ดะโต๊ะยุติธรรม
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก    |  
 

สรุปคำบรรยาย ป.วิแพ่ง

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1

 

      ศาลที่จะเสนอคำฟ้อง ( มาตรา 4 (1) )

หลัก      1.   ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

                2.   ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล

                -  ฏ.7212/2545 , 7788/2546

 

 

       ศาลที่จะเสนอคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ( มาตรา 4 จัตวา )

หลัก        1.   ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย

2.       ศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล  กรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร

 

-   ผู้ตายทั้ง 3 คนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน จึงร้องจัดการมรดกรวมกันได้ เพราะมูลแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่จะพิจารณารวมกันได้

 

 

     คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์  ( มาตรา 4 ทวิ )

หลัก        คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือ สิทธิประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ให้เสนอต่อศาล

1.   ศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่

                2.   ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา

 

 

     มีเหตุสุดวิสัย ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี ( ม.10 )

หลัก        -   กรณีมีเหตุสุดวิสัย ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดี  คู่ความที่เสียหาย หรือ อาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้

                -   การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง  แต่การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งรับคำฟ้องและให้ส่งศาลที่มีอำนาจพิจารณา  ย่อมถือว่าได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว    ดังนั้นฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ( ฏ.1374/2546 )

 

 

     การขอขยายระยะเวลา และเหตุที่จะยื่นขอขยายระยะเวลาได้ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ ( มาตรา 23 )

หลัก        - ข้ออ้างที่ว่าเจ้าหน้าที่ศาลยังคำนวณค่าธรรมเนียมไม่แล้วเสร็จ  จึงไม่สามารถรายงานเสนออนุมัติเงินค่าธรรมเนียม  ทั้งที่สามารถคำนวณและขออนุมัตินำมาวางศาลได้อยู่แล้ว   ซึ่งหากไม่ถูกต้องหรือขาดไปศาลย่อมสั่งให้นำมาชำระให้ถูกต้องได้อีกทั้งนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจนถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นขยายมีเวลาถึง 2 เดือน  จึงเป็นความบกพร่องของโจทก์เอง  ไม่เป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล  ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 23 ( ฏ.3293/2546 , 1711/2547 )

 

 

      การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ( มาตรา 27 )

หลัก        1.   การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ   แบ่งออกเป็น 2 กรณี

                                1.1.ศาลเพิกถอนเอง   เมื่อศาลเห็นว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเกิดขึ้นในการพิจารณาคดีของศาล  โดยหากผิดระเบียบในศาลใด  ศาลนั้นเป็นผู้ออกคำสั่งเพิกถอน

                                1.2.คู่ความฝ่ายที่เสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

 

                2.   กระบวนพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ  เป็นกรณีมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนดในเรื่องดังนี้-

                                2.1.การยื่นหรือสั่งคำคู่ความ หรือเอกสารอื่นๆ

                                2.2.การพิจารณาคดี

                                2.3.การพิจารณาพยานหลักฐาน

                                2.4.การบังคับคดี

 

                3.  ขั้นตอนในการยื่นขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

                                3.1.ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง

                                3.2.กรณีทราบเหตุที่จะเพิกถอนนั้นก่อนศาลพิพากษา  ต้องยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำพิพากษาและไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบถึงพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างและต้องไม่ดำเนินการอันใดหลังจากทราบหรือไม่ให้สัตยาบันแก่การกระทำที่ผิดระเบียบ

                                3.3.กรณีทราบเหตุแห่งการขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว  คู่ความก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ม.27 วรรคแรก

                                -   ฏ.812/2546

                                -   การขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ  ต้องร้องขอต่อศาลในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการผิดระเบียบ  จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ( ฏ.5394-5395/2545 )

 

 

      การเข้าแทนที่คู่ความมรณะ ( มาตรา 42 )

หลัก        1.   กรณีคู่ความตายระหว่างการพิจารณา  ศาลต้องเลื่อนการพิจารณาจนกว่าบุคคลดังต่อไปนี้จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่

1.1.      ทายาท

1.2.      ผู้จัดการมรดก

1.3.      ผู้ปกครองทรัพย์มรดก

2.   การเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่มีได้  2 กรณี คือ

                2.1.   เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่เอง

                2.2.   ศาลหมายเรียก 

3.   การเข้ามาแทนที่ทำได้เฉพาะคดีที่มิใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย  

- เช่น คดีเกี่ยวด้วยทรัพย์สิน

4.   คดีที่เกี่ยวด้วยสิทธิเฉพาะตัวของผู้มรณะ  จะเข้าแทนที่ไม่ได้ 

- เช่น  คดีฟ้องหย่า   คดีร้องจัดการมรดกที่ผู้มรณะได้ร้องไว้

                5.   ระยะเวลาในการเข้ามาแทนที่ผู้มรณะต้องร้องเข้ามาภายใน 1 ปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ

                6.   การไม่ร้องเข้ามาแทนที่ผู้มรณะภายในเวลาที่กำหนด   ( ให้ศาลจำหน่ายคดี )

                7.   การจำหน่ายคดีตาม ม. 42 นี้ เป็นดุลพินิจของศาล

                8.   ผลของการเข้ามาแทนที่คู่ความมรณะ  มีดังนี้-

                                8.1.   กรณีผู้มรณะได้รับอนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา   แม้ผู้เข้ามาแทนที่จะไม่ยากจน  ก็มีสิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้

                                8.2.   ผู้เข้ามาแทนที่ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว   เพราะการเข้ามาแทนที่คู่ความเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนผู้มรณะเท่านั้น     หากกรณีผู้มรณะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ชอบที่จะบังคับเอากับกองมรดกของผู้มรณะ  จะบังคับเอากับผู้เข้ามาแทนที่ไม่ได้

                                8.3.   ผู้เข้ามาแทนที่ไม่มีสิทธิดีกว่าคู่ความเดิมที่มรณะ    ดังนั้นหากผู้มรณะขาดนัดพิจารณาแล้วตาย   ผู้เข้ามาแทนที่ต้องถูกดำเนินคดีไปอย่างคดีขาดนัด

                9.   คู่ความผู้มรณะตายระหว่างการพิจารณาของศาลใด    ศาลนั้นมีอำนาจสั่งในเรื่องการเข้ามาแทนที่

                10.  กรณีคู่ความตายในชั้นบังคับคดีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 42 ที่จะขอเข้ามาแทนที่ได้

 

-   สิทธิในการบังคับคดีของผู้ตาย ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเป็นสิทธิในทรัพย์สิน  ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว  จึงตกทอดไปยังทายาท

-   แต่การดำเนินการบังคับคดีมิใช่การเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะ  ทายาท  ผู้ปกครองทรัพย์  ผู้จัดการทรัพย์   จึงยื่นคำร้องขอเข้ารับมรดกความภายหลังศาลมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้วได้  หาต้องยื่นในระหว่างที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลไม่

-   จำเลยตายก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์  จึงถือว่าเป็นคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์  ดังนั้นจึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามม. 42

-   เมื่อศาลชั้นต้นทราบความมรณะ  ศาลชั้นต้นต้องงดการอ่านคำพิพากษาแล้วคืนสำนวนกลับไปยังศาลอุทธรณ์

-   แม้ตัวแทนมีอำนาจปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการได้ ตาม ปพพ. ม.828 ทนายความในฐานะตัวแทนสามารถยื่นอุทธรณ์ หรือ ฏีกาแทนตัวความที่ตายได้   แต่สัญญาตัวแทนระงับไปแล้ว  การยื่นอุทธรณ์หรือฏีกาเป็นการปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการ  ก็จะต้องมีการหาผู้เข้ามาดำเนินคดีแทนตาม ม.42 ตามฏีกานี้  เมื่อศาลสั่งรับฏีกาแล้วไม่มีผู้ใดเข้ามาดำเนินคดีแทนภายใน 1 ปีศาลก็สั่งจำหน่ายคดี

 

 

      อำนาจฟ้อง ( มาตรา 55 )

หลัก        -    ผู้ที่มีอำนาจยื่นคำฟ้อง หรือ คำร้องขอ ต้องเป็นกรณีถูกโต้แย้งสิทธิ หรือ ต้องการจะใช้สิทธิทางศาล

                -  ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องนั้นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติมิได้ให้สิทธิของโจทก์เหนือสิทธิของจำเลย หรือกำหนดหน้าที่ของจำเลยให้ยอมรับสิทธิของโจทก์ เพราะไม่มีการกระทำของจำเลยแต่อย่างใดที่เข้าไปขัดขวางสิทธิของโจทก์ตามที่อ้าง  ทั้งไม่มีบทกฎหมายที่จะให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลได้  โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ม. 55 ( ฏ. 2974/2545 )

                -  ผู้จัดการมรดกมีทั้งสิทธิและหน้าที่ในการจัดการมรดก การกระทำที่เข้ามาขัดขวางมิให้ผู้จัดการมรดกกระทำการตามหน้าที่ได้นั้น เป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิและโต้แย้งหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ในตัวด้วย เป็นกรณีที่เป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ ตาม ม. 55

 

 

      ร้องสอด ( มาตรา 57 )

หลัก        1.   ผู้ร้องสอดต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี

                2.   ต้องเป็นคดีเดิมอยู่ก่อน

                3.   ผู้ร้องสอดจะต้องมีส่วนได้เสีย  โดยอาจถูกโต้แย้งสิทธิ หน้าที่ หรือมีเหตุที่จะต้องได้สิทธิทางศาล

                4.   การเข้ามาในคดีแบ่งออกเป็น  2  กรณี

                                4.1.เข้ามาโดยสมัครใจ ตาม ม.57 (1)  และ 57 (2)

                                4.2.เข้ามาโดยถูกศาลหมายเรียก หรือ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอศาลหมายเรียกเข้ามาเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือ เพื่อใช้ค่าทดแทน

                5.   คำร้องสอดถือเป็นคำฟ้อง    ดังนั้นจึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ม.172

                6.   การร้องสอดต้องทำในศาลชั้นต้น   จะร้องสอดในชั้นอุทธรณ์ฏีกาไม่ได้

 

 

      การขอแก้ไขคำพิพากษา ( มาตรา 143 )

หลัก        -   คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล    เมื่ออ่านแล้วจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้

                -   เว้นแต่  เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด หรือ ผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษา  ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้.-

                                1.   ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลง  ต้องมิใช่เกิดจากความผิดพลาดของคู่ความที่กล่าวมาในคำคู่ความเอง      เช่น  แก้ไขถ้อยคำหรือตัวเลขที่พิมพ์ผิด

                                2.   การแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลง  จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม  แม้คู่ความอีกฝ่ายจะไม่คัดค้านก็ตาม

                                3.   เมื่อมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาด หรือศาลเห็นข้อผิดพลาดนั้นเอง  จะทำการแก้ไขตามที่เห็นสมควร

                                4.    ศาลที่มีอำนาจในการแก้ไข   มีดังนี้.-

                                                4.1.กรณีคดีไม่มีการอุทธรณ์  ศาลที่แก้ไขคือศาลชั้นต้นในคดีเดิมแล้ว ศาลจะส่งสำเนาให้อีกฝ่าย

