็น

คดีเพื่อขาดจากการสมรส โดยพิธีฟะซัค

 

                   มาตรา ๑๑๑  คดีฟ้องฟะซัคนั้น ถ้า

                   () สามี หรือภริยาวิกลจริต เป็นโรคผิวหนัง ด่างขาวเป็นส่วนมาก หรือเป็นโรคเรื้อน

ก่อนหรือภายหลังสมรสก็ตาม อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องฟะซัคได้

                   () สามีมีอวัยวะส่วนสืบพันธุ์เกินขนาดที่ภริยาจะรับการร่วมประเวณีได้ ภริยาฟ้อง

ฟะซัคได้

                   () สามีซึ่งบรรลุนิติภาวะและไม่วิกลจริตมีอวัยวะส่วนสืบพันธุ์พิการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ดั่งต่อไปนี้

                   . อ่อนแอ หรือเป็นโรคไส้เลื่อนจนมิสามารถร่วมประเวณีได้ ภริยาฟ้องฟะซัคได้ต่อเมื่อ

มิได้เคยร่วมประเวณีกับสามี ภายในบังคับบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้

                   . เมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงได้ตามฟ้องของภริยา ให้พิพากษาว่าอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของ

สามีพิการ แต่จะกระทำพิธีฟะซัคให้ได้ต่อเมื่อภริยาอยู่ร่วมกับสามีตามเดิมอีก ๑ ปี หลังจากฟัง

คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว

                   . เมื่อได้อยู่ร่วมกับสามีครบ ๑ ปีแล้ว ภริยาขอให้ทำพิธีฟะซัคได้ทุกเมื่อ เว้นแต่ภายใน

กำหนดระยะเวลา ๑ ปี นับแต่วันอยู่ร่วมนั้น หรือหลังจาก ๑ ปีแต่ภริยายังมิได้ขอให้ทำพิธีฟะซัค สามีได้

ร่วมประเวณีกับภริยา ภริยาไม่มีสิทธิที่จะขอทำพิธีฟะซัคเพราะเหตุนี้ได้ต่อไป นอกจากจะได้ขาดจาก

การสมรสเพราะเหตุอื่นก่อนแล้วกลับคืนดีกันใหม่ ภริยาจึ่งฟ้องใหม่ได้

                   ถ้าภริยามิยินยอมอยู่ร่วมกับสามีก็ดี หรือสามีมิสามารถร่วมประเวณีเพราะเหตุภริยาป่วย

หรือมิยินยอมก็ดี มิให้คำนวณระยะเวลาระหว่างนั้นเข้าในกำหนดระยะเวลา ๑ ปี

                   . ขาดจนมิสามารถร่วมประเวณีได้ จะเป็นโดยภริยาแกล้งทำให้ขาดก็ดี ภริยาฟ้อง

ฟะซัคได้ แม้จะได้เคยร่วมประเวณีกับสามีแล้ว

                   () อวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของภริยามีเนื้อหรือกระดูกงอก หรือมดลูกเคลื่อน ปิดช่องคลอด

จนมิสามารถร่วมประเวณีได้ สามีฟ้องฟะซัคได้

                   เหตุที่จะฟ้องฟะซัคตามมาตรานี้ ถ้าฝ่ายที่จะฟ้องร้องได้ทราบก่อนสมรส สิทธิที่จะ

ฟ้องร้องนั้นย่อมระงับไป

 

                   มาตรา ๑๑๒  ในกรณีพิพาทเกี่ยวกับอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของสามีพิการ นอกจากสามีรับ

ตามข้อกล่าวหา ให้ศาลดำเนินการพิจารณาตามบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้

                   () ให้ภริยานำสืบ

                   . พยานบุคคลซึ่งได้ยินสามีกล่าวว่าอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของสามีพิการ หรือพยานบุคคล

ซึ่งเคยเห็นอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ที่ขาด หรือเป็นโรคไส้เลื่อนเช่นว่านั้น  ห้ามมิให้นำพยานบุคคลซึ่งเห็น

อวัยวะส่วนสืบพันธุ์อันอ่อนแอนั้นมาสืบ หรือ

                   . พยานเอกสารซึ่งสามีทำขึ้นแสดงว่าอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของสามีพิการโดยชัดแจ้ง

                   () ถ้าพยานภริยาฟังได้ ห้ามมิให้สามีนำสืบพยาน หรือสาบานตนเพื่อหักล้างพยาน

ภริยา

                   () ถ้าพยานภริยาฟังมิได้ เมื่อสามียินยอมสาบานรับรองคำปฏิเสธ ให้ฟังตามคำปฏิเสธ

ของสามี

                   () ถ้าสามีมิยินยอมสาบานรับรองคำปฏิเสธ เมื่อภริยายินยอมสาบานรับรองข้อกล่าวหา

ให้ฟังตามข้อกล่าวหาของภริยา

                   () ถ้าภริยามิยินยอมสาบานรับรองข้อกล่าวหา ให้ยกข้อกล่าวหาของภริยา

 

                   มาตรา ๑๑๓  ในกรณีพิพาทเกี่ยวกับอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของภริยาพิการ นอกจากภริยา

รับตามข้อกล่าวหา ให้ศาลดำเนินการพิจารณาตามบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้

                   () ให้สามีนำสืบ

                   . พยานบุคคลซึ่งเห็นอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของภริยาพิการ หรือได้ยินภริยากล่าวว่า

อวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของภริยาพิการ หรือ

                   . พยานเอกสารซึ่งภริยาทำขึ้นแสดงว่าอวัยวะส่วนสืบพันธุ์ของภริยาพิการโดยชัดแจ้ง

                   () ถ้าพยานสามีฟังได้ ห้ามมิให้ภริยานำสืบพยานเพื่อหักล้างพยานสามี

                    () ถ้าพยานสามีฟังมิได้ ให้ยกข้อกล่าวหาของสามี

                   () กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้คู่กรณีสาบาน

 

                   มาตรา ๑๑๔  คดีฟ้องฟะซัคนั้น อีกฝ่ายหนึ่งทราบเมื่อใดให้ฟ้องทันที เว้นแต่มีเหตุ

จำเป็น หรือมิทราบว่ามีบทบัญญัติบังคับให้ฟ้องทันที

 

                   มาตรา ๑๑๕  สามีไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระ อีซีกาห์เว็น หรือค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือมี

ทรัพย์สินแต่อยู่ห่างไกลหมดความสามารถที่ภริยาจะเอาชำระจากทรัพย์สินนั้นได้ ภริยาฟ้องฟะซัคได้

ภายในบังคับบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้

                   () สามีค้างชำระอีซีกาห์เว็นตามความในมาตรา ๑๓๕ () หรือสามีผิดนัดไม่ชำระ

คุณประโยชน์ซึ่งตกลงเป็นอีซีกาห์เว็นแก่ภริยา ภริยาฟ้องฟะซัคได้ต่อเมื่อมิได้เคยร่วมประเวณีกับสามี

โดยความสมัครใจของภริยา

                   () สามีไม่อุปการะเลี้ยงดูภริยาเฉพาะด้วยโภชนาหาร เครื่องนุ่งห่ม หรือเคหะสถาน

ตามความในมาตรา ๖๓ () () และ ()

                   . สำหรับหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ก่อนวันมีคำพิพากษาในคดีที่ภริยาฟ้องขอฟะซัคนี้ ภริยา

มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้นั้นแต่สถานเดียว จะขอให้ศาลทำพิธีฟะซัคเพราะหนี้นั้นมิได้

                   . ตั้งแต่วันมีคำพิพากษาบังคับให้สามีชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภริยาต่อไปหลังจาก

พิพากษาเป็นอัตรารายวัน ถ้าสามีไม่ชำระหนี้นั้นครบ ๓ วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาเป็นต้นไป ภริยาจึ่ง

จะขอให้ศาลทำพิธีฟะซัคให้ได้ เว้นแต่ในระหว่าง ๓ วัน หรือก่อนทำพิธีฟะซัคสามีหรือบิดาหรือปู่ของ

สามีในกรณีที่สามียังไม่บรรลุนิติภาวะ วิกลจริต หรือเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ แล้วแต่กรณี ได้ชำระ

ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภริยาตามอัตรารายวันแต่บางส่วน หรือเสร็จสิ้น ให้คำนวณวันที่สามีค้างชำระใหม่

ถ้าวันที่สามีค้างชำระมีจำนวน หรือครบกำหนด ๓ วันแล้วแต่กรณี ภริยามีสิทธิขอให้ศาลทำพิธีฟะซัคได้

                   () ถ้าสามีสูญไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ไม่ปรากฏว่ามีชีวิตอยู่หรือตาย แต่ยังมิได้มี

คำสั่งของศาลแสดงว่าสามีนั้นตาย หรือสามีอยู่ห่างไกล ภริยาฟ้องฟะซัคได้ต่อเมื่อ

                   . ภริยานั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว

                   . เป็นผู้บริสุทธิ์ ซื่อสัตย์สุจริต และเคารพต่อสามี ตามความในมาตรา ๖๒ () . และ

                   . มิสามารถเอาชำระหนี้ ตามความใน () หรือ () จากทรัพย์สินของสามีได้

                   () ในกรณีที่สามีบรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่วิกลจริต สามีจะสูญไปจากภูมิลำเนาหรือ

ถิ่นที่อยู่หรือไม่ก็ตาม ถ้าภริยายินยอมรับค่าอุปการะเลี้ยงดูตามความในมาตรา ๖๓ () () และ () จาก

บิดา หรือปู่ของสามี ซึ่งชำระหนี้แทนสามี ภริยาฟ้องฟะซัคมิได้

 

                   มาตรา ๑๑๖  ให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้กล่าวนำถ้อยคำฟะซัคแก่ภริยา หรือ

ดะโต๊ะยุติธรรมจะอนุญาตให้ภริยากล่าวฟะซัคเองก็ได้

 

                   มาตรา ๑๑๗  ในกรณีที่สามีภริยาขาดจากการสมรสโดยพิธีฟะซัคนั้น เป็นบาอินซึ่ง

กลับคืนดีกันได้โดยพิธีสมรส

 

 

 

 

 

หมวด ๔

พิธีสาบาน

                  

 

                   มาตรา ๑๑๘  ในกรณีที่สามีกล่าวหาว่าทารกในครรภ์ภริยา หรือบุตรที่เกิดแต่ภริยานั้น

มิเลือกว่าจะมีอายุมากน้อยเพียงใด และมิเลือกว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว เป็นบุตรของชายชู้มิใช่บุตร

ของตน ให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้

                   () บรรดาบุตรซึ่งต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นบุตรตามมาตรา ๑๖๗ นั้น ไม่อยู่ในบังคับ

บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ ห้ามมิให้สามีดำเนินคดีตามความในหมวดนี้