                                                4.2.กรณีคดีมีการอุทธรณ์ฏีกาเป็นอำนาจของแต่ละชั้นศาล ที่จะทำการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้น

                                5.   การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษา สามารถทำในชั้นบังคับคดีได้เพราะในชั้นบังคับคดี   ศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไปตามความจริงได้

                            6.   กรณีคู่ความจะมาขอคัดคำพิพากษา  จะต้องให้คัดคำพิพากษาในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วย  จะขอคัดเฉพาะแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมไม่ได้

                -   การแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลง   หากมีการอุทธรณ์หรือฏีกาอำนาจในการแก้ไขย่อมตกอยู่แก่ศาลอุทธรณ์หรือฏีกา (แล้วแต่กรณี)  ( ฎ.1771/2547 , 1680/2546 )

                -   สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอม  ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมย่อมอยู่ในบังคับของมาตรา 143 ที่เมื่อมีข้อผิดพลาดในสัญญา  ศาลสั่งแก้ไขได้

 

 

      การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ( มาตรา 144 )

หลัก        1.   ห้ามศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษา หรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี หรือประเด็นข้อใดแห่งคดี

                                1.1.ประเด็นแห่งคดีต้องเป็นอย่างเดียวกัน คือมีข้ออ้างเป็นอย่างเดียวกัน

                                1.2.เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือ ผู้ที่สืบสิทธิจากคู่ความในคดีเดิม

                                1.3.คดีที่ศาลมีคำพิพากษาไม่ว่าจะเป็นทั้งคดีหรือเฉพาะบางประเด็น  ศาลจะย้อนกลับไปดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นหรือประเด็นข้อนั้นไม่ได้

                                1.4.ประเด็นข้อใดแห่งคดี  หมายถึง ประเด็นข้ออ้างหรือประเด็นในคดีซึ่งปรากฏจากคำฟ้องและคำให้การ

                                1.5.การห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ  ห้ามทั้งศาลและคู่ความ

                                1.6.กระบวนพิจารณาซ้ำไม่คำนึงว่าคดีใดยื่นก่อนหลัง  หากคดีที่ยื่นภายหลังศาลได้มีคำวินิจฉัยไปแล้ว   คดีก่อนจะดำเนินกระบวนพิจารณาอีกไม่ได้   ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

 

                2.   การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ     มีข้อยกเว้นดังนี้.-

                                2.1.การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ตาม ม.143

                                2.2.การพิจารณาใหม่ ซึ่งมีได้ 2 กรณี คือ.-

                                                (ก).คดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียว

                                                (ข).คดีที่เอกสารสูญหาย หรือ บุบสลาย

                                2.3.การอุทธรณ์ฏีกาในเรื่องของการยื่น  การยอมรับ  หรือไม่รับอุทธรณ์ หรือฏีกา  หรือการขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการยื่นอุทธรณ์หรือฏีกา  เพราะไม่ว่าจะขอคุ้มครองหรือขอทุเลาการบังคับไม่ใช่เรื่องประเด็นของคดี

                                2.4.กรณีศาลสูงให้ศาลล่างดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามรูปคดี  เนื่องจากศาลล่างกระทำไม่ถูกต้องในการดำเนินกระบวนพิจารณา ตาม ม.243

                                2.5.การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ม.302

                                2.6.การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ  นำมาใช้บังคับคดีอาญาโดยอาศัย ป.วิอาญา ม.15

 

                -   คดีก่อนเป็นคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการบังคับคดี   มิใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี  การดำเนินคดีใหม่จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ  ( ฏ. 5640/2542 , 1658/2546 , 3064/2545 )

 

 

      คำพิพากษาหรือคำสั่งผูกพันคู่ความ ( มาตรา 145 )

หลัก      1.   คำพิพากษาผูกพันคู่ความ

                                1.1.คำว่าคู่ความ หมายรวมถึง ผู้สืบสิทธิไม่ว่าจะเป็นฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลย

                                1.2.การผูกพันคู่ความนั้นมีสาระสำคัญดังนี้.-

                                                -   ผูกพันในผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล  โดยคู่ความต้องปฏิบัติตาม

                                                -   ผูกพันในข้อเท็จจริงที่ยุติในศาล  โดยศาลมีคำวินิจฉัยหรือยุติโดยการยอมรับของคู่ความ ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องอยู่ในประเด็นของคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับคดี

            2.   การเริ่มต้นและสิ้นสุดความผูกพันตามคำพิพากษา

                                2.1.ู่ความต้องผูกพันคำพิพากษานับแต่วันที่มีคำพิพากษา

                                2.2.ผูกพันคำพิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นจะถูกแก้ไข  คำพิพากษานั้นถูกเปลี่ยนแปลง  คำพิพากษาถูกกลับ หรือ คำพิพากษาถูกงด

                3.   คำพิพากษาหรือคำสั่งไม่ผูกพันบุคคลภายนอก

                                - ดังนั้นคดีที่มีคำขอให้ผลของคำพิพากษามีผลถึงบุคคลภายนอก  ศาลจะพิพากษาถึงบุคคลภายนอกคดีไม่ได้ หรือ แม้ศาลพิพากษาไปโดยผิดหลง  คำพิพากษานั้นย่อมไม่มีผลบังคับถึงบุคคลภายนอก

                                -   ข้อยกเว้น  คำพิพากษาผูกพันบุคคลภายนอกคดี

                                                (ก).คำพิพากษาในเรื่องขับไล่ ตาม ม.142 (1) คำพิพากษาของศาลย่อมมีผลบังคับถึงบริวารด้วย

                                                (ข).กรณีบุคคลภายนอกทำสัญญาค้ำประกันต่อศาล ตาม ม.274 จึงทำให้คำพิพากษามีผลบังคับถึงบุคคลที่เข้ามาทำการค้ำประกันนั้นได้  โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันขึ้นใหม่

            4.   กรณีคู่ความยกคำพิพากษาขึ้นอ้างอิงหรือใช้ยันบุคคลอื่นได้  มีดังนี้.-

                                4.1.คำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล     เช่น

                                                -   คำพิพากษาที่ชี้ว่าหนังสือหย่าไม่สมบูรณ์ 

                                                -   คำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

                                                -   คำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา

                                4.2.คำพิพากษาหรือคำสั่งให้เลิกนิติบุคคล

                                4.3.คำสั่งให้พิทักษ์ชั่วคราวหรือเด็ดขาด

                                4.4.คำพิพากษาให้ล้มละลาย

            5.   คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆ

                                - คำพิพากษาเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง   คู่ความนั้นอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้  เว้นแต่บุคคลภายนอกจะพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิดีกว่า

                                5.1.ผลของคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์  ทำให้บุคคลนั้นได้สิทธิตามคำพิพากษาโดยสมบูรณ์  แม้จะยังมิได้นำไปจดทะเบียน   เช่น คำสั่งศาลที่แสดงว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยการครอบครองปรปักษ์

                                5.2.คำพิพากษาที่วินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ใช้ยันบุคคลภายนอกนั้น  เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมาย  ดังนั้นบุคคลภายนอกจึงสามารถพิสูจน์การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นได้

-   โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินระหว่างโจทก์ , ส. และธนาคาร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยมิได้ฟ้อง ส. และธนาคารมาด้วย   ศาลจึงไม่อาจมีคำพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้

                -   คดีแพ่งที่โจทก์เคยฟ้องจำเลย ศาลยกฟ้อง และวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้สร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำที่ดินโจทก์ คำพิพากษานี้จึงผูกพันโจทก์และจำเลย  ดังนั้นโจทก์จะมาฟ้องว่าจำเลยสร้างรั้วคอนกรีตรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ อันเป็นการบุกรุกที่ดินโจทก์ไม่ได้   เพราะประเด็นคดีนี้เป็นประเด็นเดียวกับคดีแพ่งซึ่งโจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ( ฏ.2774/2546 )

 

 

      ฟ้องซ้ำ ( มาตรา 148 )

หลัก        1.   คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว   คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทกันมาในคดีก่อนมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้ (เป็นฟ้องซ้ำ)

                                1.1.คำว่า ถึงที่สุด คือ

                                                1.1.1.เมื่อได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นที่สุด

                                                1.1.2.เมื่อพ้นระยะอุทธรณ์หรือฏีกา หรือขอให้พิจารณาคดีใหม่

                                1.2.คำพิพากษาที่ถึงที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงว่าคดีใดยื่นฟ้องก่อนหลัง เพราะหลักของการฟ้องซ้ำ มิได้ถือเวลาที่ยื่นฟ้องเป็นสำคัญ   แต่ถือคดีถึงที่สุดเมื่อใด

            2.   ฟ้องซ้ำต้องเป็นคู่ความเดียวกันจึงจะต้องห้าม

                                2.1.คู่ความเดียวกัน     แม้คดีก่อนเป็นโจทก์  แต่คดีใหม่กลับมาเป็นจำเลยก็ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน

                                2.2.คู่ความเดียวกัน รวมถึงผู้สืบสิทธิจากคู่ความเดิม  เช่นสามีภริยา    เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม  ผู้รับโอนทรัพย์

                                2.3.แม้เป็นคู่ความเดิมแต่เข้ามาคนละฐานะ   ก็ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าคู่ความเดิม  เช่น คดีก่อนฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว  คดีใหม่ฟ้องคดีในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม  เช่นนี้ไม่ถือเป็นคู่ความเดียวกัน

            3.   ได้นำคดีมาฟ้องร้องกันใหม่ในประเด็นเดียวกัน ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน

                                3.1.เหตุอย่างเดียวกัน หมายถึง คำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาของเรื่องที่ฟ้องร้องกันโดยวินิจฉัยอย่างเดียวกับคดีก่อนที่ศาลได้วินิจฉัยมาและต้องเป็นส่วนของเนื้อหาด้วย  (หากไม่ใช่ก็ไม่ป็นฟ้องซ้ำ )

                                3.2.กรณีศาลได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี  แต่ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ เพราะศาลมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีนั้นเอง  ดังนั้นจึงนำคดีมาฟ้องใหม่ได้  เช่นดังนี้.-

                                                3.2.1.ศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทิ้งฟ้อง ( ฏ.1740/2520 )

                                                3.2.2.ยกฟ้องเพราะเหตุฟ้องคดีเคลือบคลุม ( ฏ.155/2523 )

                                                3.2.3.ยกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์บกพร่อง ( ฏ.2522/2523 )

                                                3.2.4.ยกฟ้องเพราะขณะยื่นฟ้องไม่มีอำนาจฟ้อง ( ฏ.666/2530 )

                                                3.2.5.กรณีโจทก์ถอนฟ้อง ( ฏ.268/2489 )

            4.   ข้อยกเว้นตามกฎหมายที่ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ        มีดังนี้.-

                                4.1.การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

                                                - กรณีบังคับคดีไม่พอชำระหนี้  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอบังคับเอากับทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีก

                                                - กรณีโต้แย้งว่าการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                                4.2.คำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดวิธีการชั่วคราว ที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามพฤติการณ์

                                                - การกำหนดวิธีชั่วคราว  คือกำหนดการบังคับคดีเอาไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว   เช่น  ค่าอุปการะเลี้ยงดู