                   () ห้ามมิให้สามีระบุว่าชายชู้นั้นเป็นผู้ใด

                   () ให้ดะโต๊ะยุติธรรมกล่าวนำสามีสาบาน ห้ามมิให้สามีกล่าวคำสาบานเอง

                   () คำสาบานนั้น ให้สามี

                    . ระบุนามพระอัลเลาะห์ยืนยันว่า ตามที่ตนกล่าวหาว่าทารกในครรภ์ภริยา หรือที่เกิด

มานั้นเป็นบุตรชายชู้มิใช่บุตรของตน เป็นความสัตย์จริง ให้กล่าวความข้อนี้ ๔ ครั้ง

                   . สบถว่า ตามที่ตนกล่าวหาเช่นนั้นถ้าเป็นความเท็จขอให้พระอัลเลาะห์สาปตน

ให้กล่าวความข้อนี้ ๑ ครั้ง และ

                   . กล่าวคำสาบานในวรรค ก. และ ข. ติดต่อกันโดยพลัน

                   () คดีฟ้องปฏิเสธบุตรตามบทบัญญัติในมาตรานี้ สามีทราบเมื่อใดให้ฟ้องทันที เว้นแต่

มีเหตุจำเป็นหรือมิทราบว่ามีบทบัญญัติบังคับให้ฟ้องทันที

 

                   มาตรา ๑๑๙  เมื่อสามีสาบานแล้ว

                   () ให้สามีภริยาขาดจากการสมรสตั้งแต่สิ้นคำสาบานของสามี

                   () ห้ามมิให้ถือว่าทารกหรือบุตรที่เกิดแต่ภริยานั้นสืบสายโลหิตจากสามี

 

                   มาตรา ๑๒๐  ในกรณีสามีสาบานตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๑๘ นั้น ถ้า

                   () ภริยาสาบานปฏิเสธคำกล่าวหาของสามีได้ ภริยามิต้องรับผิดในค่าทดแทน

                   () ภริยามิยินยอมสาบานตามความใน () ภริยาต้องรับผิดในค่าทดแทน

                   กำหนดค่าทดแทนนั้น ให้อนุโลมตามปริมาณค่าทดแทนในกรณีที่ภริยากระทำชู้

 

                   มาตรา ๑๒๑  ในกรณีสามีภริยาขาดจากการสมรสโดยพิธีสาบานนั้น เป็นบาอินและเป็น

การขาดกันโดยเด็ดขาด ห้ามมิให้กลับเป็นสามีภริยากันอีกจนตลอดชีวิต

 

 

 

หมวด ๕

ตัดร์ฟะซัค

                  

 

                   มาตรา ๑๒๒  ตัดร์ฟะซัค คือการทำลายแห่งนิติสัมพันธ์สมรสระหว่างสามีภริยา

โดยมิได้ประกอบด้วยเจตนาเพื่อขาดจากการสมรส

 

                   มาตรา ๑๒๓  ชายเสพเมถุนนิรโทษกับหญิง ให้ถือว่าสามีภริยาขาดจากการสมรสตาม

บทบัญญัติดังต่อไปนี้ ถ้าชายเสพเมถุนกับ

                   () มารดาของภริยาใด สามีขาดการสมรสจากภริยานั้น

                   () บุตรหญิงที่เกิดแต่ชายอื่นของภริยาใด สามีขาดการสมรสจากภริยานั้น

                   () ภริยาใดของบิดา เว้นแต่มารดาของชายนั้นเอง บิดาขาดการสมรสจากภริยานั้น

                   () ภริยาของบุตรชายใด บุตรชายนั้นขาดการสมรสจากภริยานั้น

 

                   มาตรา ๑๒๔  สามีหรือภริยาซึ่งมีอายุไม่ถึง ๒ ปีบริบูรณ์ ดื่มน้ำนมตามความใน

มาตรา ๕๑ ของญาติอีกฝ่ายหนึ่ง ตามความในมาตรา ๔๙ () และ () โดยอนุโลมเมื่อใด ให้ถือว่าสามี

ภริยานั้นขาดจากการสมรสเมื่อนั้น

 

                   มาตรา ๑๒๕  ในกรณีที่สามีมีภริยาหลายคน ภริยาผู้หนึ่งดื่มน้ำนมตามความใน

มาตรา ๕๑ ของภริยาอีกผู้หนึ่ง ให้ถือว่าทั้งภริยาผู้ให้ดื่มและผู้ดื่มน้ำนมขาดการสมรสจากสามี

                   ถ้าภริยาผู้ให้ดื่มน้ำนมมิได้เคยเสพเมถุน และน้ำนมที่ภริยาผู้หนึ่งดื่มนั้นมิใช่เป็นน้ำนม

ซึ่งเกิดแต่ภริยาผู้ให้ดื่มมีบุตรกับสามีนั้นแล้ว  สามีและภริยาผู้ดื่มน้ำนมนั้นมีสิทธิสมรสกันได้อีก

 

                   มาตรา ๑๒๖  สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นมุรตัดเมื่อใด ให้ถือว่าสามีภริยานั้นขาด

การสมรสเมื่อนั้น

 

                   มาตรา ๑๒๗  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๒๕ วรรคหลัง  ในกรณีที่สามีภริยา

ขาดจากการสมรสตามความในมาตรา ๑๒๓ ๑๒๔ และ ๑๒๕ วรรคแรกนั้นเป็นบาอินและเป็นการ

ขาดกันโดยเด็ดขาด ห้ามมิให้กลับเป็นสามีภริยากันอีกจนตลอดชีวิต

 

                   มาตรา ๑๒๘  สามีภริยาซึ่งขาดจากการสมรสตามความในมาตรา ๑๒๖ เมื่อฝ่ายที่เป็น

มุรตัดกลับเป็นอิสลามศาสนิกแล้ว ถ้าสามีภริยาคู่นั้น

                   () เคยเสพเมถุนกันแล้ว เมื่อฝ่ายที่เป็นมุรตัดกลับเป็นอิสลามศาสนิกภายในเขตอิดดะห์

เมื่อใด ให้ถือว่ากลับเป็นสามีภริยากันอีกเมื่อนั้น โดยสามีมิต้องรอยะอ์ และมิเลือกว่าสามีภริยาคู่นั้นจะ

สมัครใจเป็นสามีภริยากันอีกหรือไม่

                   () มิได้เคยเสพเมถุนกันเลย หรือฝ่ายที่เป็นมุรตัดกลับเป็นอิสลามศาสนิกเมื่อพ้นเขต

อิดดะห์แล้ว ให้กลับคืนดีกันได้แต่โดยพิธีสมรส

 

ลักษณะ ๔

พันธกรณีเนื่องแต่การร่วมประเวณี การสมรส

หรือการขาดจากการสมรส

                  

หมวด ๑

อีซีกาห์เว็น

                  

 

                   มาตรา ๑๒๙  อีซีกาห์เว็น คือทรัพย์สิน หรือคุณประโยชน์ซึ่งชายมีหน้าที่ชำระ

หรือบำเพ็ญตอบแทนแก่หญิงเนื่องแต่การสมรส หรือการที่หญิงร่วมประเวณีกับชาย ตามความใน

บทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๓๙

 

                   มาตรา ๑๓๐  ถ้าอีซีกาห์เว็น เป็นทรัพย์ซึ่งต้องด้วยลักษณะสินจ้างวิบัติดั่งที่บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๙๖  อีซีกาห์เว็นนั้นเป็นโมฆะ

                   ถ้าอีซีกาห์เว็นเป็นโมฆะบ้าง มิได้เป็นโมฆะบ้างระคนกันอยู่ หญิงจะเลือกรับเฉพาะ

อีซีกาห์เว็นที่มิได้เป็นโมฆะไว้ นอกนั้นบอกปัดเสียหรือบอกปัดเสียทั้งหมดก็ได้ หญิงมีสิทธิเรียกร้อง

อีซีกาห์เว็น หรือค่าทดแทนอีซีกาห์เว็นที่ตนบอกปัดนั้น

 

                   มาตรา ๑๓๑  อีซีกาห์เว็นเสียหายก่อนหญิงรับมอบและความเสียหายนั้นมิได้เกิดแต่

หญิง ให้นำบทบัญญัติวรรคหลังแห่งมาตรา ๑๓๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

                   มาตรา ๑๓๒  ห้ามมิให้วลีใช้สิทธิ[41][๔๑] หรือจำหน่ายสิทธิ[42][๔๒] เกี่ยวกับอีซีกาห์เว็นโดยมิได้

รับความยินยอมจากหญิง เว้นแต่หญิงยังไม่บรรลุนิติภาวะ วิกลจริต หรือเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

 

                   มาตรา ๑๓๓  ในกรณีหญิงยังไม่บรรลุนิติภาวะ วิกลจริต หรือเป็นผู้เสมือนไร้

ความสามารถ วลีใช้สิทธิหรือจำหน่ายสิทธิเกี่ยวกับอีซีกาห์เว็นต่ำกว่าปริมาณอันสมควร เมื่อหญิงนั้น

บรรลุนิติภาวะ หรือเหตุอันทำให้วิกลจริต หรือเสมือนไร้ความสามารถสุดสิ้นลง หญิงนั้นเรียกร้อง

อีซีกาห์เว็นจากชายเพิ่มขึ้นได้อีก

 

                   มาตรา ๑๓๔  ชายไม่มีสิทธิขอลดปริมาณอีซีกาห์เว็นซึ่งได้ตกลงแล้ว เว้นแต่ขณะสมรส

ชายยังไม่บรรลุนิติภาวะ วิกลจริต หรือเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ วลีฝ่ายชายได้ตกลงอีซีกาห์เว็นสูง

กว่าปริมาณอันสมควร เมื่อชายนั้นบรรลุนิติภาวะ หรือเหตุอันทำให้วิกลจริต หรือเสมือนไร้ความสามารถ

สุดสิ้นลง ชายนั้นมีสิทธิขอลด หรือเรียกคืนอีซีกาห์เว็นที่สูงกว่าปริมาณอันสมควรนั้นจากหญิงได้

ถ้าอีซีกาห์เว็นนั้นเป็นทรัพย์สินของชายนั้น

 

                   มาตรา ๑๓๕  ก่อนหรือในขณะกระทำพิธีสมรสภริยาสละสิทธิ[43][๔๓] ในอีซีกาห์เว็น

เมื่อสมรสแล้ว ถ้า

                   () ภริยานั้นได้ร่วมประเวณีกับสามีแล้ว หรือสามีหรือภริยาตายก่อนร่วมประเวณี

ภริยา หรือทายาทของภริยาแล้วแต่กรณี มีสิทธิเรียกร้องอีซีกาห์เว็นจากสามี หรือจากทายาทผู้รับทรัพย์

มรดกของสามีได้

                   () ภริยายังมิได้ร่วมประเวณีกับสามี ภริยาไม่มีสิทธิเรียกร้องอีซีกาห์เว็น เว้นแต่จะได้มี

กำหนดปริมาณอีซีกาห์เว็นโดยตกลงกันเอง หรือโดยคำพิพากษา

 

                   มาตรา ๑๓๖  ก่อนร่วมประเวณีครั้งแรก ภริยามีสิทธิขัดขืนมิยินยอมให้สามีร่วม

ประเวณี จนกว่าสามีจะได้ชำระอีซีกาห์เว็นตามที่ได้ตกลงกันเองหรือตามคำพิพากษา เว้นแต่จะเป็น

อีซีกาห์เว็นซึ่งได้ตกลงกันเองและได้กำหนดเวลาชำระ หากภริยามิได้สงวนสิทธิไว้ ภริยาไม่มีสิทธิขัดขืน

จำต้องยินยอมให้สามีร่วมประเวณี แม้จะยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระอีซีกาห์เว็น หรือพ้นกำหนดเวลาชำระ

แล้วแต่สามีมิชำระก็ดี

                   เมื่อได้มีกำหนดปริมาณอีซีกาห์เว็นโดยตกลงกันเอง หรือโดยคำพิพากษาแล้ว ศาลจะ

ให้สามีวางอีซีกาห์เว็นไว้ยังศาล หรือให้ผู้ที่ศาลเห็นสมควรยึดถือไว้ก็ได้  เมื่อสามีได้ร่วมประเวณีกับ

ภริยาแล้ว ให้มอบอีซีกาห์เว็นแก่ภริยาไป

                   ถ้าสามีชำระอีซีกาห์เว็นให้แก่ภริยาแล้ว ภริยามิยินยอมให้สามีร่วมประเวณี สามีไม่มี

สิทธิเรียกร้องอีซีกาห์เว็นนั้นคืน เว้นแต่เป็นกรณีขาดจากการสมรสตามมาตรา ๑๓๗

 

                   มาตรา ๑๓๗  เมื่อขาดการสมรสจากสามี ภริยามีสิทธิในอีซีกาห์เว็น

                   () ทั้งสิ้น ถ้าได้ร่วมประเวณีกับสามีแล้ว เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดจากการสมรสโดย

พิธีฟะซัคตามมาตรา ๑๑๑ ภริยามีสิทธิในอีซีกาห์เว็นโดยปริมาณอันสมควรดั่งที่ได้บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๑๔๐

                   () เพียงกึ่งหนึ่ง ถ้ามิได้เคยร่วมประเวณีกับสามี เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ไม่มีสิทธิใน

อีซีกาห์เว็น

                   . ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดจากการสมรสโดยพิธีฟะซัคตามมาตรา ๑๑๑

                   . ก่อนสมรสภริยาสละสิทธิในอีซีกาห์เว็น และยังมิได้มีกำหนดปริมาณอีซีกาห์เว็นโดย

ตกลงกันเองหรือโดยคำพิพากษา

                   . สามีไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระอีซีกาห์เว็นได้ตั้งแต่ก่อนสมรส

                   . ภริยากระทำอัตตวินิบาตกรรม หรือ

                   . ภริยาเป็นมุรตัด

                   ถ้าภริยาได้รับอีซีกาห์เว็นไว้แล้ว ให้ภริยาหรือทายาทผู้รับทรัพย์มรดกภริยาแบ่งคืน

กึ่งหนึ่ง หรือคืนทั้งสิ้นแก่สามี แล้วแต่กรณี ถ้าอีซีกาห์เว็นสูญสิ้นไปแล้ว ให้ใช้ค่าทดแทน

 

                   มาตรา ๑๓๘  ถ้าการสมรสตกเป็นโมฆะโดยมิได้เจตนาก็ดี หรือโดยเจตนาของชายฝ่าย

เดียวก็ดี ปริมาณอีซีกาห์เว็นซึ่งกำหนดไว้เดิมก็ตกเป็นโมฆะด้วย หญิงจะเรียกร้องอีซีกาห์เว็นต่อเมื่อได้

ร่วมประเวณีกับชายนั้นแล้ว และเรียกร้องได้เพียงครั้งเดียว แม้ได้ร่วมประเวณีต่างกรรมต่างวาระมาก

ครั้งก็ตาม

 

                   มาตรา ๑๓๙  หญิงร่วมประเวณีกับชายโดยหญิงสำคัญผิดว่าชายนั้นเป็นสามีก็ดี

หรือหญิงร่วมประเวณีกับชายในขณะที่หญิงกำลังวิกลจริต ละเมอ หรือเสียสติเพราะเสพสุรายาเมา

โดยมิได้เจตนาเสพก็ดี ให้ชายชำระอีซีกาห์เว็นแก่หญิงแต่ละครั้งตามที่ได้ร่วมประเวณีต่างกรรม

ต่างวาระ

 

                   มาตรา ๑๔๐  ปริมาณอันสมควรแห่งอีซีกาห์เว็นซึ่งชายมีหน้าที่ชำระแก่หญิง ให้นำ

บทบัญญัติแห่งมาตรา ๙๙ วรรคสุดมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้นำปริมาณอีซีกาห์เว็นซึ่งญาติหญิง

ที่สนิทที่สุดของบิดาหญิงเคยได้รับมาประกอบการวินิจฉัยด้วย

                   ชายหญิงมีสิทธิตกลงกำหนดเวลาชำระ เพิกถอน เพิ่ม หรือลดอีซีกาห์เว็นอย่างใดอย่าง

หนึ่งเปลี่ยนแปลงจากที่ตกลงไว้เดิมแล้วได้ เว้นแต่ศาลจะได้มีคำพิพากษากำหนดปริมาณอีซีกาห์เว็นไว้

แล้ว

 

                   มาตรา ๑๔๑  การชำเราทางเว็จมรรคให้ถือว่ามีผลบังคับให้เสมือนหนึ่งการร่วมประเวณี

ตามบทบัญญัติในหมวดนี้ มิเลือกว่าหญิงจะสมัครใจหรือถูกขืนใจก็ตาม

 

 

 

 

 

 

หมวด ๒

มุตอะห์

                  

 

                   มาตรา ๑๔๒  มุตอะห์ คือทรัพย์สินซึ่งสามีมีหน้าที่ชำระแก่ภริยาเนื่องแต่การขาดจาก

การสมรส

 

                   มาตรา ๑๔๓  ในกรณีต่อไปนี้ ให้สามีชำระมุตอะห์แก่ภริยาคู่หย่า

                   () ก่อนสมรสภริยาคู่หย่าสละสิทธิในอีซีกาห์เว็นและขาดจากการสมรสก่อนได้มี

กำหนดปริมาณอีซีกาห์เว็นโดยตกลงกันเอง หรือโดยคำพิพากษา

                   () สามีได้ร่วมประเวณีกับภริยาแล้ว เว้นแต่ขาดจากการสมรสในกรณีต่อไปนี้ ภริยา

ไม่มีสิทธิในมุตอะห์

                   . ภริยาเป็นมุรตัด

                   . สามีได้รับสินจ้างจากภริยา

                   . ฟะซัคตามความในมาตรา ๑๑๑ หรือ

                   . สามีหรือภริยาตาย

                   () สามีซึ่งนับถือลัทธิศาสนาอื่นเข้าเป็นอิสลามศาสนิกฝ่ายเดียว ภริยามิได้เข้าเป็น

อิสลามศาสนิกด้วย

 

                   มาตรา ๑๔๔  จำนวนมุตอะห์นั้น ถ้าสามีภริยามิสามารถตกลงกันได้ ให้ศาลกำหนด

ไม่เกินกึ่งหนึ่งแห่งปริมาณอีซีกาห์เว็นอันสมควร ดั่งที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๐

 

หมวด ๓

อิดดะห์

                  

 

                   มาตรา ๑๔๕  อิดดะห์ คือกำหนดระยะเวลาซึ่งชายหญิงต้องห้ามมิให้สมรส หรือสามี

ภริยาต้องห้ามมิให้สัมผัส หรือเสพเมถุน แล้วแต่กรณี

                   กำหนดเขตอิดดะห์ให้เป็นไปภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๔๖ ถึง ๑๕๖

                   อิดดะห์จะเป็นร็อจอี[44][๔๔] หรือบาอิน[45][๔๕] ต้องแล้วแต่การขาดจากการสมรสเป็นประมาณ

ภายในบังคับบทบัญญัติแห่ง () และ () .

                   กรณีที่ระบุไว้ดั่งต่อไปนี้มิได้อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้

                   () สามีภริยามิได้เคยเสพเมถุนกันเลย ได้ขาดจากการสมรสเพราะเหตุอื่นนอกจากสามี

ตาย

                   () สามีภริยาซึ่งขาดจากการสมรสและกลับคืนดีกันได้แต่โดยพิธีสมรส ได้กลับคืนดีกัน

โดยมิได้ประกอบพิธีสมรส

                   () สามีภริยาซึ่งต้องขาดจากกันตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๓ วรรคหลัง ถ้า

                   . มิได้เคยเสพเมถุนกันเลย หรือ

                   . ยังคงอยู่ด้วยกันต่อไปตามเดิมโดยมิได้ประกอบพิธีสมรสใหม่

                   () สามีภริยาซึ่งขาดจากการสมรสและไม่อาจกลับคืนดีกันได้ตามมาตรา ๑๒๑

และ ๑๒๗ ได้กลับคืนดีกันด้วยประการใด ๆ ก็ตาม และ

                   () หญิงเสพเมถุนโดยมิได้ประกอบพิธีสมรส มิเลือกว่าจะสมัครใจ หรือถูกขืนใจก็ตาม

เว้นแต่เป็นกรณีที่ชายเสพเมถุนนิรโทษ

 

                   มาตรา ๑๔๖  ในกรณีที่สามีภริยาขาดจากการสมรส เพราะเหตุสามีตายมิเลือกว่าสามี

ภริยานั้นจะได้เสพเมถุนกันแล้วหรือไม่ก็ดี สามีคู่หย่าตายภายในเขตอิดดะห์ร็อจอี หรือสามีภริยาซึ่งได้

เคยเสพเมถุนกันแล้วขาดจากการสมรส เพราะเหตุสามีเป็นมุรตัด และสามีคู่หย่านั้นตายภายในเขต

อิดดะห์บาอินนั้นก็ดี  หรือสามีภริยาซึ่งได้เคยเสพเมถุนกันแล้วขาดจากการสมรสเพราะเหตุภริยาเป็น

มุรตัด และสามีคู่หย่าตายภายในเขตอิดดะห์บาอินเมื่อภริยาหม้ายนั้นได้กลับเป็นอิสลาสศาสนิกภายใน

เขตอิดดะห์บาอินนั้นก็ดี หญิงหม้ายเช่นว่านั้นจะสมรสใหม่ได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์ดั่งต่อไปนี้

                   () ล่วงพ้นระยะเวลา ๔ เดือน ๑๐ วันบริบูรณ์ นับแต่วันสามีตาย หรือ

                   () คลอดแล้ว ถ้ามีครรภ์

 

                   มาตรา ๑๔๗  ในกรณีที่สามีภริยาขาดจากการสมรส เพราะเหตุอื่นนอกจากสามีตาย

มิเลือกว่าการขาดจากการสมรสนั้นเป็นร็อจอี หรือบาอิน และมิเลือกว่าสามีคู่หย่านั้นตายภายในเขต

อิดดะห์บาอินหรือไม่ ถ้าหญิงหม้ายนั้นได้เคยเสพเมถุนกับสามีแล้ว หญิงหม้ายเช่นว่านั้นจะสมรสกับ

ชายอื่นได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์ดั่งต่อไปนี้

                   () ได้เริ่มหลั่งโลหิตระดูครั้งที่ ๓ นับแต่

                   . วันขาดจากการสมรส

                   . วันสุดสิ้นแห่งการหลั่งโลหิตระดู ถ้าขาดจากการสมรสในระหว่างระยะเวลาหลั่งโลหิต

ระดู หรือ

                   . วันสุดสิ้นแห่งการหลั่งโลหิตคลอด ถ้าขาดจากการสมรสในระหว่างระยะเวลาหลั่ง

โลหิตคลอด

                   ถ้ามิได้หลั่งโลหิตระดู หรือหลั่งแต่มิครบกำหนดตามความในวรรคก่อน ให้บังคับตาม

ความใน () . . สองวรรคหลัง และ ค. . วรรคหลัง

                   () ล่วงพ้นระยะเวลา ๓ เดือน นับแต่วันขาดจากการสมรส  ถ้าหญิงหม้ายนั้น

                   . ตั้งแต่เริ่มหลั่งโลหิตระดูมิได้เคยหลั่งครบ ๑ วัน ๑ คืนบริบูรณ์ ดั่งที่ได้บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๑๕๙ () .