                                4.3.ศาลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องใหม่ภายในอายุความ

                                                -  ได้แก่  ศาลยกฟ้องเพราะผู้ร้องจัดการมรดกยังไม่สามารถจะแบ่งทรัพย์กันๆได้ในชั้นนี้ ศาลชอบที่จะอนุญาตไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมว่าไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่

                                                -  การพิพากษาให้นำคดีมาฟ้องใหม่ได้ตาม ม.148(3)นี้    ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

                                                -  การกำหนดระยะเวลาให้โจทก์นำคดีมายื่นฟ้องใหม่ ตาม ม.148(3)   มิใช่การร่นหรือขยายระยะเวลา

                                -  คดีเดิมมีการฟ้องร้องกันและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว  ซึ่งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคำพิพากษาก็ถือว่าได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นแล้ว   เมื่อนำคดีมาฟ้องใหม่อีก   จึงเป็นฟ้องซ้ำ  แต่เนื่องจากคดีนี้ปรากฏว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมได้    ดังนั้นคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิมจึงตกไป  เท่ากับยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน  คดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ฏ.124/2546)

                                -  คดีแรกศาลได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด   ดังนั้นผลของคำพิพากษาคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยทั้งสองมิให้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงไม่มีสิทธิจะยึดรถยนต์ไว้  คดีหลังที่โจทก์นำมาฟ้องบังคับให้คืนรถยนต์เป็นการฟ้องเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิของตนเอง ซึ่งเกิดจากคำพิพากษาคดีก่อน  คดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ( ฏ.1939/2545 , 2658/2545 )

                                -  ความเสียหายที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีหลังนี้เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว   คำขอบังคับจำเลยทั้งสองตามฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงต่างกับคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองของโจทก์ในคดีก่อน  และมิใช่ประเด็นที่ศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน  ดังนั้นฟ้องโจทก์ในคดีที่สองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก ( ฏ.456/2545 , 1584/2545 , 457/2545 )

 

 

 

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 2

การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น

 

      คำฟ้อง ( มาตรา 172 )

หลัก        -   คำฟ้องต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้น

1.       คำร้องขัดทรัพย์เป็นเสมือนคำฟ้องตาม ป.วิแพ่ง ม.1(3) จึงต้องอยู่ในบังคับของ ม.172

2. คำร้องขัดทรัพย์บรรยายแต่เพียงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่โจทก์นำยึดโดยการครอบครองปรปักษ์  ที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์ของจำเลย   มิได้บรรยายว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองโดยรู้ว่าผู้ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์  ดังนั้นโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่ารับจำนองโดยสุจริต ตาม ปพพ.ม.6 จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องไม่อาจยกเอาการได้สิทธิของตนขึ้นเป็นข้อต่อสู้สิทธิของโจทก์ได้

 

หลัก        1.  คำขอบังคับ หมายถึง คำขอบังคับตามสิทธิที่ถูกโต้แย้งในขณะที่เสนอคดีต่อศาล

2.  คำขอบังคับต้องเป็นไปตามสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งแห่งข้อหา  มิฉะนั้นศาลไม่อาจบังคับให้ได้

3.  คำขอบังคับต้องบังคับเอาแก่จำเลยในคดีนั้นเท่านั้น  โจทก์จะขอให้บังคับบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นจำเลยในคดีนี้ไม่ได้

4.  คำขอบังคับจะบังคับได้เฉพาะเมื่อสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้ทำได้เท่านั้น    ดังนั้นคดีนี้เมื่อสภาพแห่งข้อหาคือการที่จำเลยสร้างเล้าไก่รุกล้ำในที่พิพาทของโจทก์ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่ได้   ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอน  มิได้บังคับแก่ที่ดินส่วนที่ผู้รับโอนได้รับโอนจากจำเลย   ดังนั้นสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับได้

 

หลัก        1.  ในชั้นตรวจคำฟ้องหากศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์  โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้

2. การยกฟ้องดังกล่าวถือว่าศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาท จึงต้องทำในรูปของคำพิพากษาตาม ป.วิพ ม.131(2) จึงต้องดูองค์คณะผู้พิพากษา

3.  กรณีศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง  ซึ่งถือว่าศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาท จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลตาม ม.151 เพราะมิใช่เรื่อง ม.18

 

 

      ฟ้องซ้อน  ( มาตรา 173 )

หลัก        1.  ห้ามโจทก์ฟ้อง

                                -   การห้ามยื่นฟ้องที่จะถือเป็นการฟ้องซ้อน  ห้ามเฉพาะโจทก์เท่านั้น  มิได้ห้ามจำเลย และรวมถึงผู้ใช้สิทธิหรือสืบสิทธิแทน    ดังนั้นจำเลยจึงยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันอีกได้

            2.   คู่ความเดียวกัน  

                                -   คดีก่อนกับคดีหลังต้องเป็นคู่ความเดียวกัน

            3.   เรื่องเดียวกัน

                                -   คือ มูลคดีเดียวกัน สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างเป็นอย่างเดียวกัน   แม้คำขอบังคับจะต่างกันก็ตาม

            4.   คดีเดิมอยู่ระหว่างการพิจารณา

                                -   คือ นับแต่เมื่อได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลแล้ว  ถือว่าคดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณาไปจนถึงศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดี  ดังนั้นหากระหว่างนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยนั้นอีกในเรื่องเดียวกัน   แม้จะฟ้องต่อศาลอื่นก็เป็นฟ้องซ้อน

                                4.1.ไม่ว่าคดีเดิมจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์  หรือ ชั้นฏีกาก็ตาม

                                4.2.คดีเดิมอยู่ระหว่างไต่สวนอนาถา  หากโจทก์ยื่นฟ้องคดีใหม่ก็เป็นฟ้องซ้อน

                                4.3.กรณีอัยการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา   เมื่อโจทก์ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการแล้ว  จะนำคดีมายื่นฟ้องจำเลยอีกไม่ได้เป็นฟ้องซ้อน

                                4.4.เมื่อร้องสอดในคดีเดิมไว้แล้ว   จะนำคดีมาฟ้องอีกไม่ได้เป็นฟ้องซ้อน

                                4.5.กรณีคดีเดิมอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ฏีกา    แต่ยังไม่มีคู่ความอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นฟ้อง ฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้อน  เพราะถือว่าไม่มีคดีเดิมอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลใด   แต่หากมีผู้อุทธรณ์ คดีที่โจทก์ฟ้องเป็นฟ้องซ้อน

                                4.6.คดีที่อยู่ระหว่างพิจารณานั้น   แม้ไม่ใช่การพิจารณาในเนื้อหาในประเด็นแห่งคดี  โจทก์ก็จะนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องไม่ได้

                                4.7.กรณีโจทก์ถอนฟ้องคดีภายหลังได้ยื่นคดีหลังไว้    ก็หาทำให้ฟ้องใหม่นั้นเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

            -   คดีเดิมเป็นเรื่องฟ้องหย่า   ส่วนคดีหลังเป็นเรื่องฟ้องขอแบ่งสินสมรส   แม้จะมีผลจากการฟ้องหย่า  แต่การฟ้องหย่าไม่จำเป็นต้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกับคำฟ้องหย่าก็ได้

            -   คดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์โดยมีคำขอส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาตาม ป.วิอาญา ม.43 ถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีส่วนแพ่งแทนผู้เสียหาย ไม่ว่าคดีนั้นผู้เสียหายจะได้ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือไม่ก็ตาม

 

      ทิ้งฟ้อง ( มาตรา 174 )

หลัก        1.   กรณี ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง      มีดังนี้.-

                                1.1.โจทก์เพิกเฉยไม่ส่งหมายเรียกให้จำเลย    ในกรณีคำฟ้องที่ต้องออกหมายเรียกให้จำเลยแก้คดี   ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายและสำเนาฟ้องให้จำเลยภายใน 7 วันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง

                                1.2.เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามที่ศาลกำหนด

                2.   โจทก์ทิ้งฟ้องศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตาม ปพพ.ม.132(1)

                                2.1.การจำหน่ายคดีหรือไม่  เป็นดุลพินิจของศาล

                                2.2.กรณีมีคู่ความร่วมฟ้องคดี   คู่ความใดทิ้งฟ้องศาลจะจำหน่ายคดีเฉพาะคู่ความที่มีเหตุทิ้งฟ้องเท่านั้น

            3.   กรณีเหตุทิ้งฟ้องตาม ม.174(1) มีเฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น

                                -   กรณีผู้อุทธรณ์หรือฏีกาไม่นำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ฏีกาในวันเวลาที่ศาลกำหนด  ถือเป็นการทิ้งฟ้องตาม ม.174(2)

            4.   กรณีทิ้งฟ้องตาม ม.174(2) เกิดขั้นได้ทุกขั้นตอนของการดำเนินคดี

                                -   หากศาลมีคำสั่งให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างใดอย่างหนึ่งชอบโดยชอบเพิกเฉยก็เป็นการทิ้งฟ้อง

            5.   โจทก์ทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์ฏีกา

                                -   หมายถึง  ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฏีกาซึ่งอาจเป็นโจทก์ หรือ จำเลยเดิมก็ได้

            6.   กรณีที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ม.174(2)

                                -   กรณีที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ม.174(2) ต้องได้ความว่าโจทก์ทราบคำสั่งของศาลโดยชอบแล้ว เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีโดยเจตนา   ดังนั้นหากเป็นกรณีที่โจทก์ยังมิทราบคำสั่งจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้

            7.   กรณีศาลมีคำสั่งให้คู่ความดำเนินคดี  แต่มิได้กำหนดเวลาไว้ให้ปฎิบัติ

                                -   คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ปฎิบัติตามคำสั่งภายในระยะเวลาอันควรปฎิบัติ   หากปล่อยเวลาทิ้งไว้นานก็ถือเป็นการทิ้งฟ้องได้

            8.   กรณีมีการส่งสำเนาอุทธรณ์หรือฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่ง

                                -   ในชั้นดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ไม่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์หรือฎีกาอีก  ดังนั้นแม้ศาลจะสั่งให้ส่งสำเนาอุทรณ์หรือฎีกา  ผู้อุทธรณ์ฎีกาไม่ส่งจะถือว่าผู้นั้นทิ้งฟ้องไม่ได้

            9.   ศาลที่มีอำนาจสั่งทิ้งฟ้องอุทธรณ์หรือทิ้งฟ้องฎีกา

                                -   คือ ถ้าเป็นการทิ้งฟ้องในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลใด  ศาลนั้นเป็นผู้มีอำนาจสั่ง

            10.   ผลของการทิ้งฟ้อง

                                10.1.   ศาลจะไม่คืนค่าขึ้นศาล ตาม ม.151 ไม่เหมือนกรณีที่โจทก์ถอนฟ้อง หรือ ยอมความ

                                10.2.   ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง  รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง

                                10.3.   ทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการยื่นฟ้อง

                                10.4.   การทิ้งฟ้องไม่ทำให้อายุความสะดุด   ดังนั้นโจทก์อาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ

·        หมายเหตุ

                (1).   กรณีที่โจทก์จำเลยท้ากันให้ถือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเสียงข้างมาก  ถ้าผู้เชี่ยวชาญเสียงข้างมากเห็นว่าซ่อมแซมไม่ได้  โจทก์จะถอนฟ้องแต่เมื่อมีความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเสียงข้างมากแล้วโจทก์ไม่ถอนฟ้อง    ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้อง

                (2).   ผลของการที่โจทก์ทิ้งฟ้องศาลย่อมไม่คืนค่าขึ้นศาลตาม ม.151  แต่สามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ ( ฏ.407/2544 )

                -   กรณีที่โจทก์ฟ้องหย่า ซึ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู  พร้อมกับเรียกค่าทดแทน ซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์   ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่มีทั้งคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ปนกันมา   เมื่อศาลสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในส่วนของค่าอุปการะเลี้ยงดู  และค่าทดแทน     แต่โจทก์เพิกเฉย ศาลย่อมจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทิ้งฟ้องได้เฉพาะส่วนที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามที่ศาลกำหนดเท่านั้น   จะจำหน่ายคดีทั้งหมดไม่ได้

            -   กรณีจะถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดตาม ม.174(2)นั้น   ต้องปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลโดยชอบแล้วเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม  หากโจทก์ไม่ทราบคำสั่งจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้

 

 

      การถอนฟ้อง ( มาตรา 175 )

หลัก        1.   การถอนฟ้องเป็นการระงับการฟ้องร้อง   โดยโจทก์ยอมถอนข้อกล่าวหาจำเลยทุกประเด็นไปจากศาล

                2.   ประเภทของการถอนฟ้อง  มี 2 กรณีคือ.-

                                2.1. การถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ     ได้แก่

                                                2.1.1.โจทก์ยื่นฟ้องแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งหมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การ

                                                2.1.2.จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว    แต่ยังไม่ได้ยื่นคำให้การต่อศาล

                                                2.1.3.จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

                                                                -   กรณีเช่นนี้โจทก์อาจถอนฟ้องโดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล

                                                                -   ศาลต้องอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง

                                                                -   ไมจำต้องส่งคำร้องขอถอนฟ้องหรือคำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง

                                2.2. การถอนฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การ

                                                2.2.1.โจทก์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง

                                                2.2.2.ต้องมีการส่งสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยทุกคนทราบ เพื่อให้สิทธิจำเลยยื่นคำคัดค้าน

                                                2.2.3.กรณีศาลมีคำสั่งอนุญาต   ศาลต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดก่อนจะมีคำสั่งอนุญาต   แต่การอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล   แม้จำเลยคัดค้านแต่ศาลเห็นว่าควรอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็ได้

                                                2.2.4.กรณีศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง   ศาลไม่จำต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดก่อน    ดังนั้นแม้ไม่มีการคัดค้านศาลก็ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

                                                2.2.5.ศาลอาจมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง  โดยมีเงื่อนไขให้โจทก์ปฏิบัติด้วยก็ได้

                3. การถอนฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน  ศาลต้องอนุญาตให้ถอนฟ้อง  จะใช้ดุลพินิจสั่งไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องไม่ได้

                4. การถอนอุทธรณ์หรือถอนฏีกา   มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการถอนฟ้องในศาลชั้นต้น

                5. การถอนฟ้องต้องกระทำก่อนศาลมีคำพิพากษา  เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วโจทก์จะถอนฟ้องไม่ได้

                6. การถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่จำต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องขอถอนฟ้องด้วย

                7. กรณีทนายความเป็นผู้ถอนฟ้องต้องมีการระบุให้อำนาจในใบแต่งทนายความ ให้มีอำนาจถอนฟ้องได้ เพราะการถอนฟ้องถือเป็นการจำหน่ายสิทธิของโจทก์

                8. คำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง  เป็นคำสั่งที่ทำให้คดีเสร็จจากศาล  ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา

 

                -   การอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่  เป็นดุลพินิจของศาล   แม้จำเลยจะไม่คัดค้านหรือคัดค้านการถอนฟ้อง   แต่หากศาลเห็นว่าไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี  ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ( ฏ.903/2547 )

 

·     หมายเหตุ       (1).   การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์

                                (2).   โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ยื่นคำให้การ  เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง  โจทก์จึงต้องส่งสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้แต่เฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ยื่นคำให้การแล้วเท่านั้น   ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นคำให้การ  เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องศาลจึงต้องสั่งอนุญาต ( ฏ.469/2546 )

 

 

      ผลของการถอนฟ้อง ( มาตรา 176 )

หลัก        1.   ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ม.132(1)

                2.   ลบล้างผลของการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีต่อมาภายหลังยื่นฟ้อง

                3.   ทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งไม่ได้มีการยื่นฟ้องเลย

                4.   โจทก์สามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ

                5.   การถอนฟ้องที่มีผลตาม ม.176   หมายถึง  การถอนฟ้องนั้นได้ถึงที่สุด

                6.   กรณีโจทก์ถอนฟ้องโดยตกลงจะไม่ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเรื่องนั้นอีก   ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกมัดโจทก์

                7.   การทิ้งฟ้อง  ถอนฟ้อง  ไม่ทำให้ฟ้องแย้งตกไป

                8.   กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดี  เพราะเหตุทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง  หากเป็นคำสั่งโดยผิดหลงศาลมีอำนาจที่จะเพิกถอนเสียได้  ตาม ม. 27

                9.   ผลในเรื่องของการคืนค่าธรรมเนียมศาล    แบ่งออกเป็น 2 กรณี

                                9.1. กรณีโจทก์ทิ้งฟ้อง     ศาลไม่จำต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

                                9.2. กรณีโจทก์ถอนฟ้อง  ศาลมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนได้ตามที่ศาลเห็นสมควรตาม ม. 151

            -   ผลของการถอนฟ้อง ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิม  เสมือนหนึ่งไม่ได้มีการยื่นฟ้อง ต้องเป็นการถอนฟ้องที่ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาล เมื่อยังมีคดีค้างอยู่ในศาล  คู่ความก็ยังไม่อาจจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการยื่นฟ้องกันได้

            -   คำร้องขอถอนฟ้องที่จะทำให้คดีเสร็จจากศาล  โดยการจำหน่ายคดีนั้น ผู้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคือตัวโจทก์ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เท่านั้น   คำร้องที่โจทก์ไม่ได้ยื่นขอถอนฟ้อง    ศาลย่อมยกคดีนั้นขึ้นพิจารณาคดีใหม่ได้  โดยการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น

 

 

      คำให้การ ( มาตรา 177 )

หลัก        1.   คำให้การ คือ การที่จำเลยยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องของโจทก์

                2.   ลักษณะของคำให้การ    มีดังนี้.-

                                2.1.คำให้การต้องทำเป็นหนังสือ   เว้นแต่ คำให้การในคดีมโนสาเร่ที่จำเลยจะให้การด้วยวาจาก็ได้

                                2.2.คำให้การต้องแสดงให้ชัดแจ้งว่า  จำเลยจะให้การรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์  ซึ่งหากคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะต้องสืบก็ถือว่าจำเลยรับตามฟ้องซึ่งทำให้จำเลยแพ้คดีไป    ดังนั้นจำเลยจึงต้องแสดงเหตุผลในการปฏิเสธโดยชัดแจ้งจึงจะถือเป็นคำให้การที่ชอบ   และก่อให้เกิดประเด็นในการนำสืบ

            3.   ประเภทของคำให้การ   แบ่งออกเป็นดังนี้.-

                                3.1.คำให้การรับตามฟ้อง

                                3.2.คำให้การปฏิเสธฟ้อง      แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ.-

                                                3.2.1.คำให้การปฏิเสธที่ไม่ได้แสดงเหตุผลประกอบ   คำให้การเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในการนำสืบของจำเลย   แต่อย่างไรก็ตามโจทก์ก็คงยังมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามฟ้องอยู่

                                                3.2.2.คำให้การที่แสดงเหตุผลประกอบ    คำให้การเช่นนี้ ก่อให้เกิดประเด็นในการนำสืบของจำเลย   จำเลยจึงนำพยานมาสืบตามคำให้การได้

                                                3.2.3.คำให้การที่ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่   คำให้การเช่นนี้  จำเลยต้องให้การโดยแสดงเหตุผลประกอบด้วย

            4.   การพิจารณาคำให้การของจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  ต้องพิจารณาจากคำให้การทั้งหมด

            5.   คำให้การที่ขัดกันเอง

                                -   คำให้การที่ขัดกันเองเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ  ถือว่าจำเลยให้การรับตามฟ้องของโจทก์

            6.   กรณีมีจำเลยหลายคน

                                -   โดยหลักแล้วจำเลยแต่ละคนต้องให้การต่อสู้คดี โดยอาศัยสิทธิของจำเลยแต่ละคน  จะอาศัยคำให้การของจำเลยอื่นเป็นคำให้การของตนไม่ได้    เว้นแต่จำเลยเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี  จึงสามารถอาศัยประโยชน์จากคำให้การของจำเลยด้วยกันได้   เช่น  ผู้ค้ำประกันอ้างคำให้การลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ ฯลฯ

            7.   กรณีมีการร้องสอดเข้ามาในคดี ตาม ม.57(1)

                                -   หากคำร้องสอดมีลักษณะเป็นคำฟ้องโต้แย้งสิทธิโจทก์จำเลยเดิม  โจทก์และจำเลยเดิมต้องแก้คำร้องสอดของผู้ร้องสอดด้วย

            8.   บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม ม.57 (3)

                                -   บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอด  มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีเช่นกัน เพราะผู้ร้องสอดตาม ม.57 (3) อยู่ในฐานะเสมือนตนถูกฟ้อง   คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาจึงมีลักษณะเป็นคำให้การต่อสู้คดี ( ฏ.748/2547)

 

หมายเหตุ             (1). จำเลยอ้างว่าโจทก์รับโอนเช็คโดยการคบคิดกันฉ้อฉลกับผู้ทรงคนก่อน  แต่ไม่ได้ให้การว่ามีการคบคิดฉ้อฉลอย่างไร

                                (2).  กรณีที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต  แต่ไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งอ้างเหตุผลประกอบว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร  จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ

                -   จำเลยมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน  ไม่จำต้องแสดงหลักฐานมาพร้อมกับคำให้การ ( ฏ.3035/2545 , 6949/2541 , 7183/2546 )

 

 

      คำให้การที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 177

หลัก        1.   จำเลยอ้างว่าโจทก์รับโอนเช็คโดยการคบคิดกันฉ้อฉลกับผู้ทรงคนก่อน  แต่ไม่ได้ให้การว่ามีการคบคิดฉ้อฉลอย่างไร

                2.   กรณีที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต   แต่ไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งอ้างเหตุผลประกอบว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร   จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ( ฏ.748/2547 )

 

 

      การแก้ไขคำฟ้องและคำให้การ ( มาตรา 179 )

หลัก        1.   กรณีโจทก์จำเลยมีข้อบกพร่อง หรือ ผิดพลาดในคำฟ้องหรือคำให้การย่อมมีสิทธิที่จะขอแก้ไขได้