                   . มิได้เคยหลั่งโลหิตระดูตั้งแต่กำเนิด

                   ก่อนล่วงพ้นระยะเวลา ๓ เดือนเช่นว่านั้น ถ้าหญิงหม้ายในกรณี ก. หรือ ข. นั้นได้หลั่ง

โลหิตระดูแล้ว หญิงหม้ายนั้นจะสมรสกับชายอื่นได้ต่อเมื่อได้เริ่มหลั่งโลหิตระดูครั้งที่ ๔

                   ถ้าหญิงหม้ายนั้นหลั่งโลหิตระดูมิครบกำหนดเช่นว่านั้นแล้ว หญิงหม้ายนั้นจะสมรสกับ

ชายอื่นได้ต่อเมื่อล่วงพ้นระยะเวลา ๓ เดือนนับแต่วันหยุดหลั่งโลหิตระดูเมื่อมีหรืออนุมานอายุตามความ

ในบทบัญญัติแห่ง ค. ๑ วรรคแรกและวรรคสุด หรือ ค. ๒ สองวรรคหลัง แล้วแต่กรณี

                   . หมดโลหิตระดูก่อนขาดจากการสมรส และ

                   . เมื่อหมดโลหิตระดูนั้นมีหรืออนุมานอายุเท่าเทียมกับอายุของหญิงวงศ์ญาติส่วนมาก

เมื่อหมดโลหิตระดูหรือเทียบเคียงกับหญิงอื่นส่วนมากได้ ถ้ามิสามารถเทียบเคียงกับหญิงวงศ์ญาติเช่นว่า

นั้นได้

                   ถ้าก่อนขาดจากการสมรสหญิงหม้ายนั้นหลั่งโลหิตระดูเป็นปกติอยู่  เมื่อขาดจากการ

สมรสแล้วมิได้หลั่งโลหิตระดู หรือหลั่งแต่มิครบกำหนดตามบทบัญญัติใน ()  กำหนดล่วงพ้นระยะ

เวลา ๓ เดือนนั้น ให้นับแต่วันขาดจากการสมรส หรือวันหมดโลหิตระดูแล้วแต่กรณี ถ้าเทียบเคียงอายุ

ตามความในวรรคก่อนได้ หากมิสามารถเทียบเคียงอายุเช่นว่านั้นได้แล้ว กำหนดล่วงพ้นระยะเวลา ๓

เดือนนั้น ให้นับแต่เมื่อมี หรืออนุมานอายุเทียบเคียงตามความในวรรคก่อนได้เช่นกัน

                   ในกรณี ๒ วรรคก่อนนั้น ถ้ามิสามารถเทียบเคียงอายุเช่นว่านั้นได้แล้ว กำหนดล่วงพ้น

ระยะเวลา ๓ เดือนนั้น ให้นับแต่วันที่มีอายุครบ ๖๒ ปีบริบูรณ์ หรือวันที่มีอายุอนุมานเท่านั้น ถ้าจำอายุ

มิได้ หรือ

                   . เมื่อขาดจากการสมรสนั้น มีอายุครบ ๖๒ ปีบริบูรณ์ หรืออนุมานเท่านั้น ถ้าจำอายุ

มิได้

                   ก่อนล่วงพ้นระยะเวลา ๓ เดือนเช่นว่านั้น ถ้าหญิงหม้ายในกรณี ๑ หรือ ๒ นั้นได้หลั่ง

โลหิตระดูแล้ว หญิงหม้ายนั้นจะสมรสกับชายอื่นได้ต่อเมื่อได้เริ่มหลั่งโลหิตระดูครั้งที่ ๓

                   ถ้าหญิงหม้ายนั้นหลั่งโลหิตระดูมิครบกำหนดเช่นว่านั้นแล้ว หญิงหม้ายนั้นจะสมรสกับ

ชายอื่นได้ต่อเมื่อล่วงพ้นระยะเวลา ๓ เดือน นับแต่วันที่มีอายุครบ ๘๕ ปีบริบูรณ์ หรือวันที่มีอายุอนุมาน

เท่านั้น ถ้าจำอายุมิได้ หรือ

                   () คลอดแล้ว ถ้ามีครรภ์

 

                   มาตรา ๑๔๘  ในระหว่างที่ภริยาคู่หย่าอยู่ในเขตอิดดะห์ร็อจอีตามมาตรา ๑๔๗ สามี

กลับคืนดีกับภริยาคู่หย่านั้น โดยสามีมิได้ประกอบพิธีรอยะอ์ก็ดี หรือสามีเสพเมถุนนิรโทษกับภริยาคู่หย่า

นั้นก็ดี

                   () สามีมีสิทธิรอยะห์ได้ภายในเขตอิดดะห์ร็อจอี

                   () ถ้าภริยาคู่หย่านั้นตั้งครรภ์ภายในเขตอิดดะห์ร็อจอีแล้ว ก่อนคลอดสามีมีสิทธิรอยะอ์

ได้ทุกเมื่อ

                   () เมื่อพ้นเขตอิดดะห์ร็อจอีแล้ว หรือเมื่อภริยาคู่หย่าคลอดบุตรซึ่งตั้งครรภ์ขึ้นภายใน

เขตอิดดะห์ร็อจอีแล้ว แล้วแต่กรณี สามีกลับคืนดีกับภริยาคู่หย่านั้นได้แต่โดยพิธีสมรส

                   () หญิงหม้ายนั้นจะสมรสกับชายอื่นได้ต่อเมื่อ

                   . พ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การที่สามีกลับคืนดีกับภริยาคู่หย่าโดยมิได้ประกอบพิธี

รอยะอ์ หรือพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การที่สามีเสพเมถุนนิรโทษ ตามมาตรา ๑๔๗ () หรือ ()

โดยอนุโลม นับแต่วันเลิกจากการอยู่ร่วมกับสามีคู่หย่า การเสพเมถุนกับสามีคู่หย่าครั้งหลังที่สุด ถ้ามิได้

อยู่ร่วม หรือการเสพเมถุนนิรโทษครั้งหลังที่สุด แล้วแต่กรณีกำหนดเขตอิดดะห์ร็อจอีที่ยังไม่สุดสิ้นนั้นให้

เป็นอันระงับไปหรือ

                   . คลอดแล้ว ถ้ามีครรภ์ มิเลือกว่าครรภ์นั้นจะตั้งเมื่อใด

                   การคืนดีของสามีภริยาตามมาตรานี้ ให้วินิจฉัยตามพฤติการณ์และการปฏิบัติของสามี

ภริยา เช่น ระหว่างเป็นภริยาได้อยู่ร่วมเรือนหลังเดียวกัน เมื่อขาดจากการสมรสแล้ว ยังคงอยู่ร่วม

เช่นเดิมเช่นนี้ ให้ถือว่าเป็นการคืนดีเพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้

 

                   มาตรา ๑๔๙  ในระหว่างที่ภริยาคู่หย่าอยู่ในเขตอิดดะห์บาอิน ตามมาตรา ๑๔๗ ถ้า

                   () สามีกลับคืนดีกับภริยาคู่หย่านั้นโดยมิได้ประกอบพิธีสมรส

                   . สามีภริยาคู่นั้นสมรสกันใหม่ได้ทุกเมื่อ ภายในบังคับบัญญัติแห่งมาตรา ๑๒๑

และ ๑๒๗

                   . หญิงนั้นจะสมรสกับชายอื่นได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์บาอินนั้นแล้ว

                   . ถ้าหญิงนั้นตั้งครรภ์กับสามีคู่หย่าภายหลังที่กลับคืนดีกันโดยมิได้ประกอบพิธีสมรส

หากตั้งครรภ์

                   . ภายในเขตอิดดะห์บาอินแล้ว กำหนดเขตอิดดะห์บาอินตามมาตรา ๑๔๗ ()

หรือ () แล้วแต่กรณีเป็นอันหยุดจนกว่าจะได้คลอดแล้ว จึงให้คำนวณต่อไปใหม่เท่าที่เหลืออยู่ หญิงนั้น

จะสมรสกับชายอื่นได้ต่อเมื่อคลอดแล้ว และพ้นเขตอิดดะห์บาอินเท่าที่เหลืออยู่ซึ่งนับแต่เมื่อคลอดนั้น

แล้ว

                   . เมื่อพ้นเขตอิดดะห์บาอินแล้ว ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ หญิงนั้นสมรส

กับชายอื่นได้ทุกเมื่อ

                   () สามีเสพเมถุนนิรโทษกับภริยาคู่หย่านั้น

                   . สามีภริยาคู่นั้นสมรสกันใหม่ได้ทุกเมื่อ ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๒๑

และ ๑๒๗

                   . หญิงนั้นจะสมรสกับชายอื่นได้ ต่อเมื่อ

                   . พ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ () หรือ ()

โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี นับแต่การเสพเมถุนนิรโทษครั้งหลังที่สุด กำหนดเขตอิดดะห์บาอินที่ยังไม่

สุดสิ้นนั้นให้เป็นอันระงับไป หรือ

                   . คลอดแล้ว ถ้ามีครรภ์ มิเลือกว่าครรภ์นั้นจะตั้งเมื่อใด

 

                   มาตรา ๑๕๐  ในกรณีที่ชายเสพเมถุนนิรโทษกับหญิงโสดซึ่งมิได้อยู่ในระหว่างเขต

อิดดะห์ใด ถ้า

                   () ชายผู้เดียวเสพเมถุนนิรโทษแล้ว หญิงนั้นจะสมรสกับ

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษนั้นได้ทุกเมื่อ

                   . ชายอื่นได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗

() หรือ () โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี นับแต่การเสพเมถุนนิรโทษครั้งหลังที่สุด หรือเมื่อคลอดแล้ว ถ้ามี

ครรภ์

                   () ชายผู้หนึ่งเสพเมถุนนิรโทษแล้ว ภายหลังมีชายอีกผู้หนึ่งหรือหลายคนเสพเมถุน

นิรโทษเช่นกันอีก เมื่อชายใดเสพเมถุนนิรโทษก่อน ให้คำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษ

ของชายนั้นก่อน และคำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษของชายนอกนั้นต่อไปโดยลำดับ