                2.   หลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องและคำให้การ

                                2.1.ต้องทำเป็นคำร้อง

                                2.2.การขอแก้ไขคำฟ้องต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม   พอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้    ส่วนการขอแก้ไขคำให้การไม่ต้องเกี่ยวกับคำสั่งให้การเดิมก็ได้

                                2.3.ต้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน  ไม่น้อยกว่า  7  วัน

            3.   การขอแก้ไขคำฟ้อง

                                3.1.เพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดีเดิม  โดยไม่ได้ตั้งทุนทรัพย์ขึ้นมาใหม่นอกเหนือจากฟ้องเดิมไม่ได้

                                3.2.สละข้อหาตามฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมบางข้อ    ดังนั้นฟ้องเดิมเสียไปหรือใช้ไม่ได้ก็จะขอเพิ่มเติมฟ้องไม่ได้    ดังนั้นฟ้องเดิมต้องชอบด้วยกฎหมาย

                                3.3.กรณีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง    เช่น

                                                3.3.1.ขอศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลย  ตาม ม. 57(3)

                                                3.3.2.ขอแก้ไขชื่อจำเลย   เนื่องจากความบกพร่องหรือการระบุชื่อจำเลยผิดไปซึ่งไม่ใช้การเปลี่ยนตัวจำเลย

                                3.4.กรณีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ได้   เช่น

                                                3.4.1.ฟ้องผิดคนจะขอแก้ไขคำฟ้องไม่ได้    เพราะเป็นการเปลี่ยนตัวจำเลย

                                                3.4.2.การขอแก้ฟ้องโดยเพิ่มจำนวนจำเลยหรือเปลี่ยนตัวจำเลยไม่ได้

                                3.5.อายุความการเพิ่มเติมฟ้อง   เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ปพพ. ม.193/14 แม้โจทก์มาเพิ่มเติมฟ้องภายหลังคดีขาดอายุความก็ตาม  ก็ถือว่าฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

                                3.6.การขอเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์ย่อมมีผลทำให้ทุนทรัพย์ในการฟ้องเปลี่ยนแปลงไป  ดังนั้นกรณีโจทก์ขอเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์  โจทก์จึงมีหน้าที่ที่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม   แต่หากโจทก์ลดจำนวนทุนทรัพย์ศาลก็ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ตามส่วน

            4.   การขอแก้ไขคำให้การ

                                4.1.การที่จำเลยขอแก้ไขโดยการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่  เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือ ที่ยื่นภายหลัง

                                4.2.การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้างหรือข้อเถียง  เพื่อสนับสนุนข้อหาหรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

                                4.3.คำให้การที่ขอแก้ไขไม่จำต้องเกี่ยวกับคำให้การที่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้เดิมไว้

                                4.4.กรณีโจทก์สละข้อหาตามฟ้องเพิ่มเติม  จำเลยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขในประเด็นนั้นอีก

            5.   กรณีไม่เป็นการแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ    เช่น

                                5.1.ศาลสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดเจนในการชี้สองสถาน

                                5.2.การขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ตาม ม.56

            6.   ผลของคำสั่ง

                                6.1.กรณีศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ   ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

                                6.2.กรณีศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ  ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา  แต่ถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ เพราะการขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การเป็นการตั้งประเด็น  ดังนั้นผู้ยื่นคำขอย่อมอุทธรณ์ฏีกาได้ ตาม ม.228 ทันที โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันมีคำสั่งหรือรอไว้อุทธรณ์ เอศาลมีคำพิพากษาก็ได้

 

                -   แม้จำเลยไม่จำต้องแก้ไขคำให้การ  โดยต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมก็ตาม  แต่คำให้การที่ยื่นมาใหม่นี้ ต้องไม่ถึงขนาดเป็นการขัดคำให้การเดิมที่จำเลยได้ยื่นเอาไว้  เพราะหากศาลอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ  ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การเดิมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท  ที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การจึงชอบแล้ว

 

 

      กำหนดเวลาในการยื่นขอแก้ไขคำฟ้องคำให้การ  ( มาตรา 180 )

หลัก        1.   การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การให้ทำเป็นคำร้อง

                2.   ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องคำให้การต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือ ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ในกรณีไม่มีการชี้สองสถาน 

                                2.1.กรณีมีการชี้สองสถาน     ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องคำให้การก่อนวันชี้สองสถาน   แต่ถ้าคดีไม่มีการชี้สองสถาน จึงจะยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันสืบพยาน

                                2.2.วันชี้สองสถาน และ วันสืบพยาน   หมายถึง วันที่ศาลได้ทำการชี้สองสถาน หรือ ทำการสืบพยานจริงๆ

                                2.3.ในกรณีที่ศาลชั้นต้นงดชี้สองสถาน และงดสืบพยาน    แล้วนัดฟังคำพิพากษาเช่นนี้  หากต้องการยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

                3.   กรณียื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหรือคำฟ้องภายหลังระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ได้

                                3.1.มีเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนี้

                                3.2.เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

                                3.3.เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย

                4.   การอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องคำให้การหรือไม่  เป็นดุลพินิจของศาล

                5.   คดีมโนสาเร่การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การก็ต้องอยู่ในบังคับตามหลักเกณฑ์ของ ม.180 เช่นกัน

                6.   ระหว่างที่ศาลไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์   โจทก์ย่อมมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ได้

                -   การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ  ต้องยื่นคำร้องภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลกำหนด เว้นแต่            1.   มีเหตุอันสมควรไม่อาจยื่นขอแก้ไขภายในกำหนด

                2.   เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

                3.   เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย  ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถหรือไม่   ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์จึงยื่นขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนด ตาม ป.วิ.พ. ม.180 ได้ ( ฏ.3579/2545 , 7361/2544 , 408/2538 )

 

 

 

การพิจารณาคดีโดยขาดนัด

 

      การขาดนัดยื่นคำให้การ

หลัก        -   การขาดนัดยื่นคำให้การ  เป็นกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ    แล้วมิได้ยื่นคำให้การภายในที่กำหนดตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล

                -   กรณีจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การต้องได้ความว่า จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้ว ไม่ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กำหนด

                -   การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นไปโดยผลของกฎหมาย กล่าวคือ  เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้วไม่ได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล  โดยคู่ความอีกฝ่ายไม่ต้องมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งอีก

                -   กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ   โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด   มิฉะนั้นศาลมีอำนาจที่จะจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความ

            -   ในกรณีที่ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ.ม.198 วรรคสอง ประกอบมาตรา 132(2)  ศาลไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

            -   กรณีศาลพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์ขอให้ชนะคดีโดยขาดนัด  เมื่อศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานโจทก์แล้ว   ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามที่โจทก์มีคำขอ

 

 

      การขอให้พิจารณาภายหลังศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีโดยขาดนัด

หลัก        1.   กำหนดเวลาในการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่

                                1.1.ภายใน 15 วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา หรือ คำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ  ซึ่งการส่งต้องมีการส่งโดยชอบและระยะเวลาจะเริ่มนับจากวันส่งคำบังคับ   ไม่ใช่วันที่สิ้นกำหนดในคำบังคับ

                                1.2.ภายใน 15 วันนับจากวันที่ศาลกำหนดให้มีผล

                                1.3.ภายใน 15 วันนับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุด

                                                1.3.1.พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้

                                                                -   หมายถึง  เหตุที่ทำให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่สามารถจะยื่นคำให้การภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่ศาลกำหนด

                                                1.3.2.กรณีที่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้

                                                                -   กรณีไม่ทราบว่าถูกฟ้องเพราะอยู่ต่างประเทศ

                                                                -   จำเลยเจ็บป่วย

                                                1.3.3.พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้  ไม่ได้เกิดจากความผิดของจำเลย

                                1.4.ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับ  ตามคำพิพากษา หรือ คำสั่งโดยวิธีอื่น

            2.   การบรรยายคำขอ

                                2.1.ต้องบรรยายถึงเหตุที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยชัดแจ้ง

                                2.2.คำคัดค้าน  คำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่า   หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่  จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี   ไม่ว่าจะชนะทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม

                                2.3.กรณียื่นคำขอล่าช้า  ต้องแสดงเหตุที่ยื่นคำขอล่าช้าด้วย  ซึ่งมีได้เพียง  2  กรณี คือ.-

                                                2.3.1.ไม่ได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลส่งคำบังคับให้จำเลย

                                                2.3.2.ไม่ได้ยื่นคำขอภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลกำหนด

 

                -   ระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตาม ม. 199 จัตวา วรรคหนึ่ง จะเริ่มนับต่อเมื่อมีการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและคำบังคับเป็นไปโดยชอบ ( ฏ.739/2542 )

 

 

      กรณีจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ

                -   ฏ.2888-2889/2531 , 4626-4629/2530

 

 

      พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบัคับได้ ต้องไม่ได้เกิดเพราะความผิดของจำเลย

 

 

 

      ผลของการอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ( ตามมาตรา 199 เบญจ )

                -   คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่จะถือเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ ม.199 เบญจ วรรคสี่ ต้องเป็นคำสั่งในเรื่องที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ของศาลชั้นต้น ( คร.3779/2546 )

                -   ศาลอุทธรณ์พิพากษาในกรณีที่ผู้ขอให้พิจารณาคดีใหม่อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่  ไม่ว่าศาลอุทธรณ์จะพิพากษาอนุญาตหรือไม่  คำพิพากษาดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด  ผู้ขอไม่มีสิทธิฏีกาได้ ( ฏ.3529/2546 )

                -   ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดีตาม ม.199 วรรคหนึ่ง  หากศาลเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ  จำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลไว้ตาม ม.226 (1)  เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ตาม ม.226(2)  ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืน  กรณีนี้จำเลยฏีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ไม่ต้องห้ามตาม ม. 199 เบญจ วรรคสี่ ( ฏ.2115/2546 ป )

 

 

      การขาดนัดพิจารณา

                -   ฏีกาที่น่าสนใจ มี  ฏ.6721/2544  ,   6588/2541   ,  3388/2545

                -   กรณีโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน  โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี  ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา  ซึ่งศาลจะต้องจำหน่ายของโจทก์ออกจากสารบบความ   เว้นแต่ จำเลยได้ขอให้ศาลพิจารณาคดีต่อไป  โดยไม่ต้องคำนึงว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์จะเป็นไปโดยจงใจหรือไม่   หรือมีเหตุสมควรประการใด ( ฏ.7695/2546 )

 

·          หมายเหตุ    (1).กรณีศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดตาม ป.วิ.พ.ม.203  ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี

                                (2). อุทธรณ์ของโจทก์ฉบับหลังอ้างเหตุว่าไม่ได้จงใจขาดนัด  มิได้อ้างว่าศาลดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเช่นอุทธรณ์ฉบับเก่า    จึงเป็นอุทธรณ์ขอให้พิจารณาคดีใหม่ด้วยเหตุมิได้จงใจขาดนัด  ซึ่งเป็นการอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

                                (3). หากกรณีจำหน่ายอุทธรณ์คำขอฉบับแรกด้วยเหตุที่ศาลยกคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นนี้  โจทก์สามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไปได้

                                (4). สิทธิของโจทก์ที่ศาลจำหน่ายคดีเพราะเหตุขาดนัดพิจารณาตาม ม.202 นั้น  โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความ

                -   กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ทนายโจทก์ถอนตัวจากการเป็นทนายความต้องถือว่าทนายความนั้นยังดำเนินคดีแทนโจทก์  เมื่อเซ็นทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วถือว่าโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้ว   เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี  จึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา   ศาลชอบที่จะจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความได้

                -   โจทก์ขาดนัดพิจารณา  โดยหลักแล้วศาลจะจำหน่ายคดี    เว้นแต่ จำเลยแจ้งต่อศาลให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป  การแถลงว่าแล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่ง ไม่ถือว่าเป็นการแจ้งให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

 

 

 

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 3

การอุทธรณ์ - ฏีกา

 

      อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย  ( มาตรา 223 ทวิ )

หลัก        1.   ประเภทของคดีที่ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา

                                1.1.ต้องเป็นคดีที่อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฏหมายเท่านั้น

                                1.2.ต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ได้มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด

                                1.3.ต้องได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

                                1.4.มิใช่อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา

            2.   ผู้มีอำนาจยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา  คือ ผู้ที่ยื่นอุทธรณ์เท่านั้น

            3.   หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา

                                3.1.ทำเป็นคำร้องขอ

                                3.2.ต้องยื่นมาพร้อมกับฟ้องอุทธรณ์

                                3.3.ต้องไม่มีการยื่นอุทธรณ์ ตาม ม.223

                                3.4.จำเลยไม่ได้ยื่นคัดค้านคำร้องดังกล่าว

            4.   ผลของคำสั่งให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกาของศาลชั้นต้น

                                4.1.คำสั่งอนุญาตเป็นที่สุด

                                4.2.คดีนั้นอยู่ในอำนาจของศาลฏีกา

            5.   กรณีศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา

                                5.1.หลัก                 คำสั่งไม่อนุญาตเป็นที่สุด

                                5.2.ข้อยกเว้น       คำสั่งไม่อนุญาตด้วยเหตุผลว่าเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง  ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตุให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา  ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง

            6.   การพิจารณาอุทธรณ์ของศาลฏีกา

                                6.1.กรณีอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายปนกันมา  ให้ศาลรับปัญหาข้อกฎหมายไว้วินิจฉัยต่อไป   ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลฏีกาส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดต่อไป

                                6.2.กรณีเป็นอุทธรณ์ที่มีข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ และมีข้อกฎหมายปนกันมา  ให้ศาลฏีการับปัญหาข้อกฎหมายไว้พิจารณา   ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม ศาลฏีกาก็ชอบที่จะยกอุทธรณ์ดังกล่าวได้

                                6.3.กรณีเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง   แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย  กรณีเช่นนี้ให้ศาลฏีกาส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยได้

                                6.4.ข้อกฎหมายที่คู่ความได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา  แล้วเห็นว่าข้อกฎหมายนั้นฟังขึ้นและคดีได้มีการสืบพยานแล้ว    หากศาลฏีกาเห็นสมควรก็อาจวินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไปโดยไม่ย้อนสำนวนก็ได้

 

                -   การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา    แต่สั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลฏีกา   ถือว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฏีกาแล้ว ( ฏ.2433/2547 )

 

Ø  หมายเหตุ       (1). การที่โจทก์ยื่นอุทรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฏีกา   ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งคำร้องให้คู่ความอีกฝ่ายเพื่อคัดค้าน   หากคู่ความอีกฝ่ายไม่คัดค้าน และเป็นคดีที่ไม่มีการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ ม.223 ทวิ  ศาลจึงจะมาพิจารณาว่าควรให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกาหรือไม่

(2).  การที่ศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายที่ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา    โดยไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายคัดค้านย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย

 

 

      คำสั่งระหว่างพิจารณา  ( มาตรา 226 )

หลัก        1.   ความหมายของคำสั่งระหว่างพิจารณา

                                1.1.เป็นคำสั่งของศาลที่สั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี  ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งรับคำฟ้องไว้แล้วหรือไม่   ซึ่งมีข้อควรพิจารณาดังนี้.-

                                                1.1.1.แม้ศาลจะได้ทำคำพิพากษาหรือคำสั่งเสร็จแล้ว    แต่ตราบใดที่ศาลยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล    หากศาลมีคำสั่งใดๆที่ไม่ทำให้คดีเสร็จจากศาลก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

                                                1.1.2.ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด  ในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว   แต่หากยังต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณา  เพื่อมีคำสั่งชี้ขาดตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่อีก  คำสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวก่อนมีคำสั่งชี้ขาดตามคำขอนั้น     ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เช่น  ศาลมีคำสั่งใดๆระหว่างการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่

                                1.2.คำสั่งนั้นไม่ทำให้คดีเสร็จจากศาล   กล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งใดๆไปแล้ว   ศาลยังคงต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอีก

                                1.3.คำสั่งนั้นไม่ใช้คำสั่งตาม ม.227 และ 228

                2.   กรณีถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา     เช่น

                                2.1.คำสั่งอนุญาตให้ขยายเวลาในการวางเงินค่าขึ้นศาล

                                2.2.คำสั่งอนุญาตให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ

                                2.3.คำสั่งงดสืบพยาน

                                2.4.คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี

                                2.5.คำสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้อง  คำให้การ

                                2.6.คำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง

                3.   กรณีไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา     เช่น

                                3.1.คำสั่งไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความ   ตาม ม.18

                                3.2.คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น  ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือบางส่วน

                                3.3.คำสั่งจำหน่ายคดี

                                3.4.คำสั่งไม่อนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ

                                3.5.คำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง

                4.   หลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา

                        4.1.คู่ความประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้

                                                4.1.1.ต้องโต้แย้งภายหลังศาลมีคำสั่งในเรื่องนั้นแล้ว   การโต้แย้งก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ถือเป็นการโต้แย้งตาม ม.226

                                                4.1.2.วิธีการโต้แย้งอาจทำได้ดังนี้.-

                                                                (ก). กรณีอยู่ต่อหน้าศาลก็แถลงด้วยวาจา  โดยให้ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา

                                                                (ข).   กรณีไม่ได้อยู่ต่อหน้าศาลก็ทำเป็นคำแถลงยื่นต่อศาล

                                                4.1.3.กำหนดเวลาโต้แย้ง ป.วิพ.ม.226 ไม่ได้กำหนดเวลาในการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้  แต่มีข้อพิจารณาดังนี้.-

                                                                (ก).   คู่ความต้องมีเวลาในการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา  เช่น  ศาลมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้น  ทนายรับทราบคำสั่งในวันนั้น ถือว่ามีโอกาสโต้แย้งคำสั่ง

                                                                (ข).   กรณีคู่ความไม่มีเวลาเพียงพอในการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา  เช่นนี้ก็สามารถอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องโต้แย้ง   เช่น เสมียนทนายไปยื่นคำร้องของเลื่อนคดีแทน  ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วนัดฟังคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้น  ถือว่าไม่มีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่ง

                        4.2.ผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา

                                                4.2.1.คู่ความที่ไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้   ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างนั้น

                                                4.2.2.หากคู่ความไม่โต้แย้งคำสั่งไว้  แต่ศาลได้ทำการวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์  ต้องห้ามฏีกาตาม ป.วิพ.ม.249

                                                4.2.3.เมื่อคู่ความได้โต้แย้งคำสั่งไว้แล้ว   ชอบที่จะทำการอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี

 

§ หมายเหตุ            

(1). คดีมีประเด็นว่าการที่ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้องตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ ตาม ป.วิพ.ม.226(2) ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้หรือไม่  เมื่อคำร้องขอให้บังคับจำนวนของผู้ร้องเป็นคำฟ้องจะเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละเท่าใด  เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย  ดังนั้นแม้ผู้ร้องไม่โต้แย้งคำสั่งใช้ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ตาม ป.วิพ.ม.225 วรรคสอง                                         

(2). การอุทธรณ์โดยยกเหตุว่าศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้ถูกต้องตามกฎหมาย  แม้จะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก็อุทธรณ์ได้  โดยไม่จำต้องโต้แย้งไว้ก่อน ตาม ป.วิพ.ม.168

 

 

      การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์  ( มาตรา 234 )

หลัก      1.   กรณีศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ แล้วมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์    ผู้อุทธรณ์มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้

                2.   เหตุที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์    มีหลายสาเหตุดังนี้.-

                                2.1.ไม่รับเพราะยื่นเกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ม. 229

                                2.2.ไม่รับเพราะไม่ชำระค่าธรรมเนียมครบถ้วน ตาม ม. 18 และ ม. 229

                                2.3.ไม่รับเพราะไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียม ที่จะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษา

                                2.4.ไม่รับเพราะทนายความไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในอุทธรณ์

                                2.5.ไม่รับเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้าม ตาม ม. 224 ถึง ม. 226

                3.   หลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์

                                3.1.ผู้อุทธรณ์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง

                                3.2.กำหนดเวลาในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง  ผู้อุทธรณ์ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์  ซึ่งผู้อุทธรณ์ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว   หากผู้อุทธรณ์ไม่ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดคำสั่งไม่รับอุทธรณ์นั้นย่อมเป็นที่สุด

                4.   วิธีการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง

                                4.1.ผู้อุทธรณ์ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาล

                                4.2.ในกรณีที่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นบังคับให้ใช้หนี้เงินผู้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องนำมาชำระตามคำพิพากษา หรือ หาประกันมาวางศาลเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการที่คดีต้องล่าช้าออกไป

                                4.3.ผู้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์มีสิทธิที่จะวางเงิน หรือ หาหลักประกันมาวางก็ได้

                                4.4.การวางเงินตามมาตรานี้ เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์  ดังนั้นเมื่อศาลเห็นว่าผู้อุทธรณ์คำสั่งไม่วางเงินหรือหาประกัน  ก็ชอบที่จะไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้

 

            -   กรณีศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์  ผู้อุทธรณ์ต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 15 วันตาม ป.วิ พ.ม.234 และศาลชั้นต้นมีหน้าที่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ไม่ว่าผู้อุทธรณ์จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 15 วันหรือไม่ก็ตาม   ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดนั้นต้องส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เท่านั้น ( ฎ.9407/2546 )

                -   คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิพ.ม.236 ต้องเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์   การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าหากจำเลยยังติดใจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์  ให้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล   และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำพิพากษา  จึงไม่เป็นการยื่นตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์   จำเลยจึงมีสิทธิฏีกาได้ ( ฏ.365/2546 )

 

§          หมายเหตุ            

(1). แม้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จะไม่ใช่เรื่องเนื้อหาในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้อง คำให้การ ก็ต้องอยู่ในบังคับของ ม.234

(2). การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว  ผู้อุทธรณ์คำสั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ ม. 234 ( ฏ.3199/2547 )

 

                -   ในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น  ผู้อุทธรณ์ต้องปฏิบัติดังนี้จึงจะมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ตาม ม.234 ได้    คือต้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์  และวางเงินหรือหาหลักประกันสำหรับจำนวนหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา และค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล ( ฏ.226/2547 )