เว้นแต่หญิงนั้นตั้งครรภ์กับชายที่เสพเมถุนนิรโทษหลังคนใดคนหนึ่ง กำหนดอิดดะห์อันเกิดแต่การที่

ชายเสพเมถุนนิรโทษก่อนเป็นอันหยุดจนกว่าจะได้คลอดแล้ว จึงให้คำนวณต่อไปใหม่เท่าที่เหลืออยู่

และคำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การที่ชายเสพเมถุนนิรโทษนอกนั้นต่อไปโดยลำดับ จนกว่าจะสุดสิ้นสุดแต่

มีชายเสพเมถุนนิรโทษมากหรือน้อยคน แล้วแต่กรณี หญิงนั้นจะสมรสกับ

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษก่อนได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การที่ชายเสพเมถุน

นิรโทษหลังแล้ว

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษหลังได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การที่ชายเสพเมถุน

นิรโทษก่อนแล้ว

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษท่ามกลาง หรือชายอื่นได้ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การ

เสพเมถุนนิรโทษทั้งสิ้นแล้ว

                   กำหนดเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษใน () นี้นั้น ให้นำบทบัญญัติแห่ง

มาตรา ๑๔๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

                   มาตรา ๑๕๑  ในระหว่างที่หญิงหม้ายอยู่ในเขตอิดดะห์ร็อจอีตามมาตรา ๑๔๗ ชายเสพ

เมถุนนิรโทษกับหญิงหม้ายนั้น

                   () ถ้าหญิงหม้ายนั้นมิได้ตั้งครรภ์ สามีกลับคืนดีกับภริยาคู่หย่าโดยพิธีรอยะอ์ภายใน

เขตอิดดะห์ร็อจอีนั้นได้แต่ห้ามมิให้สัมผัสหรือเสพเมถุนจนกว่าจะพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุน

นิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ () หรือ () โดยอนุโลมแล้วแต่กรณี นับแต่วันรอยะอ์ กำหนดเขตอิดดะห์

ร็อจอีที่ยังไม่สุดสิ้นนั้นให้เป็นอันระงับไป

                   () ถ้าหญิงหม้ายนั้นตั้งครรภ์ กับ

                   . สามีก่อนขาดจากการสมรส หากยังไม่คลอดสามีกลับคืนดีกับภริยาคู่หย่าโดยพิธี

รอยะอ์ได้ แต่ห้ามมิให้สัมผัสหรือเสพเมถุนจนกว่าจะพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษตาม

มาตรา ๑๔๗ () หรือ () โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี นับแต่เมื่อคลอดแล้ว

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษภายในเขตอิดดะห์ร็อจอี กำหนดอิดดะห์ร็อจอีตามมาตรา

๑๔๗ () หรือ () แล้วแต่กรณี เป็นอันหยุดจนกว่าหญิงหม้ายนั้นได้คลอดแล้ว จึ่งให้คำนวณต่อไปใหม่

เท่าที่เหลือยู่นับแต่เมื่อคลอดแล้ว ก่อนที่กำหนดอิดดะห์ร็อจอีนั้นสุดสิ้นลง แม้จะเป็นระหว่างที่กำหนด

อิดดะห์ร็อจอีสะดุดหยุดอยู่ก็ดี สามีกลับคืนดีกับภริยาคู่หย่านั้นโดยพิธีรอยะอ์ได้ แต่ถ้าได้คืนดีก่อนคลอด

ห้ามมิให้สัมผัสหรือเสพเมถุนจนกว่าจะได้คลอดแล้ว

                   ถ้าหญิงหม้ายนั้นตั้งครรภ์เมื่อพ้นเขตอิดดะห์ร็อจอีแล้ว สามีไม่มีสิทธิรอยะอ์

                   () หญิงหม้ายนั้นจะสมรสกับ

                   . สามีได้ ถ้าสามีมิได้รอยะอ์ภายในเขตอิดดะห์ร็อจอี ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่

การเสพเมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ โดยอนุโลมแล้ว

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์ร็อจอีแล้ว

                   . ชายอื่นได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์ร็อจอี และพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุน

นิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ โดยอนุโลมแล้ว

 

                   มาตรา ๑๕๒  ในระหว่างที่หญิงหม้ายอยู่ในเขตอิดดะห์ร็อจอีตามมาตรา ๑๔๗ เมื่อสามี

คู่หย่าหรือชายอื่นได้เสพเมถุนนิรโทษกับหญิงหม้ายนั้นแล้ว ภายหลังชายอื่น หรือสามีคู่หย่าได้เสพเมถุน

นิรโทษกับหญิงหม้ายนั้นเช่นกันอีก แล้วแต่กรณี มิเลือกว่าสามีและหรือชายอื่นจะได้เสพเมถุนนิรโทษ

ก่อนหรือหลัง

                   () ถ้าหญิงหม้ายนั้นมิได้ตั้งครรภ์ หากเป็นกรณีเสพเมถุนนิรโทษซ้อนกันเช่นว่านั้น

ระหว่าง

                    . ชายอื่นผู้เดียวและสามีคู่หย่าแล้ว การกลับคืนดีโดยพิธีรอยะอ์ของสามีภริยาคู่นั้น

ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๕๑ () มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                   . ชายอื่นตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปก็ดี หรือสามี และชายอื่นตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปก็ดี

การกลับคืนดีโดยพิธีรอยะอ์ของสามีภริยาคู่นั้น ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๕๑ () มาใช้บังคับโดย

อนุโลม โดยคำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การที่ชายอื่นเสพเมถุนนิรโทษแต่ละคนนั้นเป็นลำดับไป จนกว่าจะ

สุดสิ้น สุดแต่มีชายเสพเมถุนนิรโทษมากหรือน้อยคน แล้วแต่กรณี

                   () ถ้าหญิงหม้ายนั้นตั้งครรภ์กับสามีก่อนขาดจากการสมรส หากเป็นกรณีเสพเมถุน

นิรโทษซ้อนกันเช่นว่านั้น ระหว่าง

                   . ชายอื่นผู้เดียวและสามีคู่หย่าแล้ว การกลับคืนดีโดยพิธีรอยะอ์ของสามีภริยาคู่นั้น

ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๕๑ () . มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                   . ชายอื่นตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปก็ดี หรือสามีและชายอื่นตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปก็ดี การกลับคืน

ดีโดยพิธีรอยะอ์ของสามีภริยาคู่นั้น ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๕๑ () . มาใช้บังคับโดยอนุโลม

โดยคำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การที่ชายอื่นเสพเมถุนนิรโทษแต่ละคนนั้นเป็นลำดับไปจนกว่าจะสุดสิ้น

สุดแต่มีชายเสพเมถุนนิรโทษมากหรือน้อยคน แล้วแต่กรณี

                   () ถ้าหญิงหม้ายนั้นตั้งครรภ์โดยการเสพเมถุนนิรโทษกับ

                   . สามีภายในเขตอิดดะห์ร็อจอี ก่อนคลอดสามีกลับคืนดีกับภริยาคู่หย่านั้นโดยพิธี

รอยะอ์ได้ทุกเมื่อ เมื่อคลอดแล้วให้คำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การที่ชายเสพเมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗

() หรือ () โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ไปจนกว่าจะสุดสิ้น สุดแต่มีชายเสพเมถุนนิรโทษมากหรือน้อย

คน แล้วแต่กรณี สามีจะสัมผัสหรือเสพเมถุนกับภริยานั้นได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์เช่นว่านี้แล้ว

                   ถ้าหญิงหม้ายนั้นตั้งครรภ์เมื่อพ้นเขตอิดดะห์ร็อจอีแล้ว สามีไม่มีสิทธิรอยะอ์

                   . ชายอื่นภายในเขตอิดดะห์ร็อจอี การกลับคืนดีโดยพิธีรอยะอ์ของสามีภริยาคู่นั้น

ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๕๑ () . มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่เมื่อสุดสิ้นกำหนดเขตอิดดะห์

ร็อจอีที่เหลืออยู่แล้ว ให้คำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การที่สามีเสพเมถุนนิรโทษก่อน มิเลือกว่าสามีจะได้

เสพเมถุนนิรโทษก่อนหรือหลังชายอื่นและคำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การที่ชายอื่นเสพเมถุนนิรโทษต่อไป

โดยลำดับจนกว่าจะสุดสิ้น สุดแต่มีชายเสพเมถุนนิรโทษมากหรือน้อยคนแล้วแต่กรณี ถ้า

                   . มีชายเสพเมถุนนิรโทษผู้เดียว สามีจะสัมผัสหรือเสพเมถุนได้ ต่อเมื่อคลอดแล้ว

                   . มีชายเสพเมถุนนิรโทษตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป สามีจะสัมผัสหรือเสพเมถุนได้ต่อเมื่อพ้น

เขตอิดดะห์อันเกิดแต่การที่สามีและหรือชายอื่นเสพเมถุนนิรโทษทั้งสิ้นแล้ว

                   () หญิงนั้นจะสมรสกับ

                   . สามีคู่หย่าได้ ถ้าสามีมิได้รอยะอ์ภายในเขตอิดดะห์ร็อจอี ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์

อันเกิดแต่การที่สามีและหรือชายอื่นเสพเมถุนนิรโทษทั้งสิ้นแล้ว

                   . ชายที่เสพเมถุนนิรโทษก่อนได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์ร็อจอี และเขตอิดดะห์อันเกิด

แต่การที่ชายเสพเมถุนนิรโทษหลังแล้ว

                   . ชายที่เสพเมถุนนิรโทษหลังได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์ร็อจอี และเขตอิดดะห์อันเกิด

แต่การที่ชายเสพเมถุนนิรโทษก่อนแล้ว

                   . ผู้เสพเมถุนนิรโทษท่ามกลาง หรือชายอื่นได้ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์ร็อจอี และเขต

อิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษทั้งสิ้นแล้ว

 

                    มาตรา ๑๕๓  ในระหว่างที่หญิงหม้ายอยู่ในเขตอิดดะห์บาอินตามมาตรา ๑๔๗ ชายเสพ

เมถุนนิรโทษกับหญิงหม้ายนั้น ถ้าหญิงหม้ายนั้น

                   () มิได้ตั้งครรภ์ หญิงนั้นจะสมรสกับ

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษนั้นได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์บาอิน

                   . สามีคู่หย่า ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๒๑ และ ๑๒๗ หรือชายอื่นได้

ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์บาอิน และพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ ()

หรือ () โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี นับแต่การเสพเมถุนนิรโทษครั้งหลังที่สุด

                   () ตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์กับ

                   . สามีก่อนขาดจากการสมรส หญิงนั้นจะสมรสกับ

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษได้ ต่อเมื่อคลอดแล้ว

                   . สามีคู่หย่า หรือชายอื่นได้ ต่อเมื่อคลอดแล้ว และพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพ

เมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ () หรือ () โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี นับแต่เมื่อคลอดแล้ว

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษภายในเขตอิดดะห์บาอินแล้ว กำหนดอิดดะห์บาอินเป็นอัน

หยุดจนกว่าจะได้คลอดแล้วจึ่งให้คำนวณต่อไปใหม่เท่าที่เหลืออยู่ หญิงนั้นจะสมรสกับ

                   . สามีคู่หย่าได้ ต่อเมื่อคลอดแล้ว

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษ หรือชายอื่นได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์บาอินเท่าที่เหลืออยู่นั้น

แล้ว

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษเมื่อพ้นเขตอิดดะห์บาอินแล้ว หญิงนั้นจะสมรสกับ

                   . ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษนั้นได้ทุกเมื่อ

                   . สามีคู่หย่าหรือชายอื่นได้ ต่อเมื่อคลอดแล้ว

                   กรณีตาม () และ () ถ้าชายอื่นที่เสพเมถุนนิรโทษมีจำนวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปแล้ว

มิเลือกว่าจะเป็นสามีคู่หย่าหรือมิใช่ ให้คำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษของชายเหล่านั้น

แต่ละคนโดยลำดับจนกว่าจะสุดสิ้น สุดแต่มีชายเสพเมถุนนิรโทษมากหรือน้อยคน แล้วแต่กรณี

                   การสมรสของหญิงหม้ายนั้นให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๕๐ () มาใช้บังคับโดย

อนุโลม

                   กำหนดเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษในมาตรานี้นั้น ให้นำบทบัญญัติแห่ง

มาตรา ๑๔๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

                   มาตรา ๑๕๔  ในกรณีที่ชายเสพเมถุนนิรโทษกับหญิงมีสามี ถ้าหญิงนั้น

                   () ไม่มีครรภ์ หญิงนั้นจะสัมผัสหรือเสพเมถุนกับสามีได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์อันเกิด

แต่การเสพเมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ () หรือ () โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี นับแต่การเสพเมถุน

นิรโทษครั้งหลังที่สุด

                   () ตั้งครรภ์กับสามี หากตั้งครรภ์

                   . ก่อนชายเสพเมถุนนิรโทษ หญิงนั้นจะสัมผัสหรือเสพเมถุนกับสามีได้ ต่อเมื่อคลอด

แล้ว และพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ () หรือ () โดยอนุโลม

แล้วแต่กรณี นับแต่เมื่อคลอดแล้ว

                   . ภายหลังชายเสพเมถุนนิรโทษ ตั้งแต่

                   . ภายในเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษตาม () แล้ว กำหนดอิดดะห์

อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษนั้นเป็นอันหยุดจนกว่าจะได้คลอดแล้ว จึ่งให้คำนวณต่อไปใหม่เท่าที่

เหลืออยู่ หญิงนั้นจะสัมผัสหรือเสพเมถุนกับสามีได้ต่อเมื่อได้คลอดแล้ว และพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การ

เสพเมถุนนิรโทษเท่าที่เหลืออยู่นั้นนับแต่เมื่อคลอดแล้ว

                   . เมื่อพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษแล้ว หญิงนั้นสัมผัสหรือเสพเมถุน

กับสามีได้ทุกเมื่อ

                   () ตั้งครรภ์กับชายที่เสพเมถุนนิรโทษ หญิงนั้นจะสัมผัสหรือเสพเมถุนกับสามีได้

ต่อเมื่อคลอดแล้ว

                   กรณีตาม () () และ () นั้น ถ้าชายที่เสพเมถุนนิรโทษมีจำนวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป

แล้ว ให้คำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษของชายเหล่านั้นแต่ละคนต่อไปโดยลำดับจนกว่า

จะสุดสิ้น สุดแต่มีชายเสพเมถุนนิรโทษมากหรือน้อยคน แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๑๕๕  ในกรณีที่ชายเสพเมถุนนิรโทษกับหญิงมีสามี และต่อมาหญิงนั้นได้ขาด

การสมรสจากสามีภายในเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ โดยอนุโลม

ถ้าหญิงหม้ายนั้น

                   () มิได้เคยเสพเมถุนกับสามีเลย หญิงหม้ายนั้นจะสมรสกับ

                   . ชายที่เสพเมถุนนิรโทษนั้นได้ทุกเมื่อ

                   . สามีคู่หย่า หรือชายอื่นได้ ต่อเมื่อพ้นเขตอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษตาม

มาตรา ๑๔๗ โดยอนุโลม

                   () เคยเสพเมถุนกับสามีแล้ว ถ้าหญิงหม้ายนั้น

                   . มิได้ตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์กับสามีก่อนชายเสพเมถุนนิรโทษ ให้คำนวณอิดดะห์

อันเกิดแต่การขาดจากการสมรสตามมาตรา ๑๔๗ ก่อน และคำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การที่ชายเสพ

เมถุนนิรโทษตามมาตรา ๑๔๗ () หรือ () โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ในภายหลัง

                   . ตั้งครรภ์กับผู้เสพเมถุนนิรโทษ ให้คำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การเสพเมถุนนิรโทษ

ก่อน และคำนวณอิดดะห์อันเกิดแต่การขาดจากการสมรสภายหลังคลอด

                   การกลับคืนดีกับสามี หรือสมรสกับชายผู้เสพเมถุนนิรโทษ หรือชายอื่นตาม () นี้

ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

                   มาตรา ๑๕๖  ในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์ดั่งที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓ เมื่อมีกรณี

เกี่ยวกับอิดดะห์เกิดขึ้นเช่นชายตายในระหว่างอยู่ร่วม หรือในเขตอิดดะห์ร็อจอีก็ดี ชายหญิงนั้นต้องขาด

จากการสมรสตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๓ วรรคหลัง ถ้าชายหญิงนั้นได้เสพเมถุนก่อนที่ฝ่ายชายได้

ทราบถึงความไม่สมบูรณ์นั้นก็ดี หรือมีการเสพเมถุนนิรโทษก็ดี ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๔๖

ถึง ๑๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๑๕๗  กำหนดหลั่งโลหิตระดู หรือกำหนดเวลาล่วงพ้นตามความในบทบัญญัติ

แห่งมาตรา ๑๔๖ และ ๑๔๗ ถ้าหญิงหม้ายนั้นเป็นทาส ให้ลดกำหนดหลั่งโลหิตระดูน้อยลงกว่ากำหนด

นั้น ๑ ครั้ง หรือลดกำหนดเวลาล่วงพ้นลงกึ่งหนึ่ง แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๑๕๘  กำหนดเวลาตามความในบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๔๖ และ ๑๔๗ ถ้ามิใช่

กรณีที่เริ่มนับแต่วันต้นเดือน ให้คำนวณโดยเอาจำนวนวันในเดือนสุดท้ายบวกกับวันที่นับแล้วในเดือน

แรกให้ได้ ๓๐ วันเต็ม

 

                   มาตรา ๑๕๙  การหลั่งโลหิตระดู การหลั่งโลหิตเนื่องแต่การคลอด หรือการคลอด

โดยชอบด้วยหลักกฎหมายนี้

                   () การหลั่งโลหิตระดูโดยปกติแต่ละครั้ง

                   . ต้องไม่ต่ำกว่า ๑ วัน ๑ คืนบริบูรณ์โดยหลั่งติดต่อกัน ในระหว่าง ๑๕ วัน ๑๕ คืน

จะได้หลั่งกี่ครั้งก็ตามพึงถือว่าเป็นการหลั่งโลหิตระดูครั้งเดียวเท่านั้น ถ้าหลั่งเกินกว่า ๑๕ วัน ๑๕ คืน

ให้ถือเป็นโลหิตระดูเพียงเท่าที่หลั่งใน ๑๕ วัน ๑๕ คืนบริบูรณ์ และในกรณีเช่นนี้ถือว่าการหลั่งโลหิตระดู

สุดสิ้นเพียงวันที่ครบ ๑๕ วัน ๑๕ คืนนั้น

                   . ต้องเว้นระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ๑๕ คืนบริบูรณ์ นับแต่วันสุดสิ้นแห่ง

การหลั่งโลหิตระดูตามความในวรรค ก.

                   () การหลั่งโลหิตเนื่องแต่การคลอด

                   . ต้องเป็นโลหิตตั้งแต่ ๑ หยดขึ้นไป และหลั่งภายใน ๑๕ วัน ๑๕ คืน นับแต่วันคลอด

เมื่อได้หลั่งเช่นนี้แล้ว โลหิตที่หลั่งต่อไปภายใน ๖๐ วัน ๖๐ คืนนับแต่วันคลอด ให้ถือว่าเป็นโลหิตเนื่อง

แต่การคลอดทั้งสิ้น เว้นแต่จะได้มีการหยุดหลั่งเป็นเวลาถึง ๑๕ วัน ๑๕ คืนบริบูรณ์ โลหิตที่หลั่งภายหลัง

ที่ได้หยุดเช่นนี้ แม้จะหลั่งภายในเวลา ๖๐ วัน ๖๐ คืนนับแต่วันคลอด ก็ไม่นับว่าเป็นโลหิตเนื่องแต่การ

คลอด

                   . มิให้ถือว่าโลหิตซึ่งติดตัวทารกที่คลอด เป็นโลหิตที่หลั่งเนื่องแต่การคลอด

                   () การคลอด อย่างต่ำที่สุดต้องเป็นก้อนเนื้อ

 

                   มาตรา ๑๖๐  กรณีพิพาทดั่งที่ระบุไว้ในมาตรานี้ให้ฟังคำหญิง เว้นแต่มีผู้คัดค้านจะฟัง

ได้ต่อเมื่อหญิงสาบานแล้ว

                   () การหลั่งโลหิตระดูตามความในบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๕๙ () ถ้าหญิงนั้นบรรลุ

นิติภาวะแล้ว

                   () การมิได้เคยหลั่งโลหิตระดูตั้งแต่กำเนิด

                   () การคลอด ถ้าตั้งครรภ์มากว่า ๘๐ วัน

 

                   มาตรา ๑๖๑  กรณีพิพาทเกี่ยวกับการล่วงพ้นระยะเวลาดั่งที่ได้บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๑๔๗ () ให้ฟังคำหญิงหม้าย เว้นแต่มีผู้คัดค้าน ให้ทั้ง ๒ ฝ่ายนำสืบ ถ้า

                   () ฝ่ายใดไม่มีพยาน ให้ฝ่ายมีพยานนำสืบฝ่ายเดียว

                   () ทั้ง ๒ ฝ่ายไม่มีพยาน ให้หญิงหม้ายสาบาน ถ้าสาบานได้ให้ฟังตามคำหญิงหม้ายนั้น

และห้ามมิให้อีกฝ่ายหนึ่งสาบาน ถ้าหญิงหม้ายมิยินยอมสาบาน เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งสาบานได้ให้ฟังตาม

คำสาบานนั้น ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งมิยินยอมสาบานให้ฟังตามคำหญิงหม้าย

 

 

หมวด ๔

การอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างอิดดะห์

                  

 

                   มาตรา ๑๖๒  ในระหว่างอิดดะห์ซึ่งเกิดแต่การตายของสามีก่อนขาดจากการสมรส

หญิงหม้ายนั้นมีสิทธิในอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะเคหะสถานตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๓ () อย่างเดียวจาก