 

 

 

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4

 

      วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา  ( มาตรา 253-270 )

หลัก        -   เมื่อโจทก์มีคำขอคุ้มครองชั่วคราว ตาม ม. 254 ศาลต้องทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อนว่า มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ร้องขอมาหรือไม่เสียก่อน ( ฏ.1638/2546 )

                -    คำขอของจำเลยใช่เป็นเรื่องที่จะขอให้ศาลกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ตาม ม.264 ดังนั้นจำเลยต้องนำไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ( ฏ.6041/2545 )

                -   ตามฏีกาที่ 5662-5663/2545 ,  704/2545 และ 2632/2546  เป็นคดีที่ต้องวินิจฉัยไว้ 2 ประเด็น คือ.-

                        1. ประเด็นแรก

                                                -   เมื่อจำเลยได้ตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์แล้ว   ต่อมายังไปทำสัญญาขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 21 และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไปแล้ว  ซึ่งจะเห็นว่าในระหว่างพิจารณา  จำเลยที่ 21 อาจโอนที่ดินดังกล่าวนั้นไปให้แก่ผู้อื่นได้  ซึ่งย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โดยเมื่อโจทก์ชนะคดีแล้วจะไม่สามารถบังคับให้โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้   ศาลฏีกาจึงวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสมควร และมีเหตุเพียงพอที่จะใช้วิธีการชั่วคราวโดยห้ามไม่ให้จำเลยที่ 21 โอนที่พิพาทแก่บุคคลอื่นในระหว่างพิจารณา

                        2. ประเด็นที่สอง

                                                -   ศาลฏีกาวินิจฉัยถึงจำนวนเงินที่ศาลสั่งให้วาง โดยศาลอุทธรณ์ให้โจทก์วางเงินเพียง 100,000 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในที่ดิน ซึ่งมีมูลค่าถึง 500 ล้านบาท  จะเห็นว่าเงินจำนวน 100,000 บาทนั้น  ย่อมไม่เพียงพอต่อการชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย  ถ้าหากโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี   ดังนั้นศาลฏีกาจึงกำหนดให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพิ่มเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท

 

 

 

      การบังคับคดีตามคำพิพากษา  ( มาตรา 271 )

หลัก        1.   คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี  ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

                2.   คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง

                        2.1.ผู้มีสิทธิบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง

                                                2.1.1.คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี ( เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา )

                                                                -   โจทก์

                                                                -   จำเลย

                                                                -   ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี

                                                2.1.2.คู่ความหรือบุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้ชนะคดี ( ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ) ย่อมไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดี  เช่น

                                                                -   ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด

                                                                -   เจ้าหนี้ของผู้ชนะคดี

                                                                -   เจ้าพนักงานบังคับคดี

                                                                -   บุคคลภายนอกที่ได้รับประโยชน์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

                        2.2.ขั้นตอนการขอให้บังคับคดี

                                                2.2.1.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ตาม ม. 275

                                                2.2.2.ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่า  ศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้วตาม ม. 276

                                                2.2.3.ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ ตามคำพิพากษา ตาม ม. 278

                        2.3.กำหนดเวลาในการบังคับคดี

                                                -    เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องร้องขอให้บังคับคดีตามขั้นตอนครบถ้วนภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง                                               

1.ไม่นำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลง ตาม ม.193/14 มาใช้กับระยะเวลาในการบังคับคดี

2.กำหนดเวลาบังคับคดี ตาม ม. 271 ไม่ใช่อายุความ   ดังนั้นการที่เจาหนี้ตามคำพิพากษาไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ทำให้กำหนดเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดลง                               

3.ระยะเวลา 10 ปี ตาม ม. 271 เป็นระยะเวลาตาม ป.วิ พ.จึงขยายหรือย่นได้

                                                4.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีจะขอบังคับคดีเพิ่มเติมขึ้นใหม่ต้องดำเนินการภายในกำหนด 10 ปี

                                                5.กรณีบังคับคดีภายในกำหนด  แม้บังคับคดีไม่เสร็จ ก็มีสิทธิดำเนินการได้แม้เกิน 10 ปี

 

 

      หมายบังคับคดี  ( มาตรา 276 )

หลัก        1.   หลักเกณฑ์ในการออกหมายบังคับคดี

                                1.1.ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบคำบังคับแล้ว ( ม. 272 )

                                1.2.ล่วงพ้นเวลาที่ศาลกำหนดไว้ในคำบังคับแล้ว ( ม. 273 )

                                1.3.คำขอนั้นมีข้อความระบุไว้ครบถ้วน ( ม. 275 )

            2.   ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว

                                -   เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องส่งหมายแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ   เว้นแต่ เจ้าหนี้จะนำหมายบังคับคดีไปส่งเอง

            3.   การขอหมายบังคับคดีเป็นคำขอฝ่ายเดียว

                                -   เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีจึงไม่ต้องส่งหมายให้ลูกหนี้ทราบก่อน   ดังนั้นการไปยึดทรัพย์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบ เพราะไม่พบตัวจำเลยก็ไม่ทำให้การยึดเสียไป

            4.   การออกหมายบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินบางอย่างโดยเฉพาะ

                                -   กรณีมีข้อสงสัย ศาลจะให้ผู้ขอออกหมายบังคับคดีวางเงินประกันในเวลาที่ขอออกหมายก้ได้  เพื่อป้องกันการบุบสลายหรือสูญหาย  อันจะพึงเกิดขึ้นได้จากการยึดทรัพย์ผิด

            5.   การบังคับคดีจะบังคับได้โดยวิธีดังนี้.-

                                5.1.   ส่งมอบทรัพย์สิน 

                                5.2.   กระทำการ 

                                5.3.   งดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง 

                                5.4.   ให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้ระบุเงื่อนไขการบังคับลงในหมาย  ดังนั้นการออกหมายมี 2 เรื่องดังนี้.-

                                                5.4.1.ยึดหรืออายัดทรัพย์สินมาเพื่อบังคับชำระหนี้

                                                5.4.2.การฟ้องบังคับขับไล่เมื่อมีกรณี ตาม ม. 296 ทวิ

            6.   การกำหนดการบังคับคดี  ต้องบังคับคดีเท่าที่สภาพแห่งหนี้จะเปิดช่องให้ทำได้

                                6.1.   กรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้  เช่น

                                                -   ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า เอาห้องเช่าไปให้ผู้อื่นเช่า จะบังคับให้ผู้เช่าได้เช่าอยู่ไม่ได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้

                                                -   บังคับคดีให้ไปจดทะเบียนหย่าไม่ได้

                                                -   บังคับห้ามจำเลยมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับสามีโจทก์ไม่ได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่อง ฯลฯ 

                                6.2.   กรณีที่สภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้ทำได้  เช่น

                                                -   บังคับให้ส่งมอบโฉนดที่ดิน

                                                -   บังคับให้รื้อถอนกำแพงรั้วที่สร้างรุกล้ำที่ดิน ฯลฯ

 

 

      ผู้มีส่วนได้เสีย  ( มาตรา 280 )

หลัก        ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี   แบ่งออกเป็น  2  ประเภท

                1.   ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง  คือ บุคคลตาม ม. 280(1)

                                1.1.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

                                1.2.ลูกหนี้ตามคำพิพากษา

                                1.3.ลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องในกรณีมีการอายัดสิทธิเรียกร้อง

                2.   ผู้มีส่วนได้เสีย เพราะเกี่ยวข้องกับการบังคับคดีบุคคลตาม ม.280 (2)

                                2.1.ผู้ร้องขัดทรัพย์

                                2.2.ผู้รับจำนองทรัพย์สินของลูกหนี้

                                2.3.เจ้าหนี้บุริมสิทธิ

                                2.4.ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์

                                2.5.ผู้มีสิทธิจดทะเบียนได้ก่อน

                                2.6.ผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด

                                2.7.กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดี

                                2.8.บังคับคดีฝ่าฝืน ( ฏ 2527/43 )

 

 

      การร้องขัดทรัพย์  ( มาตรา 288 )

หลัก        1.   คดีที่ร้องขัดทรัพย์ได้

                                -   ต้องมีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อบังคับชำระหนี้

            2.   ผู้มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

                                -   ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของก็ได้  เพียงแต่การบังคับคดีของโจทก์นั้น ก่อให้เกิดการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องขัดทรัพย์ก็สามารถจะร้องขัดทรัพย์ได้   ในกรณีดังต่อไปนี้.-

                                2.1.   เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึด

                                2.2.   ผู้มีส่วนได้เสียกับทรัพย์ที่ถูกยึด   เช่น

                                                2.2.1.ผู้ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ตาม ปพพ.ม.1382

                                                2.2.2.ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของศาล หรือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม ปพพ.ม.1330

                                                2.2.3.ผู้เช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึด

                                                2.2.4.ผู้รับสัมปทานจากรัฐให้มีสิทธิถือเอาไม้ในป่าตามที่กำหนด  ย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์

                                                2.2.5.เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดิน  มีสิทธิร้องขอขัดทรัพย์เมื่อมีการยึดที่ดินที่ดูแล

            3.   ผู้ไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์      ได้แก่

                                3.1.จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา

                                3.2.ผู้รับจำนำ

                                3.3.ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง

                                3.4.เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา

                                3.5.ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน

                                3.6.เจ้าของทรัพย์ส่วนควบ

                                3.7.ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย

            4.   วิธีการร้องขัดทรัพย์

                                4.1.คำร้องขัดทรัพย์เปรียบเสมือนคำฟ้อง  จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ  ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ม.172

                                4.2.คำร้องขัดทรัพย์  ผู้ยื่นคำร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์

                                4.3.เหตุที่อ้างในคำร้องขัดทรัพย์  จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึด

                                4.4.กรณีที่ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอ้างเหตุดังต่อไปนี้  มาในคำร้องขัดทรัพย์ไม่ได้  เพราะไม่ถือเป็นประเด็นในคำร้องขัดทรัพย์  เช่น

                                                4.4.1.อ้างว่าหนี้ตามคำพิพากษาเกิดจากการสมยอม  ถือว่าไม่เกี่ยวกับการร้องขัดทรัพย์

4.4.2.ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าใครมีสิทธิในทรัพย์  กรณีมีการร้องขัดทรัพย์หลายคน

                                                4.4.3.เรียกค่าเสียหายในการที่ถูกยึดทรัพย์มาในคำร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

            5.   กำหนดเวลายื่นคำร้องขัดทรัพย์

                                -   การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ยื่นคำร้องต้องยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเอาทรัพย์สินที่ยึดไว้นั้นออกขายทอดตลาด หรือ จำหน่ายโดยวิธีอื่น

            6.   ศาลที่รับคำร้องขัดทรัพย์

                                6.1.ถ้าคดีเดิมยื่นฟ้องที่ศาลแขวง ซึ่งอาจมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท แม้คดีร้องขัดทรัพย์จะมีทุนทรัพย์เกินกว่า 300,000 บาท  ก็ต้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลแขวง  ทั้งนี้เพราะศาลแขวงคือศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น