กองทรัพย์มรดกของสามีจนกว่าจะพ้นเขตอิดดะห์ หรือจนกว่าคลอดแล้ว ถ้ามีครรภ์

 

                   มาตรา ๑๖๓  ในระหว่างอิดดะห์ร็อจอีหรืออิดดะห์บาอิน เมื่อภริยาคู่หย่าเคารพต่อสามี

ดั่งที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ () . แล้ว ถ้า

                   () เป็นอิดดะห์ร็อจอี หรืออิดดะห์บาอินและภริยาคู่หย่ามีครรภ์ ให้สามีอุปการะเลี้ยงดู

ภริยาคู่หย่านั้นตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๓ เว้นแต่เครื่องสำอาง

                   () เป็นอิดดะห์บาอินและภริยาคู่หย่าไม่มีครรภ์ ให้สามีอุปการะเลี้ยงดูภริยาคู่หย่านั้น

เฉพาะเคหะสถานตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๓ () อย่างเดียว

                   () สามีตายภายในเขตอิดดะห์บาอินและภริยาคู่หย่ามีครรภ์ ภริยาคู่หย่านั้นมีสิทธิใน

อุปการะเลี้ยงดูจากกองทรัพย์มรดกของสามีจนกว่าได้คลอดแล้ว ให้วลีของสามีเป็นผู้จ่าย แล้วแต่ภริยา

คู่หย่านั้นจะเลือกวลีใดให้เป็นผู้จ่าย หากสามีตายภายในเขตอิดดะห์อื่นนอกจากเช่นว่านี้ ภริยาคู่หย่าคงมี

สิทธิในอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะเคหะสถานอย่างเดียว จนกว่าจะพ้นเขตอิดดะห์ หรือจนกว่าได้คลอดแล้ว

ถ้ามีครรภ์

 

หมวด ๕

พิธีรอยะอ์

                  

 

                   มาตรา ๑๖๔  รอยะอ์ คือการกลับคืนผูกนิติสัมพันธ์สมรสของสามีในกรณีที่การขาดจาก

การสมรสเป็นร็อจอีโดยพิธีรอยะอ์

 

                   มาตรา ๑๖๕  รอยะอ์จะสมบูรณ์ต่อเมื่อ

                   () สามี ตัวแทนของสามี หรือบิดาหรือปู่ของสามี ถ้าสามีวิกลจริตภายหลังขาดการ

สมรสจากภริยา รอยะอ์ภายในกำหนดเขตอิดดะห์ตามมาตรา ๑๔๗

                   () การทำหนังสือรอยะอ์ ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๘๓ () มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                   () การเปล่งวาจารอยะอ์ ถ้า

                   . กล่าวโดยชัดแจ้ง และทราบความหมายของคำรอยะอ์นั้น มิจำต้องกล่าวด้วยเจตนา

รอยะอ์

                   . กล่าวโดยมิชัดแจ้ง เช่นเคลือบคลุมหรือแกล้งพูดไม่ชัด จำต้องกล่าวด้วยเจตนารอยะอ์

                   () รอยะอ์โดยมิได้ประกอบด้วยเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา

                   () หญิงที่จะรอยะอ์ได้นั้น ต้องเป็นภริยาคู่หย่าของสามี

                   () รอยะอ์ลับหลังภริยาคู่หย่า ให้ระบุนามภริยาที่รอยะอ์ ถ้าภริยาที่ขาดจากการสมรสมี

ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป

                   () รอยะอ์ต่อหน้าภริยาคู่หย่า กล่าวแต่สรรพนามภริยาคู่หย่าก็ได้

 

                   มาตรา ๑๖๖  รอยะอ์เป็นเอกสิทธิของสามี สามีทรงสิทธิที่จะรอยะอ์ได้ฝ่ายเดียว มิจำต้อง

ได้รับความยินยอมจากภริยา

                   เมื่อสามีรอยะอ์แล้ว ให้สามีภริยาคู่นั้นกลับคืนสู่ฐานะเป็นสามีภริยากันเช่นเดิม นับแต่

ขณะรอยะอ์เป็นต้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะ ๕

ผู้บุพการีและผู้สืบสันดาน

                  

หมวด ๑

บุตร

                  

 

                   มาตรา ๑๖๗  ห้ามมิให้ถือว่าบุตรดั่งที่ระบุไว้ในมาตรานี้ เป็นบุตรของชายผู้เสพเมถุน

กับหญิงผู้เป็นมารดาของบุตรนั้น

                   () บุตรเกิดแต่ชายเสพเมถุนกับหญิง โดย

                   . ชายหญิงนั้นมิได้ประกอบพิธีสมรส หรือสามีภริยาคู่หย่ามิได้กลับคืนดีกันโดยพิธี

รอยะอ์ เว้นแต่บุตรที่เกิดแต่ชายผู้เสพเมถุนนิรโทษ ให้ถือว่าเป็นบุตรของชายนั้น หรือ

                   . ชายรู้อยู่แล้วว่าการสมรสเป็นโมฆะ และหญิงตั้งครรภ์ภายหลังการเสพเมถุนเช่นว่านี้

และ

                   () บุตรเกิดภายหลังการสมรสและเสพเมถุนของชายหญิงไม่ถึง ๖ เดือนบริบูรณ์

 

                   มาตรา ๑๖๘  การรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรม ห้ามมิให้ถือว่าเป็นบุตรตามหลัก

กฎหมายนี้

 

หมวด ๒

อำนาจปกครองและอำนาจเลี้ยงดู

                  

 

                   มาตรา ๑๖๙  ผู้ที่จะปกครองหรือผู้ที่จะเลี้ยงดูผู้ไร้ความสามารถ[46][๔๖] หรือผู้เยาว์ได้นั้น

ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดั่งต่อไปนี้

                   () เป็นอิสลามศาสนิก

                   () ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี

                   () มีสติปัญญาเยี่ยงสามัญชน

                   () อยู่ร่วมจังหวัดกับผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์นั้น

                   () ไม่เป็นทาส

                   () ไม่เป็นโรคดั่งที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๑ () และ

                   () จักษุยังเห็นพอใช้การได้

 

                   มาตรา ๑๗๐  อำนาจปกครองผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เยาว์นั้นอยู่แก่บิดา ถ้าไม่มีบิดา

หรือบิดาขาดคุณสมบัติอำนาจปกครองนั้นอยู่แก่ปู่ ถ้าไม่มีบุคคลเช่นว่านั้นหรือมีแต่ขาดคุณสมบัติ

อำนาจปกครองอยู่แก่มารดา ผู้ปกครองจะมอบอำนาจปกครองให้แก่ผู้ใดที่มีคุณสมบัติถูกต้องก็ได้

                   ถ้าไม่มีผู้ปกครองเช่นว่านี้ หรือมีแต่เป็นผู้ที่มิสมควรจะปกครองผู้ไร้ความสามารถ

หรือผู้เยาว์ด้วยประการใดก็ดี ญาติของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ ผู้มีผลประโยชน์ได้เสีย หรืออัยการ

มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ปกครอง หรือถอดถอนผู้ปกครอง และตั้งผู้ปกครองใหม่ได้

 

                   มาตรา ๑๗๑  ผู้ปกครองจำต้องมอบการดูแลเลี้ยงดูผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ให้แก่

ผู้มีอำนาจเลี้ยงดูโดยผู้ปกครองมีหน้าที่จ่ายค่าเลี้ยงดู และบริจาคข้าวสารเป็นทานในวันออกบวช ในนาม

ของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ปีละ ๔ ลิตร

                   ในกรณีทั้ง ๒ นี้ถ้าผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์มีทรัพย์สินให้จ่ายจากทรัพย์สินนั้นได้

                   ถ้าผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ไม่มีทรัพย์สิน ให้จ่ายจากทรัพย์สินของผู้ปกครองเอง

                   ถ้าผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์มีทรัพย์สินต้องด้วยเกณฑ์บริจาคทาน ผู้ปกครองมี

หน้าที่ต้องเอาทรัพย์สินของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์นั้นบริจาคทาน

 

                   มาตรา ๑๗๒  อำนาจเลี้ยงดูผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เยาว์นั้นอยู่แก่มารดา จนกว่าความ

ไร้ความสามารถ หรือความเป็นผู้เยาว์นั้นสุดสิ้นลง เว้นแต่มารดา

                   () มีสามีใหม่ และสามีใหม่นั้นมิได้เป็นวลีอักร็อบของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์นั้น

                   () ขาดคุณสมบัติ

                   () ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดกับที่ผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เยาว์นั้นอยู่

                   () ไม่รับเลี้ยงดูผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เยาว์นั้น

                   () สูญไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือ

                   () ตาย

                   อำนาจเลี้ยงดูผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ในกรณีเช่นว่านี้ ตกได้แก่ญาติของผู้ไร้

ความสามารถหรือผู้เยาว์โดยลำดับดั่งต่อไปนี้

                   . ยาย

                   . บิดา

                   . ย่า

                   . พี่หญิงน้องหญิง

                   . พี่หญิงน้องหญิงของมารดา

                   . บุตรหญิงของพี่หญิงน้องหญิง

                   . บุตรหญิงของพี่ชายน้องชาย

                   . พี่หญิงน้องหญิงของบิดา และ

                   . ชายซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เยาว์ตามลำดับชั้นในการรับมรดก

ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๑๗  เว้นแต่บิดา

                   ถ้าญาติผู้อยู่ในลำดับก่อนมิยินยอมรับเลี้ยงดู ก็ให้ตกได้แก่ญาติผู้อยู่ในลำดับหลัง

                   เฉพาะในเรื่องผู้เยาว์ ถ้าบิดาต้องการให้ผู้เยาว์ไปอยู่ด้วย ให้ถามความสมัครใจของ

ผู้เยาว์ ถ้าผู้เยาว์สมัครใจก็ให้ไปอยู่กับบิดาโดยมิต้องอยู่กับมารดาหรือยาย ถ้าผู้เยาว์สมัครจะอยู่ทั้งกับ

บิดาและมารดาหรือยาย ให้ผู้เยาว์จับสลาก ถ้าผู้เยาว์ไม่สมัครจะอยู่ทั้ง ๒ ฝ่ายหรือมิยินยอมจับสลาก

ให้อยู่กับมารดาหรือยาย แล้วแต่กรณี

                   เมื่อผู้เยาว์เลือกอยู่กับบิดา มารดา หรือยายมีสิทธิติดต่อกับผู้เยาว์นั้นได้ตามสมควรแก่

พฤติการณ์ ถ้าผู้เยาว์นั้นป่วยลง บิดามิยินยอมให้มารดา หรือยายพยาบาล มารดา หรือยาย แล้วแต่กรณี

มีสิทธินำผู้เยาว์ไปพยาบาล ณ ที่บ้านหรือที่พักของตนได้ ถ้าไม่ตั้งอยู่ห่างไกลจากที่บ้านหรือที่พักของ

บิดาเกินสมควรซึ่งมิสะดวกแก่การเยี่ยมของบิดา

 

                   มาตรา ๑๗๓  ถ้าผู้มีสิทธิใช้อำนาจเลี้ยงดูในชั้นเดียวกันมีหลายคน

                   () เมื่อมิสามารถตกลงกันได้ ให้จับสลาก

                   () ญาติผู้ร่วมบิดามารดา มีสิทธิเหนือญาติผู้ร่วมแต่บิดา

 

                   มาตรา ๑๗๔  ถ้ามารดาของผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เยาว์ขาดการสมรสจากสามีใหม่

หรือญาติของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ซึ่งขาดคุณสมบัติกลับมีคุณสมบัติขึ้น อำนาจเลี้ยงดูผู้ไร้

ความสามารถหรือผู้เยาว์นั้นย่อมกลับไปอยู่แก่มารดาหรือญาติของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์นั้น

แล้วแต่กรณี

 

                   มาตรา ๑๗๕  เมื่อผู้มีอำนาจปกครองหรือผู้มีอำนาจเลี้ยงดูเดินทางไปต่างถิ่นชั่วคราว

และการเดินทางนั้นอาจมีภัย ให้ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์อยู่กับผู้มีอำนาจปกครอง หรือผู้มีอำนาจ

เลี้ยงดูฝ่ายที่อยู่ ณ ถิ่นที่อยู่

 

                   มาตรา ๑๗๖  เมื่อผู้มีอำนาจปกครองของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ย้ายภูมิลำเนา

จะเอาผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ไปด้วยก็ได้ แม้การย้ายภูมิลำเนานั้นอาจมีภัยก็ดี  แต่ถ้าการเอาไป

เช่นนี้จะนำผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ไปในทางเสื่อมทราม เช่นเล่นการพนันแล้ว ผู้ปกครองเอาไป

มิได้

 

                   มาตรา ๑๗๗  ผู้มีอำนาจเลี้ยงดูมีสิทธิห้ามมิให้ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ซึ่งเป็นหญิง

ไปหาผู้มีอำนาจปกครองได้ ถ้าผู้มีอำนาจปกครองมิจัดการรับส่งผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์นั้นตาม

ประเพณี

 

                   มาตรา ๑๗๘  ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์ตาย ให้ผู้มีอำนาจปกครองจัดการทำศพนั้น

ณ สุสานใดก็ได้ และต้องออกค่าใช้จ่ายในการทำศพถ้าผู้ตายไมมีทรัพย์มรดก

 

หมวด ๓

ค่าน้ำนมและค่าเลี้ยงดูบุตร

                  

 

                   มาตรา ๑๗๙  ภริยามีสิทธิเรียกร้องค่าน้ำนมที่บุตรดื่มและค่าเลี้ยงดูบุตรจากสามีได้

ต่อเมื่อได้ตกลงกับสามีหรือได้แจ้งให้ผู้ใดผู้หนึ่งทราบไว้ในกรณีที่มิสามารถตกลงกับสามีได้

 

                   มาตรา ๑๘๐  เว้นแต่สามีภริยาจะตกลงเป็นอย่างอื่น สิทธิเรียกร้องของภริยาตามความ

ในบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๗๙ นั้น มีอยู่ตลอดไปจนกว่าบุตรนั้นจะมีอายุครบ

                   () ๒ ปีบริบูรณ์ ในกรณีเรียกร้องค่าน้ำนม หรือ

                   () ๗ ปีบริบูรณ์ ในกรณีเรียกร้องค่าเลี้ยงดู

 

                   มาตรา ๑๘๑  สามีมีสิทธิให้บุตรดื่มน้ำนมของหญิงอื่น ถ้าหญิงนั้น

                   () มิได้มีโรคซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ทารก

                   () มีน้ำนมมีคุณภาพมิต่ำกว่าของมารดาทารก และ

                   () มิได้เรียกร้องสินจ้าง หรือเรียกร้องต่ำกว่ามารดาทารก

                   ในกรณีเช่นว่านี้ ภริยาไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าน้ำนมจากสามี ถ้าให้บุตรดื่มน้ำนม

 

                   มาตรา ๑๘๒  ในกรณีที่มารดาทารกและหญิงอื่นแต่ละฝ่ายมิได้มีโรคซึ่งอาจเป็น

อันตรายแก่ทารกต่างสมัครให้ทารกดื่มน้ำนมโดยมิได้เรียกร้องสินจ้างหรือเรียกร้องเท่ากัน ให้ทารกดื่ม

น้ำนมมารดา

 

                   มาตรา ๑๘๓  ปริมาณค่าน้ำนมและค่าเลี้ยงดูบุตรนั้น ถ้า

                   () สามีภริยาตกลงไว้อย่างไร ให้เป็นไปตามที่ตกลงนั้น

                   () มิได้ตกลงไว้ ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์

 

 

 

 

 

 

หมวด ๔

ค่าอุปการะเลี้ยงดู

                  

 

                   มาตรา ๑๘๔  ผู้สิบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปจำต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้สืบสายโลหิตโดยตรง

ลงมาซึ่งไร้ทรัพย์สินภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ถ้าผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปคนใดสามารถ

อุปการะเลี้ยงดูได้แล้ว ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปที่ห่างกว่าหมดหน้าที่

                   ในกรณีผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมาเป็น

                   () ชาย ถ้า

                   . ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้อุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

                   . บรรลุนิติภาวะแล้ว ให้อุปการะเลี้ยงดูแต่ผู้ทุพพลภาพมิสามารถหาเลี้ยงตนเองได้

                   () หญิง ให้อุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะตกไปอยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของสามี

 

                   มาตรา ๑๘๕  ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา จำต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้สืบสายโลหิตโดยตรง

ขึ้นไปและภริยาของผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปนั้นซึ่งไร้ทรัพย์สิน ถ้าผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมาคน

ใดสามารถอุปการะเลี้ยงดูได้แล้ว ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมาที่ห่างกว่าหมดหน้าที่

 

                   มาตรา ๑๘๖  บุคคลมิจำต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่น เมื่อตนมิสามารถหาเลี้ยงตนเองและ

อุปการะเลี้ยงดูภริยาและบุตรตามสมควรแก่ฐานะได้

 

                   มาตรา ๑๘๗  ในกรณีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ ให้ศาล

พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูตั้งแต่วันพิพากษาเป็นต้นไป และตามจำนวนซึ่งศาลจะได้กำหนดไว้ใน

คำพิพากษา โดยคำนวณตามฐานะของทั้ง ๒ ฝ่ายและพฤติการณ์



[1][๑] คำว่า เสพเมถุนดู (๓๘)

 

[2][๒] อนุมาตรา (๓๘) นี้เพิ่มภายหลัง ควรเป็น ()

[3][๓] การที่ศาลจะสั่งว่าบุคคลใดเสมือนไร้ความสามารถหรือไม่ ตามธรรมดาย่อมต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นเรื่องซึ่งจะนำหลักกฎหมายอิสลามขึ้นปรับคดีมิได้ เพราะมิใช่คดีผัวเมียหรือมรดก ดั่งกำหนดไว้ในกฎข้อบังคับสำหรับปกครองบริเวณ ๗ หัวเมือง แต่ก็อาจมีกรณีที่ร้องขอให้ศาลสั่งว่าบุคคลใดเสมือนไร้ความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการผัวเมียหรือมรดกโดยเฉพาะ เช่นร้องขอให้ศาลสั่งว่าเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นจะเป็นวาลีในการสมรสมิได้เป็นต้น ดู มาตรา ๓๘ () ซึ่งจะต้องนำบทบัญญัติมาตรานี้ขึ้นใช้ จึ่งได้ยกร่างขึ้นไว้ในที่นี้ด้วย

 

[4][๔] คำว่า รอยะอ์ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๑๖๔

[5][๕] คำว่า อิดดะห์ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๑๔๕

 

[6][๖] คำว่า บาอินดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๒๙)

[7][๗] คำว่า วลีดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒๙

[8][๘] คำว่า บรรลุนิติภาวะดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ ()

[9][๙] คำว่า ผู้เสมือนไร้ความสามารถ” ” ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ ()

[10][๑๐] คำว่า ตัวแทนดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๒๔)

[11][๑๑] คำว่า ตอละก์ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๘๒

 

 

[12][๑๒] คำว่า ปู่ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๑๐)

[13][๑๓] คำว่า หลานดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๒๑)

[14][๑๔] คำว่า ผู้สืบสันดานสายชายดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๒๐)

[15][๑๕] คำว่า อาดิลดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๑๐)

[16][๑๖] คำว่า ฟาซิกดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ ()

[17][๑๗] คำว่า พรหมจารีดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ ()

[18][๑๘] คำว่า อีซีกาห์เว็นดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๑๒๙

[19][๑๙] คำว่า กอบูลดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๕๕

[20][๒๐] คำว่าอียาบดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๕๔

[21][๒๑] คำว่า ร่วมประเวณีดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ ()

[22][๒๒] คำว่า ปู่ในที่นี้หมายความเฉพาะบิดาของบิดาเท่านั้น มิได้หมายความเช่นเดียวกับคำว่า ปู่ในบทวิเคราะห์แห่งมาตรา

(๑๘)

[23][๒๓] คำว่า บานีอิสริอีลเป็นชื่อเรียกหมู่ชนซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่นบียะกูบ (ก่อนนบีมุฮำมัด)

[24][๒๔] คำว่า ศาสนายะฮูดีเป็นศาสนาต้นรากของศาสนาชนชาติยิวปัจจุบันนี้

[25][๒๕] คำว่า ศาสนานัสรอนีเป็นศาสนาต้นรากของศาสนาคฤศตังบัจจุบันนี้

[26][๒๖] คำว่า เสพเมถุนดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๓๘)

[27][๒๗] คำว่า ร็อจอีดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๒๘)

[28][๒๘] คำว่า บาอินดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๒๙)

[29][๒๙] คำว่า มุรตัดดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๑๑)

[30][๓๐] คำว่า มอบตัวดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๒๕)

[31][๓๑] คำว่า อิสลามบัญญัติที่จำต้องเชื่อ จำต้องปฏิบัติและจำต้องศึกษาดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๑๔)

[32][๓๒] คำว่า เสพเมถุนนิรโทษดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ ()

[33][๓๓] คำว่า ผู้เยาว์ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ ()

[34][๓๔] คำว่า ฟะซัคดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๑๑๐

[35][๓๕] คำว่า วลีอักร็อบดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๓๑

[36][๓๖] คำว่า ตัดร์ฟะซัคดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๑๒๒

[37][๓๗] คำว่า รอยะอ์ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๑๒๔

[38][๓๘] คำว่า เสนอและสนองดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๒๗)

[39][๓๙] คำว่า บริจาคทานดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๑๓)

[40][๔๐] คำว่า ทรัพย์ห้ามยึดถือดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๓๒)

[41][๔๑] คำว่า ใช้สิทธิดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๓๑)

[42][๔๒] คำว่า จำหน่ายสิทธิดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๓๑)

[43][๔๓] คำว่า สละสิทธิดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๓๑)

[44][๔๔] คำว่า อิดดะห์ร็อจอีดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๓๖)

[45][๔๕] คำว่า อิดดะห์บาอินดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ (๓๗)

[46][๔๖] คำว่า ผู้ไร้ความสามารถดูบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา ๒ ()

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 107,737 Today: 4 PageView/Month: 797

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...