                                6.2.ถ้าคดีเดิมยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัด  ซึ่งมีผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาพิพากษา  แต่ในคดีร้องขัดทรัพย์มีทุนทรัพย์เดินกว่า 300,000 บาท  กรณีดังกล่าวต้องมีผู้พิพากษาที่พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีครบองค์คณะ

            7.   เมื่อมีการร้องขัดทรัพย์

                                -   เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการขายทอดตลาด หรือ จำหน่ายทรัพย์สินระหว่างรอคำวินิจฉัย

            8.   เมื่อมีการยื่นคำร้องขัดทรัพย์  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำร้องขอให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินประกันต่อศาล

                                8.1.คำสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินประกันเป็นที่สุด

                                8.2.ผลของการไม่วางเงินประกันตามที่ศาลสั่ง  ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้ (ฏ. 2648/2547 )

 

 

 

      การขอเฉลี่ยทรัพย์  ( มาตรา 290 )

หลัก        1.   การขอเฉลี่ยทรัพย์

                                -   คือ  การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นขอให้ได้รับชำระหนี้  โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้นำยึด  หรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

                2.   การให้เฉลี่ยทรัพย์ เพื่อไม่ให้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินสิ่งเดียวกันซ้ำอีก

            3.   การยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา  ไม่ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดอีก   ไม่ถือเป็นการยึดหรืออายัดซ้ำตาม ม. 290

                4.   กรณีเจ้าหนี้จำนองหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้   กรณีเช่นนี้ต้องนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปชำระให้กับเจ้าหนี้จำนองหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิก่อนแล้วเหลือเงินเท่าไหร่  จึงนำมาเฉลี่ยให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

            5.   หลักเกณฑ์การยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์

                                5.1.   ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งของลูกหนี้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว

                                5.2.   ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคน

                                5.3.   หนี้ที่ขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่จำต้องเป็นหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว และไม่ต้องเป็นหนี้ที่ได้ออกคำบังคับหรือหมายบังคับ

                                5.4.   เป็นกรณีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  ไม่สามารถบังคับเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่นๆของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยสิ้นเชิง   ดังนั้นแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะมีทรัพย์สินอยู่  แต่ไม่เพียงพอที่จะชำระให้ผู้ร้องได้โดยสิ้นเชิง  ก็ไม่เป็นเหตุที่จะไม่อนุญาตให้ร้องเฉลี่ยทรัพย์ได้

            6.   ผู้มีสิทธิของเฉลี่ยทรัพย์

                        6.1.   เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

                                                6.1.1.ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น  หากคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่อาจยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ได้

                                                6.1.2.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่รวมถึงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของคู่สมรส

                                                6.1.3.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของนายประกันที่ถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดชำระเงินค่าปรับ  มีสิทธิยื่นขอเฉลี่ยได้

                                                6.1.4.หมายความถึงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลไทยเท่านั้น

                                                6.1.5.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่จำต้องแต่งทนายความในการขอเฉลี่ย

                        6.2.   เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร  มีดังนี้.-

                                                6.2.1.กรณีเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร ได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างไว้แล้ว   เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายมีสิทธิขอเฉลี่ยในทรัพย์สินที่ตนได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อนได้  โดยไม่ต้องคำนึงว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินอื่นๆอีกหรือไม่

                                                6.2.2.กรณีเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร ไม่ได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อน   ศาลจะอนุญาตให้เจ้าพนักงานขอเฉลี่ยได้  ต่อเมื่อศาลเห็นว่าไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์อื่นๆของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

            7.   กำหนดเวลายื่นขอเฉลี่ยทรัพย์

                                7.1.   กรณียึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด หรือ จำหน่ายโดยวิธีอื่น  ให้ยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลา  14  วันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น ( หมายถึง การขายทอดตลาดที่สมบูรณ์ด้วยการเคาะไม้ )

                                7.2.   กรณียึดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้

                                7.3.   กรณียึดเงิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันยึดเงิน

                                7.4.   กรณีที่มีการบังคับคดีแทนโดยศาลอื่น  การนับกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตาม ม.290 วรรคห้า  ต้องเริ่มนับเมื่อได้มีการส่งเงินหรือส่งทรัพย์สินมายังศาลที่ออกหมายบังคับคดี คือวันที่ศาลออกหมายบังคับคดีได้รับเงินหรือทรัพย์สินนั้นจากศาลที่บังคับคดีแทนส่งมาให้

            8.   วิธีดำเนินการเกี่ยวกับการขอเฉลี่ยทรัพย์

                                8.1.   วิธีดำเนินการของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์

                                                -ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง

                                                -ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี

                                                -ต้องยื่นคำขอพร้อมสำเนา

                                8.2.   วิธีดำเนินการของศาล

                                                -   ศาลเมื่อได้รับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จะทำการไต่สวนคำขอ

                                                8.2.1.มีคำคัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์  ศาลจะไต่สวนคำร้อง

                                                8.2.2.ไม่มีคำคัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์  ศาลออกอนุญาตตามคำขอโดยไม่ต้องไต่สวนได้

                                                -   ศาลมีคำสั่งอนุญาตโดยผิดหลง  ศาลมีอำนาจเพิกถอนและสั่งใหม่ให้ถูกต้องได้

                                                -   คำสั่งศาลเกี่ยวกับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์  ย่อมอุทธรณ์ฏีกาคำสั่งดังกล่าวได้  เนื่องจากเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์   จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

               

-   การยึดหรืออายัดชั่วคราวตามมาตรา 254  ไม่ต้องห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดซ้ำ ตาม ป.วิพ.ม.290 ( ฏ.1706/2547 , คร.3442/2546 , 1592/2547 )

 

 

 

      การงดการบังคับคดี  ( มาตรา 292 )

หลัก        1.   กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดี

                                1.1.ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอให้พิจารณาใหม่

                                1.2.ศาลมีคำสั่งให้งดการบังคับคดี

                                1.3.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตกลงงดการบังคับคดี

                                1.4.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินค่าใช้จ่าย ตาม ม.154

                2.   ศาลที่ได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทน  ไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดี

                3.   การขอให้งดการบังคับคดี

                                - หมายถึง ให้งดการบังคับคดีที่ยังไม่ได้กระทำเท่านั้น  จะให้งดการบังคับคดีที่ได้ปฏิบัติมาแล้วไม่ได้

                4.   คู่ความจะนำข้อตกลงนอกศาลมาเป็นเหตุให้ศาลงดการบังคับคดีไม่ได้

                5.   คำสั่งให้งดการบังคับคดีตาม ม.292 อุทธรณ์ฏีกาได้  และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

 

                -   จำเลยของดการบังคับคดีโดยอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลทั้งก่อนฟ้องและหลังจากศาลมีคำพิพากษาคดี  ซึ่งศาลไม่รับฟังมาเป็นเหตุแห่งการงดการบังคับคดี  แต่เนื่องจากโจทก์ได้ยอมรับว่ามีการชำระหนี้ภายหลังศาลมีคำพิพากษาจริง  แต่เป็นเงินบางส่วนไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา  อันจะเป็นเหตุให้ศาลงดการบังคับคดีได้  ( ฏ.1652 / 2547 , 1723/2546 )

 

 

      การเพิกถอนการบังคับคดี  ( มาตรา 296 )

หลัก        1.   เหตุการณ์เพิกถอนการบังคับคดี

                                1.1.ศาลออกคำบังคับ  หมายบังคับคดี  หรือคำสั่งฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

                                1.2.เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนืนการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย  เช่น

                                                -   เจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ออกประมูลในระหว่างคู่ความ

                                                -   เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไม่ชอบ

                2.   การเพิกถอนการบังคับคดี       มี   2  วิธี

                                2.1.ศาลเพิกถอนเอง

                                2.2.บุคคลร้องขอต่อศาลให้เพิกถอน  มีดังต่อไปนี้           

                                                2.2.1.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

                                                2.2.2.ลูกหนี้ตามคำพิพากษา

                                                2.2.3.บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

                3.   กำหนดเวลาในการเพิกถอนการบังคับคดี     

                                3.1.ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง  แต่ไม่ช้ากว่า 15 วันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้อความนั้น

                                3.2.ผู้ยื่นคำร้องต้องไม่ได้ดำเนินการอย่างใดขึ้นใหม่  หลังจากทราบเรื่องหรือให้สัตยาบัน

                4.   กรณีถือว่าการบังคับคดีเสร็จลง     

                                4.1.ได้มีการปฏิบัติตามคำบังคับ หรือ หมายบังคับ  กรณีบังคับคดีโดยการส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการ งดเว้นกระทำการ

                                4.2.เมื่อเจ้าพนักงานได้จ่ายเงินแล้ว   กรณีบังคับคดีโดยกำหนดให้ใช้เงิน

                5.   กรณีดังต่อไปนี้  ศาลจะสั่งให้วางเงินหรือหาประกันการชำระค่าสินไหมทดแทน     

                                5.1.มีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล

                                5.2.การยื่นคำร้องขอเพิกถอนนั้นเพื่อประวิงให้ดำเนินการบังคับคดีชักช้า

                6.   ผลของคำสั่งศาลที่ให้ผู้ขอวางเงินหรือหาประกัน     

                                6.1.ผู้ขอไม่ปฏิบัติตาม ศาลยกคำขอให้เพิกถอนนั้นเสีย

                                6.2.คำสั่งให้ยกคำขอดังกล่าวเป็นที่สุด

 

 

      การเพิกถอนการขายทอดตลาด  ( มาตรา 309 ทวิ )

หลัก        หลักเกณฑ์การคัดค้านการขายทอดตลาด

            1.   เหตุแห่งการคัดค้าน

                                1.1.ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าราคาขายทอดตลาดต่ำเกินสมควร

                                1.2.ผู้คัดค้านการขายทอดตลาดเห็นว่า  ราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดต่ำเกินสมควร  เพราะเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงาน

            2.   ผู้มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน

                                2.1.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

                                2.2.ลูกหนี้ตามคำพิพากษา

                                2.3.บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี   เช่น  ผู้เข้าสู้ราคา

            3.   ระยะเวลาในการยื่นคำคัดค้าน

                                -   คือ  ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้

            4.   เมื่อมีคำคัดค้าน

-  เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเลื่อนการขายทอดตลาดไป เพื่อให้มีการเสนอราคาซื้อขายกันใหม่

            5.   กรณีมีการเสนอราคาใหม่

- ไม่สูงกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน  หรือไม่มีผู้เสนอราคาเลย  ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์สินให้กับผู้เสนอราคาสูงสุดในครั้งก่อน

            6.   กรณีศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด

- เนื่องจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดี  คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด

                -   คำสั่งศาลชั้นต้นที่จะเป็นที่สุดตาม ม.309 ทวิ วรรคสี่  หมายถึง คำสั่งที่ได้วินิจฉัยในเนื้อหา ( ฏ.1705/2547 , 10542/2546 , 1852/2544  , คร.3437/2546 )

 

 

%%%%%%%%%%% จบ ป.วิแพ่ง %%%%%%%%%%%%%

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 107,738 Today: 5 PageView/Month: 798

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...